ชื่อผู้ใช้  
จำรหัสผ่าน
 
 
บทความโครงการ นักศึกษา
1. ชื่อโครงการ การสร้างและหาประสิทธิภาพโปรแกรมฐานข้อมูลบริหารจัดการห้องเรียนคอมพิวเตอร์
2. จัดทำโดย
    1. นายคหบดี ปินใจ
    2. นายอธิคม สืบอาทะ
    3.
3. อีเมล์
kahabordee333@gmail.com, taroza12400@gmail.com
4. บทคัดย่อ
          การสร้างและหาประสิทธิภาพโปรแกรมฐานข้อมูลบริหารจัดการห้องเรียนคอมพิวเตอร์ จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดการห้องเรียนคอมพิวเตอร์เป็นระบบเพื่อให้ผู้เรียนไม่ให้สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ในขณะที่ครูผู้สอนกำลังสอนเนื้อหาในการเรียน โดยการแสดงภาพคอมพิวเตอร์ของผู้เรียน ซึ่งในโปรแกรมยังประกอบไปด้วยฟังก์ชันสั่งเครื่องผู้เรียนให้ Shut Down ฟังก์ชัน (Live stream) ฟังก์ชันตรวจเช็คผู้ใช้ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ และฟังก์ชันจัดเก็บประวัติการเข้าใช้งานห้องคอมพิวเตอร์ของผู้เรียน ระบบนี้ช่วยอำนวยความสะดวกในการควบคุมไม่ให้นักเรียนแอบเล่นเกมหรือเข้าเว็บไซต์ในขณะที่ครูผู้สอนกำลังสอนเนื้อหาในการเรียน อีกทั้งเมื่อเลิกใช้งานห้องคอมพิวเตอร์แล้วก็สามารถส่งคำสั่งปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้เรียนได้ทั้งห้องเพื่อลดปัญหานักเรียนใช้งานคอมพิวเตอร์แล้วไม่ปิดเครื่อง
          การดำเนินการโครงการใช้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 20 คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย  และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) โดยมีการสอนการใช้โปรแกรมในครั้งแรก จากนั้นจึงให้ทดลองใช้โปรแกรมด้วยตนเอง เสร็จแล้วให้นักศึกษาตอบแบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้งานระบบ ผลการดำเนินการวิจัย พบว่า โปรแกรมฐานข้อมูลบริหารจัดการห้องเรียนคอมพิวเตอร์ผู้ใช้มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.08
 
5. บทนำ
          ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่ต่อทุกวงการทั่วโลกคอมพิวเตอร์ถือเป็นอุปกรณ์ที่ถูกนำมาใช้งานในการ ติดต่อสื่อสาร การสืบค้นข้อมูล และการใช้งานในการทำงานด้านต่างๆมากมาย เพราะคอมพิวเตอร์ถือว่าได้เข้ามามีบทบาทในการทำงานมากทั้งในโรงงานอุตสาหกรรมหรือในองค์กรต่างๆ สถานศึกษาทุกแห่งจึงนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอนและถูกบรรจุให้เป็นรายวิชาในการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะการใช้งานคอมพิวเตอร์ทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ในคอมพิวเตอร์อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
          คอมพิวเตอร์ ได้เข้ามามีบทบาทเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน และกลายเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตมนุษย์มากขึ้น คอมพิวเตอร์มีบทบาท ในทุกวงการอาชีพ ซึ่งจะพบได้ว่าธุรกิจ ต่าง ๆ ได้นำคอมพิวเตอร์ เข้ามาช่วยดำเนินงาน และให้บริการลูกค้า เพื่ออำนวยความสะดวก และเกิดความคล่องตัวในการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสถานศึกษาแต่ละแห่งจึงจัดทำห้องสำหรับการเรียนการสอนรายวิชาคอมพิวเตอร์ขึ้นมา เพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะเกี่ยวกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์มากยิ่งขึ้น สำหรับการใช้งานห้องคอมพิวเตอร์แต่ละสถานศึกษานั้นก็จะมีกฎหรือข้อบังคับในการใช้งานคอมพิวเตอร์อยู่ เพื่อไม่ให้ผู้เรียนใช้งานคอมพิวเตอร์ในด้านที่ผิดหรือนอกเหนือจากข้อตกลงการใช้งานคอมพิวเตอร์ ในสถานศึกษาแต่ละแห่งห้องคอมพิวเตอร์ห้องหนึ่งจะมีจำนวนคอมพิวเตอร์มากทำให้ครูผู้สอนไม่สามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลาว่าผู้เรียนได้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ครูผู้สอนมอบหมายหรือไม่ ซึ่งยากต่อการตรวจสอบสำหรับครูผู้สอน ซึ่งโปรแกรมฐานข้อมูลบริหารจัดการห้องเรียนคอมพิวเตอร์ จะช่วยในเรื่องการจัดการเข้าใช้งานคอมพิวเตอร์สำหรับผู้เรียนเพื่อป้องกันการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เป็นระเบียบ และสามารถช่วยให้ครูผู้สอน สามารถตรวจสอบการใช้งานคอมพิวเตอร์ของผู้เรียนได้ทุกเครื่องโดยผ่านคอมพิวเตอร์เครื่องแม่เครื่องเดียวและสามารถควบคุมหรือเก็บข้อมูลการใช้งานคอมพิวเตอร์ของผู้เรียนได้
          ดังนั้น ผู้จัดทำโครงการจึงได้เสนอโครงการสร้างและหาประสิทธิภาพโปรแกรมฐานข้อมูลบริหารจัดการห้องเรียนคอมพิวเตอร์
 
6. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1)  เพื่อสร้างโปรแกรมฐานข้อมูลบริหารจัดการห้องเรียนคอมพิวเตอร์
2)  เพื่อหาประสิทธิภาพในการใช้งานโปรแกรมฐานข้อมูลบริหารจัดการห้องเรียน
 
7. ขอบเขตของการวิจัย
โปรแกรมฐานข้อมูลบริหารจัดการห้องเรียนคอมพิวเตอร์ มีรายละเอียด ดังนี้
1.  ด้านขอบข่ายมีรายละเอียด ดังนี้
     1.1  โปรแกรม Microsoft Visual Studio 2010 ในการเขียนโค้ดและคำสั่งต่างๆ
     1.2  ใช้ภาษา C#, .Net Framework, Json ในการเขียนโปรแกรม
2.  ด้านเนื้อหา
     2.1  ด้านการใช้ของเครื่องแม่ข่าย
            2.1.1  สามารถสั่ง Shut Down, Restart เครื่องลูกข่ายได้
            2.1.2  สามารถดูการทำงานของเครื่องลูกข่ายแบบ Real Time
            2.1.3  สามารถเก็บประวัติการเข้าใช้งานของเครื่องลูกข่ายได้
            2.1.4  สามารถแสดงชื่อผู้ใช้งานแต่ละเครื่องของลูกข่ายได้
            2.1.5  สามารถส่งไฟล์เอกสารได้
     2.2  ด้านการใช้ของเครื่องลูกข่าย
            2.2.1  ระบบ Login เข้าใช้งานคอมพิวเตอร์
            2.2.2  สามารถปิดเครื่องลูกข่ายอัตโนมัติเมื่อไม่มีการใช้งาน
            2.2.3  สามารถส่งไฟล์เอกสารได้
3.  ด้านระยะเวลา
     ตลอดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559
 
8. สมมุติฐาน
          โปรแกรมฐานข้อมูลบริหารจัดการห้องเรียนคอมพิวเตอร์สามารถใช้ในการจัดการห้องเรียนคอมพิวเตอร์ได้และสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
9. วิธีดำเนินการวิจัย
   1 ) ศึกษาข้อมูลเพื่อเตรียมการโครงการ ผู้จัดทำได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการวิเคราะห์และออกแบบโปรแกรมการออกแบบฐานข้อมูลและการเขียนระบบโดยภาษา C# .Net Framework ร่วมกับ MySQL
   2 ) วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวการทำงานของโปรแกรมและกำหนดขอบเขตเพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน
   3 ) การสร้างและออกแบบ โปรแกรมฐานข้อมูลบริหารจัดการห้องเรียนคอมพิวเตอร์
   4 ) ทดสอบหาประสิทธิภาพของโปรแกรมฐานข้อมูลบริหารจัดการห้องเรียนคอมพิวเตอร์ มีการใช้แบบประเมินประสิทธิภาพนวัตกรรมจากผู้เชี่ยวชาญ และแบบประเมินความพึงพอใจจากผู้ทดลองใช้
   5 ) กำหนดกลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์สาขาวิชา ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 20 คน วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง
   6 ) สอนการใช้งานโปรแกรมให้กับที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง
   7 ) นักศึกษาทดลองใช้โปรแกรมฐานข้อมูลบริหารจัดการห้องเรียนคอมพิวเตอร์
 
9.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
          นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ กลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษา มีจำนวน 20 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง
 
