ชื่อผู้ใช้  
จำรหัสผ่าน
 
 
บทความโครงการ นักศึกษา
1. ชื่อโครงการ การออกแบบและสร้างแอปพลิเคชั่นอ่านรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
2. จัดทำโดย
    1.
    2.
    3.
3. อีเมล์
commrtot@hotmail.com,nattaponghot@hotmail.com,CREAM-888@hotmail.com
4. บทคัดย่อ
          โครงการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการออกแบบและสร้างแอปพลิเคชั่นอ่านรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ สำหรับใช้ในการอ่านรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
          การดำเนินการโครงการใช้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง  (ปวส.) สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ จำนวน 20 คน โดยให้ทดลองใช้แอปพลิเคชั่นที่สร้างขึ้น เสร็จแล้วให้นักศึกษาตอบแบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้งานแอปพลิเคชั่น ผลการดำเนินการวิจัย พบว่า แอปพลิเคชั่นอ่านรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ที่สร้างขึ้น ผู้ใช้มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.54
 
5. บทนำ
       ในสังคมปัจจุบันการใช้งานโทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ทโฟนนั้นได้รับการยอมรับกันอย่างกว้างขวาง เนื่องด้วยความสะดวกในการใช้งานที่เกือบเทียบได้กับคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องแล้วยังมีความสะดวกสบายในการพกพาเพราะมีขนาดเล็กพอดีมือถึงแม้ว่าถ้าหากนำไปเทียบกับคอมพิวเตอร์ Laptop ที่สามารถพกพาไปไหนต่อไหนได้เหมือนกันแล้วประสิทธิ์อาจจะต่ำกว่าอยู่เล็กน้อยแต่อีกไม่นานในอนาคตอันใกล้การพัฒนาทางเทคโนโลยีอาจจะทำให้โทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ทโฟนมีประสิทธิ์ภาพเทียบเท่าหรือเหนือกว่าคอมพิวเตอร์ Laptop ไปเลยก็ได้
        หนึ่งในเทคโนโลยีที่เป็นส่วนหนึ่งที่จะนำพาให้โทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ทโฟนนั้นมีประสิทธิ์ภาพการใช้งานได้ดีมากขึ้นนั่นก็คือโปรแกรมเสริมที่สนับสนุนและช่วยเหลือการใช้งานของระบบหรือที่เรียกกันว่า Application นั่นเองโดย Application ที่นำเสนอมาวันนี้คือ Application อ่านภาพ 3 มิติที่ระบบจะทำการแยกสีบนภาพที่กล้องจับได้และแสดงเป็นภาพ 3 มิติออกมาหรือที่เรียกกันว่า AR Code นั่นเอง AR Code มีรูปแบบคล้ายๆกับ QR Code ที่ทุกคนรู้จักกันดีต่างเพียงแค่ว่า AR Code นั้นจะใช้การแยกองค์ประกอบของสีในภาพนั้นๆเป็นตัวนำในการแสดงภาพ 3 มิติออกมาซึ่งจะแตกต่างจาก QR Code ที่ต้องใช้โค้ดเฉพาะในการแสดงภาพออกมาแทน อย่างที่กล่าวมาข้างต้นทำให้เห็นว่า AR Code นั้นมีความสะดวกกว่าในเชิงการใช้งานจริงเพราะไม่จำเป็นที่จะต้องใช้โค้ดเฉพาะทางแต่สามารถจับภาพต่างๆที่กล้องสามารถถ่ายได้มาแปลงเป็นโค้ดก็สามารถแสดงภาพ 3 มิติออกมาได้ยกตัวอย่างเช่นรูปภาพบนเว็บไซต์ หรือสื่อการเรียนการสอน เป็นต้น
        ดังนั้นทางผู้เสนอโครงการจึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในจุดนั้นและคิดว่าสามารถที่จะนำมาใช้งานที่เป็นประโยชน์จริงๆได้จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นภาพใต้ชื่อ “แอปพลิเคชั่นอ่านรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์”โดยมุ่งหวังนำมาเพื่อใช้ประโยชน์ในอนาคตต่อไป

