ชื่อผู้ใช้  
จำรหัสผ่าน
 
 
บทความโครงการ นักศึกษา
1. ชื่อโครงการ การสร้างและหาประสิทธิภาพโปรแกรมแปลงรหัสนีโมนิก เป็นภาษาแอสเซมบลี ระบบออนไลน์
2. จัดทำโดย
    1. นายคันธารัตน์ กลิ่นจันทร์
    2. นายพงศ์ภรณ์ ปีนัง
    3.
3. อีเมล์
comkantarat@hotmail.com , fos_flim@hotmail.com
4. บทคัดย่อ
          โครงการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างสื่อการเรียนการในรายวิชา ไมโครโพรเซสเซอร์เบื้องต้น (2104-2124) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) แผนกวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
          การดำเนินการโครงการใช้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 20 คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย () และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) โดยมีการสอนใช้โปรแกรมในครั้งแรก จากนั้นจึงให้ทดลองใช้โปรแกรมด้วยตนเอง เสร็จแล้วให้นักเรียนตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 20 ชุดในการใช้โปรแกรมสื่อการเรียนการสอน
          ผลการดำเนินการวิจัย พบว่า โปรแกรมแปลงรหัสนีโมนิกเป็นภาษาแอสเซมบลี ระบบออนไลน์ ที่สร้างขึ้น ผู้ใช้มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.50
 
5. บทนำ
          ปัจจุบันการศึกษาถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตอย่างมาก เพราะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ดังนั้นการจัดการศึกษาต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถที่จะปรับปรุงตัวเองให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างรวดเร็ว ถ้าหากได้รับการส่งเสริมให้มีระบบการเรียนรู้ที่ดี จะส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนโดยเฉพาะทางด้านคอมพิวเตอร์ที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีมากมายอย่างต่อเนื่องและมีส่วนในการพัฒนาประเทศในปัจจุบันไม่ว่าจะด้านอุตสาหกรรม ที่คอมพิวเตอร์เข้าไปมีบทบาท จึงกล่าวได้ว่าการศึกษาทางด้านเทคนิคคอมพิวเตอร์เป็นส่วนสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรให้มีการเรียนการสอน เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ความสามารถที่จะนำไปปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการหรือภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะ Z-80 และภาษาแอสเซมบลี เป็นพื้นฐานสำคัญของเทคโนโลยีในสมัยก่อน ซึ่งการเขียนภาษาแอสเซมบลีจะเป็นการเขียนตรงเข้าไปจัดการกับตัวไมโครโพรเซสเซอร์ หรือ ตัวประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ และจะกระทำการประมวลผลโดยตรงได้เลย โดยจะมีรูปแบบคำสั่งที่เรียกว่า นีโมนิก เมื่อได้รหัสนีโมนิกมาให้แปลงรหัสนั้นมาเป็นรหัสที่ใช้ติดต่อหรือป้อนเข้ากับตัวอุปกรณ์ Z-80 รหัสนั้นเรียกว่า OP-Code
          ในปัจจุบัน จากการเรียนการสอนวิชาไมโครโพรเซสเซอร์ที่ผ่านมา พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจเรื่องการทำงานของกลุ่มคำสั่ง Z-80 ของภาษาแอสเซมบลี ในระหว่างการเรียนภาคปฏิบัติ นักเรียนจะต้องนำลักษณะการทำงานเปลี่ยนไปเป็นรูปแบบของรหัสนีโมนิกนำเอารหัสนีโมนิกที่ได้นั้นไปแปลงเป็นOP-Code ฉะนั้นควรที่จะมีโปรแกรมเแปลงลักษณะการทำงานให้เป็นรูปแบบรหัสของนีโมนิกที่มีรูปแบบเฉพาะทาง ของรายวิชาพื้นฐานของวิชา ไมโครโพรเซสเซอร์เบื้องต้น
          ดังนั้น ผู้จัดทำจึงมีแนวคิดที่จะแก้ปัญหาโดยการสร้างและหาประสิทธิภาพโปรแกรมแปลงรหัส นีโมนิก เป็นภาษาแอสเซมบลี ระบบออนไลน์ เพื่อลดเวลาการค้นหา Code จากในหนังสือสามารถได้รูปแบบคำสั่งโดยง่าย อีกทั้งยังเสริมความรู้ ความเข้าใจ เพื่อนักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้งานและเป็นพื้นฐานของการเรียนในรายวิชา ผู้จัดทำจึงสนใจออกแบบการสร้างและหาประสิทธิภาพโปรแกรมแปลงรหัส นีโมนิก เป็นภาษาแอสเซมบลี ระบบออนไลน์นำไปใช้สอนกับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ เพื่อให้กระบวนการเรียนรู้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
 
6. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
   1)  เพื่อสร้างโปรแกรมแปลงรหัสนีโมนิกเป็นภาษาแอสเซมบลีระบบออนไลน์
   2)  เพื่อหาประสิทธิภาพโปรแกรมแปลงรหัสนีโมนิกเป็นภาษาแอสเซมบลีระบบออนไลน์
 
7. ขอบเขตของการวิจัย
โปรแกรมแปลงรหัสนีโมนิกเป็นภาษาแอสเซมบลีระบบออนไลน์ มีรายละเอียด ดังนี้
     1 ด้านเนื้อหา
        1.1 ไมโครโพรเซสเซอร์เบื้องต้น มีรายละเอียดดังนี้
              (1)  ไมโครโพรเซสเซอร์เบื้องต้น มีรายละเอียดดังนี้
              (2)  โครงสร้างของ CPU Z-80
              (3)  การจัดขาของ Z-80
              (4)  ทฤษฎีการอินเตอร์รัพท์ของ Z-80
              (5)  การจัดระบบการเชื่อมต่อวงจรของ CPU กับอุปกรณ์ภายนอก
              (6)  ภาษาแอสเซมบลี
              (7)  การแปลภาษาแอสเซมบลี
              (8)  ทฤษฎีผังงาน
              (9)  กลุ่มคำสั่งเกี่ยวกับอินพุตและเอาท์พุตของ Z-80
             (10)  ทฤษฎีเบื้องต้นการติดต่อของ Z-80 กับอุปกรณ์ภายนอก
        1.2 การเขียนและออกแบบเว็บไซต์
             (1)  โครงสร้างคำสั่งของ HTML
             (2)  คำสั่งในการจัดหน้า
             (3)  การเชื่อมต่อเอกสารด้วย hyperlink
             (4)  List จัดข้อมูลในเว็บเพจให้เป็นระเบียบ
             (5)  CSS Syntax
             (6)  การใช้งาน CSS
     2 ขอบข่ายเว็บไซต์
        2.1 ความสามารถของโปรแกรมแปลงรหัสนีโมนิกเป็นภาษาแอสเซมบลีระบบออนไลน์มีคุณสมบัติดังนี้
            (1) แปลงให้เป็นรหัสนีโมนิกในรูปแบบคำสั่ง
                 (1.1)  ADC
                 (1.2)  ADD
                 (1.3)  AND
                 (1.4)  BIT
                 (1.5)  CALL
                 (1.6)  CCF
                 (1.7)  CP
                 (1.8)  CPD
                 (1.9)  CPDR
                 (1.10)  CPIR
                 (1.11)  CPI
                 (1.12)  DAA
                 (1.13)  DEC
                 (1.14)  DI
                 (1.15)  DJNZ
                 (1.16)  EI
                 (1.17)  EX
                 (1.18)  EXX
                 (1.19)  HALT
                 (1.20)  IM
                 (1.21)  IN
                 (1.22)  INC
                 (1.23)  IND
                 (1.24)  INDR
                 (1.25)  INI
                 (1.26)  INIR
                 (1.27)  JP
                 (1.28)  JR
                 (1.29)  LD
                 (1.30)  LDD
                 (1.31)  LDDR
                 (1.32)  LDI
                 (1.33)  LDIR
                 (1.34)  NEG
                 (1.35)  NOP
                 (1.36)  OR
                 (1.37)  OTDR
                 (1.38)  OTIR
                 (1.39)  OUT
                 (1.40)  OUTD
                 (1.41)  OUTI
                 (1.42)  POP
                 (1.43)  PUSH
                 (1.44)  RES
                 (1.45)  RET
                 (1.46)  RETI
                 (1.47)  RETN
                 (1.48)  RL
                 (1.49)  RLA
                 (1.50)  RLC
                 (1.51)  RLCA
                 (1.52)  RLD
                 (1.53)  RR
                 (1.54)  RRA
                 (1.55)  RRC
                 (1.56)  RRCA
                 (1.57)  RRD
                 (1.58)  RST
                 (1.59)  SBC
                 (1.60)  SCF
                 (1.61)  SET
                 (1.62)  SLA
                 (1.63)  SRA
                 (1.64)  SRL
                 (1.65)  SUB
                 (1.66)  XOR
     3 ด้านระยะเวลา ตลอดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559
     4 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง  ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ กลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษา มีจำนวน 20 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง
 