9.2 สร้างเครื่องมือที่ใช้ในโครงการ
         การสร้างและหาประสิทธิภาพโปรแกรมฐานข้อมูลบริหารจัดการห้องเรียนคอมพิวเตอร์ มีขั้นตอนในการออกแบบ โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
                               
                                            ภาพที่ 1  ลำดับขั้นตอนการดำเนินโครงการ

1.  วิเคราะห์สภาพปัญหาหรือประเมินความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม
2.  ศึกษาทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้อง
3.  กำหนดขอบเขตของโปรแกรม ทรัพยากร และฐานข้อมูลที่ใช้เขียนโปรแกรม
4.  ออกแบบและสร้างโปรแกรมฐานข้อมูลบริหารจัดการห้องเรียนคอมพิวเตอร์

 
                                            ภาพที่ 2  แผนผังการทำงานของโปรแกรม

              
                                            ภาพที่ 3  การทำงานของโปรแกรม

5.  โปรแกรมฐานข้อมูลบริหารจัดการห้องเรียนคอมพิวเตอร์ ที่สำเร็จแล้ว ซึ่งจะมี 2 โปรแกรม เป็นเครื่องแม่ข่ายและเครื่องลูกข่าย ดังนี้
     1)  ภาพรวมของโปรแกรม
          1.1)  โปรแกรมของเครื่องแม่ข่าย
              
                                            ภาพที่ 4  แสดงหน้าหลักโปรแกรมของเครื่องแม่ข่าย

                                  
                                            ภาพที่ 5  แสดงหน้าระบบสมัครสมาชิกของเครื่องแม่ข่าย

              
                                            ภาพที่ 6  แสดงหน้าระบบการส่งไฟล์เอกสาร

             
                                            ภาพที่ 7  แสดงหน้าบันทึกการเข้าใช้งานของเครื่องแม่ข่าย

          1.2)  โปรแกรมของเครื่องลูกข่าย
              
                                            ภาพที่ 8  แสดงหน้าเข้าสู่ระบบของเครื่องลูกข่าย

                         
                                            ภาพที่ 9  แสดงหน้าสถานะ การเข้าใช้งาน

2)  การใช้งานโปรแกรม
     2.1)  การใช้งานโปรแกรมของเครื่องแม่ข่าย
             2.1.1)  โปรแกรมเครื่องแม่ข่ายจะมีไฟล์ .INI เพื่อให้ Setting โปรแกรม IP_Host คือ IP ของเครื่องที่ Run ฐานข้อมูลหรือเครื่องแม่ข่าย, Port_Host คือ เป็นการกำหนด Port ของเครื่องแม่ข่าย, Setting_IP_Computer คือ IP ของเครื่องลูกข่าย, Setting_Number_Computer คือ ใส่เลขที่ของเครื่องลูกข่าย ต้องใส่ให้ตรงกับ IP ข้างบนด้วยห้ามใส่สลับเครื่องกันเด็ดขาด ดังแสดงในภาพที่ 10
              
                                            ภาพที่ 10  ไฟล์ Setting ของเครื่องแม่ข่าย

             2.1.2)  คลิกที่ปุ่ม สมัครสมาชิก (Register) ดังแสดงในภาพที่ 11
              
                                            ภาพที่ 11  ฟังก์ชั่น สมัครสมาชิก (Register)

                         (1)  ผลของการคลิกที่ปุ่ม สมัครสมาชิก (Register) จะมีหน้าต่างระบบสมัครสมาชิdแสดงขึ้น ดังแสดงในภาพที่ 12
                                  
                                            ภาพที่ 12  ผลของการคลิกที่ปุ่ม สมัครสมาชิก (Register)

             2.1.3)  คลิกที่ปุ่ม ปิดเครื่อง (Shut Down)  ฟังก์ชั่นนี้จะทำงานได้ต้องเลือกคอมพิวเตอร์ก่อนโดยให้ติ๊กเครื่องหมายถูกต้องในช่อง Check Box ต้องเลือกอย่างน้อยหนึ่งเครื่อง ดังแสดงในภาพที่ 13
              
                                            ภาพที่ 13  ฟังก์ชั่น ปิดเครื่อง (Shut Down)

                         (1)  ผลของการคลิกที่ปุ่ม ปิดเครื่อง (Shut Down) จะทำให้เครื่องลูกข่ายปิดเครื่องอัตโนมัติ ดังแสดงในภาพที่ 14
                     
                                            ภาพที่ 14  ผลของการคลิกที่ปุ่ม ปิดเครื่อง (Shut Down)