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
     
   1 เพื่อสร้าง Application สำหรับอ่านรหัสภาพด้วย AR Code
        2 เพื่อหาประสิทธิภาพของ Application ที่สามารถทำงานบนโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนได้
 
6. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
7. ขอบเขตของการวิจัย
      การสร้างแอปพลิเคชั่นอ่านรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ มีขั้นตอนการทำงานดังต่อไปนี้
          7.1 กำหนดรหัสค่าสี AR Code บนภาพหรือสื่อที่ใช้ประกอบในชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
               1) กำหนดภาพอุปกรณ์คอมพิวเตอร์   
               2) กำหนดภาพสื่อ QR Code 
               3) กำหนดภาพสื่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 
          7.2 การทำงานของแอปพลิเคชั่น
                1) สามารถแสดงภาพ 3 มิติรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ได้
                2) สามารถแสดงสื่อวีดีโอที่อยู่ในรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ได้
          7.3 จัดทำชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
                1) แสดงส่วนประกอบพื้นฐานของฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์
                2) ติดตั้งรหัสภาพสำหรับใช้เป็นสื่อการสอนด้วยรหัสภาพ AR Code
 
8. สมมุติฐาน
          แอปพลิเคชั่นอ่านรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ สามารถอ่านภาพ 3 มิติหรือสื่อต่างๆบนภาพหรืออุปกรณ์ที่กำหนดเอาไว้ได้จริงและสามารถอัพโหลดลงโทรศัพท์มือถือเพื่อใช้งานได้
9. วิธีดำเนินการวิจัย
         1)  วิเคราะห์สภาพปัญหาหรือประเมินความต้องการของผู้ใช้นวัตกรรม
         2)  ศึกษาทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้อง
         3)  กำหนดขอบเขตของโปรแกรม ทรัพยากร และฐานข้อมูลที่ใช้เขียนโปรแกรม
         4)  ออกแบบและเขียนแอปพลิเคชั่นอ่านรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
9.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
      ในการออกแบบและสร้างแอปพลิเคชั่นอ่านรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ได้มีการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของแอปพลิเคชั่น โดยนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จำนวน 20 คน
9.2 สร้างเครื่องมือที่ใช้ในโครงการ
     การออกแบบและสร้างแอปพลิเคชั่นอ่านรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ มีขั้นตอนในการออกแบบ โดยละเอียด ดังต่อไปนี้
                          
                                          ภาพที่ 1 ลำดับขั้นตอนการดำเนินงาน
9.2.1 เขียนแอปพลิเคชั่นอ่านรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
         หลักจากที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับการใช้งานภาษา JAVA ซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการเขียนแอนดรอยแอพพลิเคชั่น ขั้นตอนต่อไปคือการเขียนแอพพลิเคชั่นตามที่ได้ออกแบบไว้
 1)  ขั้นตอนการออกแบบแอพพลิเคชั่น ต้องเริ่มจากการศึกษาภาษา JAVA ให้ละเอียดและการใช้งานโปรแกรม Android SDK ที่ถูกต้อง
 
                       ภาพที่ 2  ขั้นตอนการศึกษาข้อมูล
 2)  ทดลองสร้างแบบจำลองแอพพลิเคชั่น
 
               ภาพที่ 3  ขั้นตอนการสร้างแบบจำลอง
 3)  สร้างแอพพลิเคชั่นตามแบบที่ได้วางไว้ด้วย Android SDK
 
               ภาพที่ 4  ขั้นตอนการสร้างแอพพลิเคชั่น
 4)  ทดลองรันแอพพลิเคชั่นผ่านแบบจำลองที่สร้างเอาไว้
 