8. สมมุติฐาน
          โปรแกรมแปลงรหัสนีโมนิกเป็นภาษาแอสเซมบลีระบบออนไลน์สามารถใช้ในการเรียนวิชาไมโครโพรเซสเซอร์ได้
 
9. วิธีดำเนินการวิจัย
   1 ) ศึกษาข้อมูลเพื่อเตรียมการโครงการ ผู้จัดทำได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการวิเคราะห์และออกแบบโปรแกรมการออกแบบฐานข้อมูลและการเขียนระบบโดยภาษา PHP ร่วมกับ MySQL
   2 ) วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวการทำงานของโปรแกรมและกำหนดขอบเขตเพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน
   3 ) การสร้างและออกแบบ โปรแกรมแปลงรหัส นีโมนิก
   4 ) ทดสอบหาประสิทธิภาพของโปรแกรมแปลงรหัส นีโมนิก มีการใช้แบบประเมินประสิทธิภาพจากผู้เชี่ยวชาญ และแบบประเมินความพึงพอใจจากผู้ทดลองใช้
   5 ) กำหนดกลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์สาขาวิชา ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 20 คน วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง
   6 ) สอนการใช้งานโปรแกรมให้กับที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง
   7 ) นักศึกษาทดลองใช้โปรแกรมรหัส นีโมนิก
 
9.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
          นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ กลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษา มีจำนวน 20 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง
 
9.2 สร้างเครื่องมือที่ใช้ในโครงการ
          การสร้างและหาประสิทธิภาพโปรแกรมแปลงรหัสนีโมนิกเป็นภาษาแอสเซมบลี ระบบออนไลน์ มีขั้นตอนในการออกแบบ โดยมีรายละเอียดดังนี้

                             ภาพที่ 1 ลำดับขั้นตอนการดำเนินโครงการ

  1.  วิเคราะห์สภาพปัญหาหรือประเมินความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม
  2.  ศึกษาทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้อง
  3.  กำหนดขอบเขตของโปรแกรม และฐานข้อมูลที่ใช้เขียนโปรแกรม
  4.  ออกแบบและสร้างโปรแกรมแปลงรหัส นีโมนิก ของภาษาแอสแซมบลี ระบบออนไลน์


                                               ภาพที่ 2 การทำงานของโปรแกรม


                                              ภาพที่ 3 ผังการทำงานของโปรแกรม

  5. โปรแกรมแปลงรหัส นีโมนิก ของภาษาแอสแซมบลี ระบบออนไลน์ ที่ทำเสร็จแล้ว
      1) ภาพรวมของโปรแกรม