             2.1.4)  คลิกที่ปุ่ม รีสตาร์ท (Restart)  ฟังก์ชั่นนี้จะทำงานได้ต้องเลือกคอมพิวเตอร์ก่อน โดยให้ติ๊กเครื่องหมายถูกต้องในช่อง Check Box ต้องเลือกอย่างน้อยหนึ่งเครื่อง ดังแสดงในภาพที่ 15
              
                                            ภาพที่ 15  ฟังก์ชั่น รีสตาร์ท (Restart)

                         (1)  ผลของการคลิกที่ปุ่ม รีสตาร์ท (Restart) จะทำให้เครื่องลูกข่ายรีสตาร์ทอัตโนมัติ ดังแสดงในภาพที่ 16
                       
                                            ภาพที่ 16  ผลของการคลิกที่ปุ่ม รีสตาร์ท (Restart)

             2.1.5)  คลิกที่ปุ่ม Unlock Task Manager  ฟังก์ชั่นนี้จะทำงานได้ต้องเลือกคอมพิวเตอร์ก่อน โดยให้ติ๊กเครื่องหมายถูกต้องในช่อง Check Box ต้องเลือกอย่างน้อยหนึ่งเครื่อง ฟังก์ชั่นนี้มีไว้เพื่อเวลาคอมพิวเตอร์เครื่องลูกข่ายเกิดปัญหากับโปรแกรมในเครื่อง เพราะโปรแกรมทางฝังของเครื่องลูกข่ายจะปิด Task Manager เอาไว้  ดังแสดงในภาพที่ 17
              
                                            ภาพที่ 17  ฟังก์ชั่น Unlock Task Manager

                         (1)  ผลของการคลิกที่ปุ่ม Unlock Task Manager จะทำให้เครื่องลูกข่ายเปิดการใช้งาน Task Manager ดังแสดงในภาพที่ 18
             
                                            ภาพที่ 18  ผลของการคลิกที่ปุ่ม Unlock Task Manager

             2.1.6)  คลิกที่ปุ่ม Live ฟังก์ชั่นนี้จะทำงานได้ต้องเลือกคอมพิวเตอร์ก่อน โดยให้ติ๊กเครื่องหมายถูกต้องในช่อง Check Box ต้องเลือกอย่างน้อยหนึ่งเครื่อง จะเป็นฟังก์ชั่นที่จะสตรีมจอของเครื่องแม่ข่ายให้เครื่องลูกได้เห็น ดังแสดงในภาพที่ 19
              
                                            ภาพที่ 19  ฟังก์ชั่น Live Steam

                         (1)  ผลของการคลิกที่ปุ่ม Live จะทำให้เครื่องลูกข่าย แสดงภาพการใช้งานของเครื่องแม่ข่ายและถ้าเครื่องแม่ข่ายต้องการหยุดการ Live ให้กดปุ่ม Stop สีแดง ตรงมุมขวาด้านล่าง ดังแสดงในภาพที่ 20
             
                                            ภาพที่ 20  ผลของการคลิกที่ปุ่ม Live

             2.1.7)  คลิกที่ปุ่ม ส่งไฟล์/Start Server ฟังก์ชั่นนี้จะสามารถส่งไฟล์ต่างๆให้กันได้แต่จะต้องใส่ IP และ Port_Number ของเครื่องที่เราจะส่งไฟล์และเครื่องนั้นก็ต้องเปิดหน้าต่างส่งไฟล์เช่นกันเพื่อเชื่อมต่อกัน ดังแสดงในภาพที่ 21
             
                                            ภาพที่ 21  คลิกที่ปุ่ม ส่งไฟล์/Start Server

                         (1)  ถ้าต้องการส่งไฟล์ไปหาเครื่องไหน ก็ต้องให้เครื่องนั้นเปิดหน้าต่างส่งไฟล์นี้ขึ้นมา และใส่ IP กับ Number Com เครื่อง Number Com จะดูได้จากด้านบนสุดของหน้าต่างส่งไฟล์จากนั้นกดเชื่อมต่อ ดังแสดงในภาพที่ 22
             
                                            ภาพที่ 22  ผลของการคลิกที่ปุ่ม ส่งไฟล์/Start Server

                         (2)  เมื่อกดเชื่อมต่อแล้ว Connection ด้านล่งจะแจ้งสถานะว่า IP เครื่องไหนเข้ามา Connect ถ้าต้องการส่งไฟล์ให้กดคลิกขวา แล้วเลือก Send จากนั้นก็เลือกไฟล์ที่ต้องการส่ง ดังแสดงในภาพที่ 23
                     