                ภาพที่ 5  ทดลองรันแอพพลิเคชั่น
   5)  แอปพลิเคชั่นที่เสร็จสมบูรณ์
   
                            ภาพที่ 6  หน้าตาแอปพลิเคชั่น

9.2.2)  สร้างชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
   1)  ขึ้นโครงอุปกรณ์ชุดฝึก
  
                       ภาพที่ 7  การขึ้นโครงชุดฝึก
  
                     ภาพที่ 8  การขึ้นโครงชุดฝึก 2
  2)  ตกแต่งตัวกล่องด้วยการปูผ้าสักราด
 
                             ภาพที่ 9  ปูผ้าสักราด
 3)  ติดตั้งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เข้ากับชุดฝึก
 
                           ภาพที่ 10   ติดตั้งอุปกรณ์
  4)  ชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์สมบูรณ์
  
                            ภาพที่ 11   เสร็จสมบูรณ์

9.2.3)  ออกแบบสอบถาม
         ในการออกแบบและสร้างแอปพลิเคชั่นอ่านรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ได้มีการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของแอปพลิเคชั่น โดยนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จำนวน 20 คน เพื่อหาคำตอบของโครงการครั้งนี้โดยกำหนดเป็นขั้นตอนได้ดังนี้

                                
          ภาพที่ 12  ผังแสดงกระบวนการวิเคราะห์ออกแบบเครื่องมือสำหรับการประเมิน

แบบฟอร์มการตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถาม
ตารางที่ ข.1  แบบฟอร์มการตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถามของผู้ทรงคุณวุฒิ



การวิเคราะห์เลือกคำถามจากผู้ทรงคุณวุฒิ
ตารางที่ ข.2  การวิเคราะห์เลือกคำถามจากผู้ทรงคุณวุฒิ

แสดงการคิดคำนวณค่า IOC
        ข้อ 1  ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2
                จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
               ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667
               มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
        ข้อ 2  ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
               จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
               ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
               มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
        ข้อ 3  ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
               จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
               ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
               มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
        ข้อ 4  ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
               จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
               ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
               มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
        ข้อ 5  ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
               จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
               ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
               มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
        ข้อ 6  ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
               จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
               ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
               มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
        ข้อ 7  ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
               จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
               มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
        ข้อ 8  ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
               จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
               ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
               มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
        ข้อ 9  ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2
               จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
               ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667
               มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
        ข้อ 10    ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2
                จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667
                มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
        ข้อ 11    ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
        ข้อ 12    ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
        ข้อ 13    ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2
                จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667
                มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
        ข้อ 14    ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2
                จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667
                มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
        ข้อ 15    ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
        ข้อ 16    ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
        ข้อ 17    ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
        ข้อ 18    ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
        ข้อ 19    ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
        ข้อ 20    ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้

แบบประเมินความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชั่นอ่านรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
_________________________________________________________________________
        แบบประเมินความคิดเห็นที่มีต่อแอปพลิเคชั่นอ่านรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ใช้ที่มีต่อแอปพลิเคชั่น ผลการประเมินของท่านจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปรับปรุงแอปพลิเคชั่นอ่านรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ให้มีความสมบูรณ์และดียิ่งขึ้นไป
 
คำชี้แจง      แบบประเมินแบ่งออกเป็น 3 ตอน
                ตอนที่ 1 เป็นข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
        ตอนที่ 2 ความสะดวกในการใช้งาน แอปพลิเคชั่นอ่านรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มีทั้งหมด 3 ด้านดังนี้
                    ด้านที่ 1 ด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้แอปพลิเคชั่น
                    ด้านที่ 2 ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน
                    ด้านที่ 3 ด้านความง่ายต่อการใช้งานแอปพลิเคชั่น
                ตอนที่ 3 เป็นข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่นๆ
 
9.3 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล
        1) ให้นักศึกษากลุ่มตัวอย่างทดลองใช้งานแอปพลิเคชั่นอ่านรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ภายในอาคารแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์
        2)  มีการแจ้งปัญหาเกี่ยวกับแสดงสะท้อนให้ไปปรับปรุง ระดับความพอใจของผู้ใช้งานส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด
การทดสอบใช้งานโปรแกรม