                                          ภาพที่ 4 แสดงหน้าหลักของโปรแกรม


                                          ภาพที่ 5 แสดงหน้าไมโครโปรเซสเซอร์เบื้องต้น


                                          ภาพที่ 6 แสดงหน้าโปรแกรม นีโมนิก

      2) การใช้งานโปรแกรม
          2.1) คลิกที่เมนูโปรแกรมแปลงรหัส ดังแสดงในภาพที่ 7

                                          ภาพที่ 7 คลิกที่เมนู โปรแกรมแปลงรหัส

          2.2) คลิกที่เมนู โปรแกรมแปลงรหัสนีโมนิกดังแสดงในภาพที่ 8

                                          ภาพที่ 8 คลิกที่เมนู โปรแกรมแปลงรหัส นีโมนิก

          2.3) เลือกกลุ่มคำสั่งที่ต้องการ ดังแสดงในภาพที่ 9

                                          ภาพที่ 9 เลือกกลุ่มคำสั่งนีโมนิก

          2.4) หน้าตาโปรแกรมแปลงรหัสนีโมนิกในกลุ่มคำสั่งโหลดข้อมูล ดังแสดงในภาพที่ 10

                    ภาพที่ 10 หน้าตาโปรแกรมแปลงรหัสนีโมนิกเป็นภาษาแอสเซมบลีระบบออนไลน์

          2.5) ใส่ค่าเข้าไปในโปรแกรมแล้วคลิกตกลง ดังแสดงในภาพที่ 11

                                          ภาพที่ 11 ใส่ค่าเข้าไปในโปรแกรม 

          2.6) โปรแกรมจะแสดงผลลัพธ์ที่ได้ ทั้งคำสั่ง รูปแบบการทำงาน ตัวอย่างการทำงาน ดังแสดงในภาพที่ 12

                                          ภาพที่ 12 ผลลัพธ์ของโปรแกรม

          2.7)  คำอธิบายในการใส่ค่าเข้าไปในโปรแกรม ดังแสดงในภาพที่ 13

                                          ภาพที่ 13 คำอธิบายในการใส่ค่า 

  6. ออกแบบเครื่องมือที่ใช้ประเมินประสิทธิภาพ
                            แบบฟอร์มการตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถาม
     ตารางที่ 
1  แบบฟอร์มการตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถามของผู้ทรงคุณวุฒิ


                                 การวิเคราะห์เลือกคำถามจากผู้ทรงคุณวุฒิ
      ตารางที่ 
2  การวิเคราะห์เลือกคำถามจากผู้ทรงคุณวุฒิ

        แสดงการคิดคำนวณค่า IOC
                         ข้อ 1   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                                      จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                      ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                                      มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 2   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                                      จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                      ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                                      มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 3   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                                      จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                      ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                                      มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 4   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                                      จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                      ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                                      มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 5   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2
                                      จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                      ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667
                                      มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 6   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                                      จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                      ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                                      มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 7   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                                      จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                      ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                                      มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 8   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2
                                      จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                      ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667
                                      มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 9   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                                      จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                      ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                                      มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 10   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                                       จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                       ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                                       มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 11  ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                                       จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                       ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                                      มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 12  ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                                       จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                       ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                                       มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 13 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                                       จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                       ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                                       มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 14 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2
                                       จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                       ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667
                                       มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 15 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                                       จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                       ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                                       มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 16 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2
                                       จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                       ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667
                                       มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้

                            แบบประเมินความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมแปลงรหัสนีโมนิก
                                         ของ
ภาษาแอสเซมบลี ระบบออนไลน์
                แบบประเมินความคิดเห็นที่มีต่อโปรแกรมแปลงรหัสนีโมนิกเป็นภาษาแอสเซมบลี ระบบออนไลน์ เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ใช้ ที่มีต่อโปรแกรมผลการประเมินของท่านจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ในการปรับปรุงโปรแกรม ให้มีความสมบูรณ์และดียิ่งขึ้นไป
 