                                            ภาพที่ 23  ผลของการคลิกที่ปุ่ม ส่งไฟล์/Start Server

                         (3)  เมื่อส่งไฟล์ไปแล้วจะมีสถานะบอกว่าส่งไฟล์ไปกี่เปอร์เซ็น และสามารถส่งได้ทีละหลายๆไฟล์ ถ้าต้องการหาที่เก็บไฟล์ที่รับมาให้กดปุ่ม โฟลเดอร์เก็บไฟล์ ดังแสดงในภาพที่ 24
                    
                                            ภาพที่ 24  ผลของการคลิกที่ปุ่ม ส่งไฟล์/Start Server

             2.1.8)  คลิกที่ปุ่ม All monitor (แสดงจอภาพทุกเครื่อง) จะสามารถแสดงจอภาพของเครื่องลูกข่ายทั้งหมด ที่เชื่อมต่อหรือ Login ใช้งานแต่อาจจะทำให้เครื่องทำงานช้าลงเพราะการที่แสดงผลจอลูกข่ายทั้งหมดโปรแกรมจะใช้ RAM,CUP พอสมควร ดังแสดงในภาพที่ 25
              
                                            ภาพที่ 25  ฟังก์ชั่น All monitor (แสดงจอภาพทุกเครื่อง)

                         (1)  ผลของการคลิกที่ปุ่ม All monitor (แสดงจอภาพทุกเครื่อง) ดังแสดงในภาพที่ 26
              
                                            ภาพที่ 26  ผลของการคลิกที่ปุ่ม All monitor (แสดงจอภาพทุกเครื่อง)

             2.1.9)  คลิกที่แทบ บันทึกการเข้าใช้งาน จะสามารถ Export ข้อมูลออกมาเป็นไฟล์ Excel ได้และมีปุ่มรีเฟรชเพื่อไว้สำหรับอัพเดทข้อมูลที่บันทึกใหม่ ดังแสดงในภาพที่ 27
              
                                            ภาพที่ 27  ฟังก์ชั้นในหน้าบันทึกการเข้าใช้งาน

             2.1.10)  ปุ่มควบคุม เมื่อกดแล้วสามารถควบคุมคอมพิวเตอร์ได้โดยมีเงื่อนไขคือ คอมพิวเตอร์เครื่องที่ควบคุมต้องมีการใส่ Password ส่วนปุ่มเชื่อมต่อจะสามารถแสดงผลจอลูกข่ายเฉพาะเครื่องที่เรากดปุ่มเท่านั้น และเมื่อภาพที่แสดงผลของเครื่องลูกปรากฏถ้าต้องการขยายให้กดที่จอภาพที่แสดงผลได้เลย ดังแสดงในภาพที่ 28
              
                                            ภาพที่ 28  ปุ่มควบคุมและปุ่มเชื่อมต่อ

                         (1)  เมื่อกดปุ่มจะมีหน้าต่างให้เราใส่ Password ถ้าเราใส่ Password ถูกต้องก็จะสามารถเข้าไปควบคุมคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นได้ ดังแสดงในภาพที่ 29
              
                                            ภาพที่ 29  ผลของการคลิกที่ปุ่ม ควบคุมคอมพิวเตอร์

     2.2)  การใช้งานโปรแกรมของเครื่องลูกข่าย
             2.2.1)  โปรแกรมเครื่องลูกข่ายจะมีไฟล์ .INI เพื่อให้ Setting โปรแกรม Number_Comber คือ ใส่เลขของคอมพิวเตอร์เครื่องลูก, IP_Host คือ ใส่ IP ของเครื่องแม่ข่ายหรือเครื่องที่ Run ฐานข้อมูลอยู่ ดังแสดงในภาพที่ 30
                      
                                            ภาพที่ 30  ไฟล์ Setting ของเครื่องลูกข่าย

                         (1)  ให้นักศึกษาใส่ Username และ Password เพื่อเข้าสู่ระบบสำหรับนักศึกษาที่สมัครสมาชิกแล้วเท่านั้นที่สามารถเข้าใช้งานได้ ดังแสดงในภาพที่ 31
              
                                            ภาพที่ 31  หน้าต่างเข้าสู่ระบบของเครื่องลูกข่าย

                         (2)  เมื่อเข้าสู่ระบบสำเร็จแล้วจะมีสถานะต่างๆ บอกไว้ เช่น ชื่อ-นามสกุล รหัสนักศึกษาและมีเวลาให้รู้ว่าเราใช้คอมพิวเตอร์นานเท่าไหร่แล้ว มีปุ่มสามารถเปลี่ยนรหัสผ่านและปุ่มส่งไฟล์เพื่อส่งไฟล์เอกสารต่างๆ ดังแสดงในภาพที่ 32
                        