                      ภาพที่ 13  การทดลองใช้งาน

                          ภาพที่ 14  การทดลองใช้งาน 2
 
9.4 การวิเคราะห์ข้อมูล
1) การวิเคราะห์คุณภาพของแบบประเมิณ
      การหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างแบบประเมินและวัตถุประสงค์                                                   
                           
            IOC   คือ ค่าดัชนีความสอดคล้อง(Index of Congruency)
            คือ ผลรวมคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
             N      คือ จำนวนผู้เชี่ยวชาญ
      2) การวิเคราะห์หาคุณภาพชุดการสอนจากผู้เชี่ยวชาญ
                               
                แทน คะแนนเฉลี่ย
           แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด
             N     แทน จำนวนข้อมูล
        3) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard Deviation)
                         
              S.D           คือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มตัวอย่าง
           คือ ผลของคะแนนแต่ละตัวยกกำลังสอง
           คือ ผลรวมของคะแนนทั้งหมดยกกำลังสอง
                N            คือ จำนวนข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง
10. ผลของการวิจัย
       การวิเคราะห์ข้อมูล การออกแบบและศึกษาการใช้แอปพลิเคชั่นอ่านรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ มีการวิเคราะห์โดยแยกเป็นตอนตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาและผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยนำเสนอตามลำดับ ดังนี้
          ผลการวิเคราะห์ข้อมูลนำเสนอรวม 5 ตอน ดังนี้
                       ตอนที่ 1      ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
                       ตอนที่ 2  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้แอปพลิเคชั่นด้านการตรงตาม
                                  ความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม
                       ตอนที่ 3  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้แอปพลิเคชั่นด้านการทำงาน
                                  ได้ตามฟังก์ชันการทำงาน
                       ตอนที่ 4  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้แอปพลิเคชั่นด้านความง่ายต่อ
                                  การใช้งานโปรแกรม
             ตอนที่ 5  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้แอปพลิเคชั่นในภาพรวมทุก
                        ด้าน
1) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
ตารางที่ 1  
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม

           จากตารางที่ 1 พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทั้ง 20 คน เป็นเพศชาย 18 คน  เพศหญิง 2 คน คิดเป็น 100% และอายุส่วนใหญ่อยู่ที่ 16-20 ปี  คิดเป็น 85%  ประสบการณ์ใช้งานโปรแกรม คิดเป็น 100%

2) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้แอปพลิเคชั่นด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม
     
ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชั่นอ่านรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม คือ ในแต่ละฟอร์มการทำงานแอปพลิเคชั่นตรงตามความต้องการใช้งานของผู้ใช้ เหมาะสมกับการใช้งาน
ตารางที่ 2  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้แอปพลิเคชั่นด้านการตรงตามความต้องการ
                 ของผู้ใช้โปรแกรม
                                     จากตารางที่ 2 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชั่นอ่านรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ที่พัฒนาขึ้นด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( = 4.38) และเมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมิน พบว่า  ความสามารถของโปรแกรม ส่วนการเข้าสู่ระบบ และส่วนตัวเลือกใช้งานเป็นรายการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด โดยความพึงพอใจในการใช้แอพพลิเคชั่นมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( = 5.00) และค่าเฉลี่ยที่น้อยที่สุด ( = 4.55)
3)  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้แอพพลิเคชั่นด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน
       ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชั่นอ่านรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน คือแอปพลิเคชั่นมีความสะดวกในการใช้งาน   ใช้งานได้อย่างคล่องแคล่วรวดเร็ว
ตารางที่ 3  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้แอปพลิเคชั่นด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชัน
       การทำงาน
             