คำชี้แจง  แบบประเมินแบ่งออกเป็น 3 ตอน
             ตอนที่ 1 เป็นข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
             ตอนที่ 2 ความสะดวกในการใช้งานโปรแกรมแปลงรหัสนีโมนิก มีทั้งหมด 3 ด้านดังนี้
                     ด้านที่ 1 ด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม
                     ด้านที่ 2 ด้านการทำงานตามฟังก์ชันการทำงาน
                     ด้านที่ 3 ด้านความง่ายต่อการใช้การโปรแกรม
             ตอนที่ 3 เป็นข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่นๆ
 
ตอนที่ 1  เป็นข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
             โปรดทำเครื่องหมาย  ลงใน ที่อยู่หน้าข้อความที่เกี่ยวข้องกับผู้ประเมิน
1.  เพศ
              ชาย        ​ หญิง
2.  อายุ
             ​ ต่ำกว่า 15 ปี  ​ 16-20 ปี             ​ 20-25 ปี         ​ 26-30 ปี         ​ สูงกว่า 30 ปี
3.  อาชีพของท่าน
             ​ ไม่มีอาชีพ    ​ เกษตรกร           ​ ข้าราชการ      ​ นักเรียน/นักศึกษา 
             ​ อื่นๆ ระบุ..................................
 
ตอนที่ 2  เป็นแบบประเมินความพึงพอใจ ในการใช้โปรแกรมแปลงรหัสนีโมนิกเป็นภาษาแอสเซมบลี
ซึ่งจะประเมินทั้งหมด 3 ด้าน ดังนี้
                       ด้านที่ 1 ด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม
                       ด้านที่ 2 ด้านการทำงานตามฟังก์ชันการทำงาน
                       ด้านที่ 3 ด้านความง่ายต่อการใช้การโปรแกรม
คำชี้แจง        โปรดทำเครื่องหมาย  ลงในช่องที่ตรงกับความจริงมากที่สุด
                        5 หมายถึง          ในระดับดี มากที่สุด
                        4 หมายถึง          ในระดับดี มาก
                        3 หมายถึง          ในระดับดี ปานกลาง
                        2 หมายถึง          ในระดับดี น้อย
                        1 หมายถึง          ในระดับดี น้อยที่สุด
     ตารางที่ 3  แบบประเมินความพึงพอใจ ในการใช้โปรแกรมแปลงรหัส นีโมนิก ของภาษาแอสแซมบลี

         ข้อเสนอแนะ
       ...............................................................................................................................................................................................................
 
9.3 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล
          โครงการครั้งนี้ เลือกนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ สาขาวิชา ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวะศึกษา เพื่อหาคำตอบของโครงการครั้งนี้โดยกำหนดเป็นขั้นตอนได้ดังนี้

               ภาพที่ 14 ผังแสดงกระบวนการวิเคราะห์ออกแบบเครื่องมือสำหรับการประเมิน 


        ภาพที่ 15 การใช้งานโปรแกรมแปลงรหัสนีโมนิกเป็นภาษาแอสเซมบลีระบบออนไลน์


        ภาพที่ 16 การใช้งานโปรแกรมแปลงรหัสนีโมนิกเป็นภาษาแอสเซมบลีระบบออนไลน์


        ภาพที่ 17 การใช้งานโปรแกรมแปลงรหัสนีโมนิกเป็นภาษาแอสเซมบลีระบบออนไลน์
 
9.4 การวิเคราะห์ข้อมูล
1)  การวิเคราะห์คุณภาพของแบบประเมิณ
     การหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างแบบประเมินและวัตถุประสงค์                                                   
                            
            IOC   คือ ค่าดัชนีความสอดคล้อง(Index of Congruency)
            คือ ผลรวมคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
             N      คือ จำนวนผู้เชี่ยวชาญ
2)  การวิเคราะห์หาคุณภาพชุดการสอนจากผู้เชี่ยวชาญ
                               