                                            ภาพที่ 32  หน้าต่างสถานะการเข้าใช้งาน

6. ออกแบบเครื่องมือที่ใช้ประเมินประสิทธิภาพ
                                 แบบฟอร์มการตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถาม

              ตารางที่ 1  แบบฟอร์มการตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถามของผู้ทรงคุณวุฒิ
             

                                    การวิเคราะห์เลือกคำถามจากผู้ทรงคุณวุฒิ

              ตารางที่ 
2  การวิเคราะห์เลือกคำถามจากผู้ทรงคุณวุฒิ
             

แสดงการคิดคำนวณค่า IOC
                   ข้อ 1  ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                            มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                   ข้อ 2  ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667
                            มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                  ข้อ 3   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                            มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                   ข้อ 4  ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                            มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                   ข้อ 5  ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                            มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                   ข้อ 6  ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667
                            มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                   ข้อ 7  ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                            มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                   ข้อ 8  ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667
                            มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                   ข้อ 9  ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                            มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้     
                   ข้อ 10 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                             จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                             ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                             มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                   ข้อ 11 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                             จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                             ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                             มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                   ข้อ 12 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2
                             จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                             ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667
                             มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                   ข้อ 13 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                            มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                   ข้อ 14 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ -1
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ -1/3 = -0.334
                            มีค่าน้อยกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ไม่ได้
                   ข้อ 15 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                            มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้

                     แบบประเมินความพึงพอใจในการใช้ โปรแกรมฐานข้อมูลบริหาร
                                   จัดการห้องเรียนคอมพิวเตอร์​


        แบบประเมินความคิดเห็นที่มีต่อโปรแกรมฐานข้อมูลบริหารจัดการห้องเรียนคอมพิวเตอร์เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ใช้ ที่มีต่อโปรแกรม ผลการประเมินของท่านจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปรับปรุงโปรแกรมฐานข้อมูลบริหารจัดการห้องเรียนคอมพิวเตอร์ ให้มีความสมบูรณ์และดียิ่งขึ้นไป

คำชี้แจง     แบบประเมินแบ่งออกเป็น 3 ตอน
                 ตอนที่ 1 เป็นข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
                 ตอนที่ 2 ความสะดวกในการใช้งานโปรแกรมฐานข้อมูลบริหารจัดการห้องเรียนคอมพิวเตอร์  มีทั้งหมด 3 ด้านดังนี้
                        ด้านที่ 1 ด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม                                                                 ด้านที่ 2 ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน                            
                        ด้านที่ 3 ด้านความง่ายต่อการใช้งานโปรแกรม
                 ตอนที่ 3 เป็นข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่นๆ

ตอนที่ 1     เป็นข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
                 โปรดทำเครื่องหมาย  ลงใน  ที่อยู่หน้าข้อความที่เกี่ยวข้องกับผู้ประเมิน
1.  เพศ
           ชาย         หญิง
2.  อายุ
           ต่ำกว่า 15 ปี       16-20 ปี        20-25 ปี        26-30 ปี        สูงกว่า 30 ปี
3.  อาชีพของท่าน
           ไม่มีอาชีพ     เกษตรกร          ข้าราชการ      นักเรียน/นักศึกษา 
           อื่นๆ ระบุ..................................

ตอนที่ 2     เป็นแบบประเมินความพึงพอใจ ในการใช้โปรแกรมฐานข้อมูลบริหารจัดการห้องเรียนคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะประเมินทั้งหมด 3 ด้าน ดังนี้
                        ด้านที่ 1 ด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม
                        ด้านที่ 2 ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน                        
                        ด้านที่ 3 ด้านความง่ายต่อการใช้งานโปรแกรม

คำชี้แจง        โปรดทำเครื่องหมาย  ลงในช่องที่ตรงกับความจริงมากที่สุด
                        5 หมายถึง          ในระดับดี มากที่สุด
                        4 หมายถึง          ในระดับดี มาก
                        3 หมายถึง          ในระดับดี ปานกลาง
                        2 หมายถึง          ในระดับดี น้อย
                        1 หมายถึง          ในระดับดี น้อยที่สุด

              ตารางที่ 3  แบบประเมินผลความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมฐานข้อมูลบริหารจัดการห้องเรียน
             