         จากตารางที่ 3 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชั่นอ่านรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ที่สร้างขึ้นด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก (  = 4.44) และเมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมิน พบว่า ความถูกต้องในการแสดงรหัสภาพ, ความรวดเร็วในการแสดงรหัสภาพ, ความสะดวกในการใช้คำสั่งต่างๆ และความน่าเชื่อถือได้ของแอพพลิเคชั่นอยู่ในระดับมากที่สุด โดยความพึงพอใจในการใช้แอพพลิเคชั่น มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (  = 4.80) และค่าเฉลี่ยที่น้อยที่สุด (  = 3.95)

4) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้แอพพลิเคชั่นด้านความง่ายต่อการใช้งานโปรแกรม
          ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชั่นอ่านรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ด้านความง่ายต่อการใช้งานแอพพลิเคชั่น คือ ในส่วนของรูปร่าง ลักษณะแอพพลิเคชั่นใช้งานได้ง่าย และภาษาที่ใช้ในการอธิบายสามารถเข้าใจได้ง่าย
ตารางที่ 4  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านความง่ายต่อการใช้งานโปรแกรม
                
        จากตารางที่ 4 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชั่นอ่านรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ที่สร้างขึ้นด้านความง่ายต่อการใช้งาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( = 4.38) และเมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมิน พบว่า ความเหมาะสมในการใช้ข้อความเพื่ออธิบายสื่อความหมาย, การใช้สัญลักษณ์หรือรูปภาพในการสื่อความหมาย และคำศัพท์ที่ใช้ผู้ใช้มีความคุ้นเคยและสามารถปฏิบัติตามได้โดยง่ายอยู่ในระดับมากที่สุด โดยความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมฯ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( = 4.80) และค่าเฉลี่ยที่น้อยที่สุด ( = 4.10)

5)  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้แอปพลิเคชั่นในภาพรวมทุกด้าน
      สรุปภาพรวมผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชั่นอ่านรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้น มีดังนี้
ตารางที่ 5  ผลการวิเคราะห์ข้อมลประเมินผลการใช้แอพพลิเคชั่นในภาพรวมทุกด้าน
                
           จากตารางที่ 5 ความพึงพอใจในการแอปพลิเคชั่นอ่านรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์โดยภาพรวมทุกด้าน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับ มาก  (  =4.55) เมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมินในแต่ละด้าน พบว่า ด้านความง่ายต่อการใช้งาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ 4.83

 
11. การอภิปรายผล หรือการวิจารณ์และสรุป
        จากการออกแบบและศึกษาการใช้แอปพลิเคชั่นอ่านรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ พบว่า มีความสะดวกในการใช้งาน ผู้ใช้สามารถใช้งานได้อย่างคล่องแคล่ว มีความรวดเร็วในการแสดงผล ในด้านรูปร่างลักษณะของแอปพลิเคชั่น ข้อความที่ใช้อธิบายมีความเข้าใจง่าย ซึ่งแอปพลิเคชั่นสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามที่ได้ตั้งไว้แม้ว่าจะมีปัญหาที่แสงสะท้อนเล็กน้อยก็ตาม หลังจากการพัฒนาแอพพลิเคชั่นเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน มีรายละเอียดดังนี้
        ด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้ ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจโดยภาพรวมที่สูง มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก โดยมีความพึงพอใจความสามารถของแอปพลิเคชั่น ส่วนการเข้าสู่ระบบ และตัวเลือกใช้งาน ซึ่งมีความสอดคล้องและเหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้แอปพลิเคชั่นมากที่สุด รองลงมาคือ ความสามารถของแอปพลิเคชั่น
        ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจโดยภาพรวมที่สูง มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก มีความพึงพอใจในความสะดวกในการใช้คำสั่งต่างๆ ในส่วนของเมนู และความรวดเร็วในการแสดงผลของแอปพลิเคชั่น มากที่สุดด้วย รองลงมาคือ ความถูกต้องในการแสดงรหัสภาพ ความรวดเร็วในการแสดงรหัสภาพ ความน่าเชื่อถือได้ของแอปพลิเคชั่น ความถูกต้องของผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลในแอปพลิเคชั่น และความครอบคลุมของแอปพลิเคชั่นที่พัฒนากับการใช้งานจริง ตามลำดับ
        ด้านความง่ายต่อการใช้งานแอปพลิเคชั่น ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจโดยภาพรวมที่สูง มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก มีความพึงพอใจ ความเหมาะสมในการใช้สัญลักษณ์หรือรูปภาพในการสื่อความหมาย ซึ่งเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการใช้แอปพลิเคชั่นได้ง่ายขึ้นเป็นอย่างมาก รองลงมาคือ คำศัพท์ที่ใช้ผู้ใช้มีความคุ้นเคยและสามารถปฏิบัติตามได้โดยง่าย ความเหมาะสมในการใช้ข้อความเพื่ออธิบายสื่อความหมาย ความเหมาะสมในการวางตำแหน่งของส่วนประกอบบนจอภาพ ความเหมาะสมในการเลือกใช้ชนิด ขนาด สีตัวอักษรบนจอภาพ และความเหมาะสมในการปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกับผู้ใช้ ตามลำดับ
        โดยภาพรวมทุกด้านผู้ใช้งานมีความพึงพอใจโดยภาพรวมที่สูง มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก มีความพึงพอใจในด้านความง่ายต่อการใช้งานแอปพลิเคชั่นมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน และด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้แอปพลิเคชั่น ตามลำดับ
 