                แทน คะแนนเฉลี่ย

           แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด

             N     แทน จำนวนข้อมูล
3) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard Deviation)
                         
              S.D  คือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มตัวอย่าง  

             คือ ผลของคะแนนแต่ละตัวยกกำลังสอง

              คือ ผลรวมของคะแนนทั้งหมดยกกำลังสอง
                N        คือ จำนวนข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง
 
10. ผลของการวิจัย
          การวิเคราะห์ข้อมูลการใช้โปรแกรมแปลงรหัสนีโมนิกเป็นภาษาแอสเซมบลี ระบบออนไลน์ มีการวิเคราะห์โดยแยกเป็นตอนตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาและผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยขอนำเสนอตามลำดับ โดยเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล รวม 5 ตอน ดังนี้
              ตอนที่ 1  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
              ตอนที่ 2  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม
              ตอนที่ 3  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบด้านการทำงานตามฟังก์ชันการทำงาน
              ตอนที่ 4  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบด้านความง่ายต่อการใช้งานโปรแกรม
              ตอนที่ 5  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบในภาพรวมทุกด้าน

ตอนที่ 1  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
     ตารางที่
4  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม

     จากตารางที่ 4 พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทั้ง 20 คน เป็นเพศชาย 20 คน คิดเป็น 100% และอายุส่วนใหญ่อยู่ที่เกณฑ์ 16-20 ปี  คิดเป็น 100%  ประสบการณ์ใช้งานโปรแกรมคิดเป็น 100%

ตอนที่ 2  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม
          ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมแปลงรหัสนีโมนิกเป็นภาษาแอสเซมบลี ระบบออนไลน์ ด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม คือ ในแต่ละฟอร์มการทำงานระบบด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม เหมาะสมกับการใช้โปรแกรมแปลงรหัสนีโมนิกเป็นภาษาแอสเซมบลี ระบบออนไลน์
     ตารางที่ 5  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม
   
     จากตารางที่ 5 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมแปลงรหัสนีโมนิกเป็นภาษาแอสเซมบลี ระบบออนไลน์ ด้านตรงตามความต้องการของผู้ใช้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด คือ  (= 4.54) และเมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมิน พบว่า ทุกรายการอยู่ในระดับมากและมากที่สุด โดยความพึงพอใจด้านความสามารถของโปรแกรมส่วนการแปลงรหัสรหัสนีโมนิก มีค่าเฉลี่ย มากที่สุด คือ (= 4.65) และด้านความสามารถของโปรแกรมส่วนการแสดงข้อความ POP-UP มีค่าเฉลี่ย น้อยที่สุด คือ ( = 4.45)

ตอนที่ 3  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบด้านการทำงานตามฟังก์ชันการทำงาน
          ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมแปลงรหัสนีโมนิกเป็นภาษาแอสเซมบลี ระบบออนไลน์ ด้านการทำงานตามฟังก์ชันการทำงาน คือระบบมีความสะดวกในการใช้งาน ใช้งานได้อย่างคล่องแคล่วรวดเร็ว
     ตารางที่ 6  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบด้านการทำงานตามฟังก์ชันการทำงาน

     จากตารางที่ 6 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมแปลงรหัสนีโมนิกเป็นภาษาแอสเซมบลี ระบบออนไลน์ ด้านการทำงานตามฟังก์ชันการทำงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด คือ  (= 4.53) และเมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมิน พบว่า ทุกรายการอยู่ในระดับมากและมากที่สุด โดยความพึงพอใจด้านโปรแกรมมีระบบป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น มีค่าเฉลี่ย มากที่สุด คือ (= 4.60) และด้านความถูกต้องของผลลัพธ์ที่ได้จากการแปลงรหัสนีโมนิก มีค่าเฉลี่ย น้อยที่สุด คือ (= 4.40)