 
9.3 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล
          โครงการครั้งนี้ เลือกนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์สาขาวิชา ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวะศึกษา เพื่อหาคำตอบของโครงการครั้งนี้โดยกำหนดเป็นขั้นตอนได้ดังนี้

             
                      ภาพที่ 33  ผังแสดงกระบวนการวิเคราะห์ออกแบบเครื่องมือสำหรับการประเมิน

                                          
                     ภาพที่ 34  การใช้งานโปรแกรมฐานข้อมูลบริหารจัดการห้องเรียนคอมพิวเตอร์


                                          
                     ภาพที่ 35  การใช้งานโปรแกรมฐานข้อมูลบริหารจัดการห้องเรียนคอมพิวเตอร์

                                          
                     ภาพที่ 36  การใช้งานโปรแกรมฐานข้อมูลบริหารจัดการห้องเรียนคอมพิวเตอร์
 
9.4 การวิเคราะห์ข้อมูล
1)  การวิเคราะห์คุณภาพของแบบประเมิณ
     การหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างแบบประเมินและวัตถุประสงค์                                                   
                            
            IOC   คือ ค่าดัชนีความสอดคล้อง(Index of Congruency)
            คือ ผลรวมคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
             N      คือ จำนวนผู้เชี่ยวชาญ
2)  การวิเคราะห์หาคุณภาพชุดการสอนจากผู้เชี่ยวชาญ
                               
                แทน คะแนนเฉลี่ย

           แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด

             N     แทน จำนวนข้อมูล
        3) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard Deviation)
                         
              S.D  คือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มตัวอย่าง  

             คือ ผลของคะแนนแต่ละตัวยกกำลังสอง

              คือ ผลรวมของคะแนนทั้งหมดยกกำลังสอง
                N        คือ จำนวนข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง
 
10. ผลของการวิจัย
          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ศึกษาการสร้างและหาประสิทธิภาพโปรแกรมฐานข้อมูลบริหารจัดการห้องเรียนคอมพิวเตอร์ การวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับโครงการ การสร้างและหาประสิทธิภาพโปรแกรมฐานข้อมูลบริหารจัดการห้องเรียนคอมพิวเตอร์ มีการวิเคราะห์โดยแยกเป็นตอนตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาและผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยนำเสนอตามลำดับ ดังต่อไปนี้
                  ตอนที่ 1  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
                  ตอนที่ 2  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านตรงตามความต้องการของผู้ใช้
                  ตอนที่ 3  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชัน
                               การทำงาน
                  ตอนที่ 4  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านรูปลักษณ์และความง่ายยาก
                               ต่อการใช้งาน
                  ตอนที่ 5  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมในภาพรวมทุกด้าน

ตอนที่ 1  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
         ตารางที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
        
          จากตารางที่ 4 พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทั้ง 20 คน เป็นเพศชาย 18 คน คิดเป็น 90% เพศหญิง
2 คน คิดเป็น 10% และอายุส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ 16-20 ปี คิดเป็น 100% ประสบการณ์ในการใช้โปรแกรมคิดเป็น 100%

ตอนที่ 2  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านตรงตามความต้องการของผู้ใช้
          ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมฐานข้อมูลบริหารจัดการห้องเรียนคอมพิวเตอร์ ด้านผู้ใช้งานในแต่ละการทำงานของโปรแกรมตรงตามความต้องการใช้งานของผู้ใช้ เหมาะกับการใช้งานโปรแกรมฐานข้อมูลบริหารจัดการห้องเรียนคอมพิวเตอร์
              ตารางที่ 5  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านตรงตามความต้องการของผู้ใช้
              
              จากตารางที่ 5 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมฐานข้อมูลบริหารจัดการห้องเรียนคอมพิวเตอร์ ด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( = 4.09) และเมื่อพิจารณาเป็นรายประเมิน พบว่า ทุกรายการประเมินอยู่ในระดับน้อยและมาก โดยความพึงพอใจในความสามารถเครื่องลูกข่ายในด้านการจัดเก็บข้อมูลของผู้เข้าใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นรายการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( = 4.3) และค่าเฉลี่ยที่น้อยที่สุดคือ ( = 3.8)

ตอนที่ 3  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน
          ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมฐานข้อมูลบริหารจัดการห้องเรียนคอมพิวเตอร์ ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันของโปรแกรม โดยโปรแกรมมีความสะดวกในการใช้งานได้อย่างรวดเร็วตรงตามฟังก์ชันของโปรแกรม
              ตารางที่ 6  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันของโปรแกรม
             