12. ข้อเสนอแนะ
    12.1 ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้
          1)  ควรปฏิบัติตามข้อแนะนำที่มีในคู่มือการใช้งาน
          2)  ควรใช้งานแอปพลิเคชั่นในขณะที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตอยู่ทุกครั้ง
          3)  ควรใช้ในพื้นที่ที่มีแสดงสว่างเพียงพอ
    12.2 ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป
           1)  ควรพัฒนาแอปพลิเคชั่นนี้ให้สามารถเก็บไฟล์ใน Server ของตัวเอง
           2)  ควรพัฒนาให้ตัวอักษรในแอปพลิเคชั่นมีขนาดใหญ่ขึ้น
13. บรรณานุกรม
ธันยพัฒน์ วงศ์รัตน์. คู่มือพัฒนาแอปพลิเคชั่น Android ผู้เริ่มต้น. กรุงเทพฯ : บริษัท สวัสดี ไอที จำกัด.
นลินทิพย์ ภัคศรีกุลกำธร. QR Code หลบไป AR มาแล้ว!!. (ออนไลน์) สืบค้นวันที่ 3 ธันวาคม 2558. จาก :
http://www.positioningmag.com/content
14. ประวัติผู้จัดทำโครงการ
        
ชื่อ-สกุล
        นายเทวฤทธิ์ สันป่าแก้ว
เกิดเมื่อวันที่      5 มกราคม 2538
ที่อยู่ปัจจุบัน      35 หมู่ 3 ต.แม่ยางร้อง อ.ร้องกวาง จ.แพร่ 54140
วุฒิการศึกษา     ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
                 สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์
เบอร์โทร          086-1164872
อีเมล์            commrtot@hotmail.co.th
       
ชื่อ-สกุล         นาย ณัฐพงศ์ ศรีจันทร์
เกิดเมื่อวันที่      1 ธันวาคม 2538
ที่อยู่ปัจจุบัน      143 หมู่.1ต.บ้านกวาง อ.สูงเม่น จ.แพร่ 54130
วุฒิการศึกษา     ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
                  สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์
เบอร์โทร          095-7253851
อีเมล์             nattaponghot@hotmail.com
       
ชื่อ-สกุล            นางสาวชุติกาญจน์ จำรัส
เกิดเมื่อวันที่         25กรกฎาคม 2538
ที่อยู่ปัจจุบัน         157หมู่7ตำบลบ้านเหล่า อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่54130
วุฒิการศึกษา       ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
                   สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์
เบอร์โทร            082-7972072
อีเมล์              CREAM-888@hotmail.com
 
ลิงค์ Youtube vdo