ตอนที่ 4  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบด้านความง่ายต่อการใช้งานโปรแกรม
          ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมแปลงรหัสนีโมนิกเป็นภาษาแอสเซมบลี ระบบออนไลน์ ด้านความง่ายต่อการใช้งานโปรแกรม คือระบบมีความสะดวกรวดเร็วในการใช้งาน
     ตารางที่ 7  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบด้านความง่ายต่อการใช้งานโปรแกรม

     
จากตารางที่ 7 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมแปลงรหัสนีโมนิกเป็นภาษาแอสเซมบลี ระบบออนไลน์ ด้านความง่ายต่อการใช้การโปรแกรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก คือ  (= 4.45) และเมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมิน พบว่า ทุกรายการอยู่ในระดับมากและมากที่สุด โดยความพึงพอใจด้านความเหมาะสมในการใช้สัญลักษณ์หรือรูปภาพในการสื่อความหมาย มีค่าเฉลี่ย มากที่สุด คือ (= 4.60) และด้านความเหมาะสมในการใช้ข้อความเพื่ออธิบายสื่อความหมายของโปรแกรม มีค่าเฉลี่ย น้อยที่สุด คือ (= 4.30)

ตอนที่ 5  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบในภาพรวมทุกด้าน
          สรุปภาพรวมผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมแปลงรหัสนีโมนิกเป็นภาษาแอสเซมบลี ระบบออนไลน์  
     ตารางที่ 8  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมในภาพรวมทุกด้าน

     จากตารางที่ 8 ความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมแปลงรหัสนีโมนิกเป็นภาษาแอสเซมบลี ระบบออนไลน์ โดยภาพรวมทุกด้าน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย คือ (=4.50) เมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมินในแต่ละด้าน พบว่า ด้านการใช้ระบบด้านตรงตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม มีค่าเฉลี่ย มากที่สุด คือ (=4.54) และด้านการใช้ระบบด้านความง่ายต่อการใช้งานโปรแกรม มีค่าเฉลี่ย ต่ำที่สุด คือ (=4.45)
 
11. การอภิปรายผล หรือการวิจารณ์และสรุป
          จากผลสร้างและหาประสิทธิภาพโปรแกรมแปลงรหัสนีโมนิกเป็นภาษาแอสเซมบลี ระบบออนไลน์ พบว่าโปรแกรมแปลงรหัสนีโมนิก สามารถใช้งานได้จริงและเป็นประโยชน์ต่อการใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ ในรายวิชา ไมโครโพรเซสเซอร์เบื้องต้น (2104-2124) จุดเด่นของโปรแกรมแปลงรหัสนีโมนิกนั้นสามารถลดเวลาการหา Code จากหนังสือเพื่อความรวดเร็วและเรียบง่ายต่อการทำงานและยังนำรหัสนีโมนิกที่ได้ ไปแปลงเป็นรหัส OP-CODE สามารถนำไปเขียนโปรแกรมสั่งให้ไมโครโพรเซสเซอร์ทำงานได้ โปรแกรมมีระบบป้องกันการใส่ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องจะแสดงข้อความ pop-up และในส่วนของการแสดงผลในด้านเนื้อหาจะมีเกี่ยวกับรายวิชาไมโครโพรเซสเซอร์เบื้องต้น มีฟังก์ชันเมนูที่ง่ายต่อการใช้งาน ทั้งนี้โปรแกรมที่สร้างขึ้นมีความครอบคลุมกับการใช้งานจริงและสอดคล้องในรายวิชาไมโครโพรเซสเซอร์ในระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จุดด้อยของโปรแกรมจากข้อเสนอแนะของกลุ่มประชากรตัวอย่างและจากผลการใช้งานทำให้สรุปข้อด้อยของโปรแกรมได้ คือ ในส่วนของการแสดงเนื้อหารูปภาพบางรูปไม่ชัดเจนเนื่องมาจากไฟล์ต้นฉบับ และส่วนของโปรแกรมแปลงรหัสนีโมนิก คือ โปรแกรมไม่แสดงประสิทธิภาพได้เต็มที่หากผู้ใช้งานไม่มีความรู้พื้นฐานในรายวิชาไมโครโพสเซสเซอร์
          นอกจากจุดเด่นและจุดด้อยของโปรแกรมยังมีด้านความต้องการของผู้ใช้โปรแกรมและด้านฟังก์ชันการทำงานอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านความง่ายต่อการใช้โปรแกรมอยู่ในระดับมาก เพราะโปรแกรมตอบสนองถึงความต้องการของผู้ใช้ในด้านการแปลงรหัสนีโมนิก รวมถึงเนื้อหาไมโครโพรเซสเซอร์อีกทั่งในส่วนของเมนูยังสะดวกต่อการค้นหาสำหรับผู้ใช้งาน ผู้จัดทำจึงได้วิเคราะห์และออกแบบระบบโดยนึกถึงความต้องการของผู้ใช้เป็นหลัก
 
12. ข้อเสนอแนะ
   1) ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้
       (1.1)  ควรปฏิบัติตามข้อแนะนำคู่มือการใช้งาน     
       (1.2)  ผู้ใช้จะต้องมีความรู้พื้นฐานไมโครโพรเซสเซอร์พอสมควร
   2) ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป
       (2.1)  ควรมีระบบจัดการฐานข้อมูลบนเว็บไซต์ ทำให้สะดวกแก่การแก้ไข
       (2.2)  ควรจัดรูปแบบเว็บไซต์ให้มีความดึงดูดน่าสนใจเพิ่มมากขึ้น
       (2.3)  ในการออกแบบควรนึกถึงความต้องการของผู้ใช้เป็นส่วนใหญ่
 
13. บรรณานุกรม
ขจิตทัล ศรีบุญ. สถาปัตยกรรมของ CPU Z-80. 2559. [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา:
            https://sites.google.com/site/sthapatykrrmmikhorporsessexr/xeksar1/sthapatykrrmcpuz-8
บัญชา ปะสีละเตสัง. พัฒนาเว็ปแอปพลิเคชั่น PHP ร่วมกับ MySQL และDreamweaver.  
            กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่น
บุญสืบ โพธิ์ศรี,โกมล. ไมโครโพรเซสเซอร์ เบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ส่งเสริมอาชีวะ
พันจันทร์,คงสวัสดิ์. ไมโครโพรเซสเซอร์ ทฤษฎีและการใช้งาน. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่น
ยิน ภู่วรวรรณ. ประวัติความเป็นมาของไมโครโปรเซสเซอร์. 2559. [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา:
            https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/hardware/z80/z80.html
อรรถสิทธ์ หล่าสกุล. ไมโครโพรเซสเซอร์ พื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร : สถาบันเทคโนโลยีพระจอม
            เกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
อุทัย  สุขสิงห์. ไมโครโพรเซสเซอร์ และไมโครคอนโทรเลอร์. นนทบุรี : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี

 
14. ประวัติผู้จัดทำโครงการ

ชื่อ-สกุล            
นายคันธารัตน์     กลิ่นจันทร์
เกิดเมื่อวันที่         13 พฤษภาคม 2539
ที่อยู่ปัจจุบัน         99/1 หมู่ 3 ตำบลป่าแมต อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ 54000
วุฒิการศึกษา       ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
                   สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์
เบอร์โทร            093-2759101
อีเมล์               comkantarat@hotmail.com


ชื่อ-สกุล            นายพงศ์ภรณ์       ปีนัง
เกิดเมื่อวันที่         13 มิถุนายน 2539
ที่อยู่ปัจจุบัน         144  หมู่ 5 บ้านทรายมูล ตำบลแม่ยางตาล อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่  54140
วุฒิการศึกษา       ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
                   สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์
เบอร์โทร            088-2311621
อีเมล์               fos_flim@hotmail.com
 
ลิงค์ Youtube vdo