              จากตารางที่ 6 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมฐานข้อมูลบริหารจัดการห้องเรียนคอมพิวเตอร์ ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( = 4.06) และเมื่อพิจารณาเป็นรายประเมิน พบว่า ทุกรายการประเมินอยู่ในระดับน้อยและมาก โดยความพึงพอใจในการใช้คำสั่งควบคุม (Shut Down , Restart) เครื่องลูกข่ายมีความสะดวกเป็นรายการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( = 4.25) และค่าเฉลี่ยที่น้อยที่สุดคือ ( = 3.8)

ตอนที่ 4  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านรูปลักษณ์และความง่ายยากต่อการใช้งาน
          ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมฐานข้อมูลบริหารจัดการห้องเรียนคอมพิวเตอร์ ด้านรูปลักษณ์และความง่ายยากต่อการใช้งาน คือในส่วนของรูปร่าง ลักษณะโปรแกรมใช้งานได้ง่ายมีข้อความรูปและสัญลักษณ์บอกได้อย่างชัดเจนง่ายต่อการใช้งาน
              ตารางที่ 7 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านรูปลักษณ์และความง่ายยากต่อการใช้งาน
             
              จากตารางที่ 7 พบว่า ความพึงพอใจในความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมฐานข้อมูลบริหารจัดการห้องเรียนคอมพิวเตอร์ ด้านรูปลักษณ์และความง่ายยากต่อการใช้งาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( = 4.08) และเมื่อพิจารณาเป็นรายประเมิน พบว่า ทุกรายการประเมินอยู่ในระดับน้อยและมาก โดยความพึงพอใจในความเหมาะสมในการตรวจเช็คผู้เข้าใช้งานเครื่องลูกข่ายเป็นรายการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( = 4.4) และค่าเฉลี่ยที่น้อยที่สุดคือ ( = 3.85)

ตอนที่ 5  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมในภาพรวมทุกด้าน
          สรุปภาพรวมผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมฐานข้อมูลบริหารจัดการห้องเรียนคอมพิวเตอร์ มีดังนี้
              ตารางที่ 8  แสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมในภาพรวมทุกด้าน
             
              จากตารางที่ 8 ความพึงพอใจในการการใช้โปรแกรมฐานข้อมูลบริหารจัดการห้องเรียนคอมพิวเตอร์ โดยภาพรวมทุกด้าน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับ มาก  ( =4.08) เมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมินในแต่ละด้าน พบว่า ด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ( = 4.09)
 
11. การอภิปรายผล หรือการวิจารณ์และสรุป
          ผลการวิจัยจากผลการสร้างและหาประสิทธิภาพโปรแกรมฐานข้อมูลบริหารจัดการห้องเรียนคอมพิวเตอร์ พบว่าโปรแกรมฐานข้อมูลบริหารจัดการห้องเรียนคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานได้จริงเป็นประโยชน์ต่อห้องเรียนคอมพิวเตอร์และผู้จัดทำได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมในการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องแม่ข่ายและเครื่องลูกข่ายเพิ่มมากขึ้น สามารถลดการอัตราการแอบเล่นเกม หรือ อินเตอร์เน็ต ทำให้ผู้เรียนมีสมาธิในการเรียนเพิ่มมากขึ้น ช่วยในเรื่องประสิทธิภาพในการเรียนการสอนได้จริง และช่วงเลิกใช้งานคอมพิวเตอร์อาจารย์ไม่ต้องเดินไปปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ทีละเครื่อง และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายที่แผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ต้องจัดซื้อโปรแกรมประเภทนี้มาใช้งาน  จุดเด่นของโปรแกรมคือ โปรแกรมสามารถสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องแม่ข่ายและเครื่องลูกข่ายได้ มีฟังก์ชันเมนูที่ง่ายต่อการใช้งาน ทั้งนี้โปรแกรมที่สร้างขึ้นมีความครอบคลุมกับการใช้งานจริงและสอดคล้องในรายวิชาที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอนอีกด้วย จุดด้อยของโปรแกรมนั้นมาจากตัวโปรแกรมเองที่ใช้งานด้านการประมวลผลมากจนทำให้การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์อาจค้างหรือหลุดจากโปรแกรมได้
          นอกจากจุดเด่นและจุดด้อยของโปรแกรมยังมีในด้านตรงตามความต้องการของผู้ใช้  ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน ด้านรูปลักษณ์และความง่ายต่อการใช้งานทั้งหมดอยู่ในระดับมากเพราะโปรแกรมสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานทุกอย่างตามที่ผู้จัดทำได้วิเคราะห์และออกแบบระบบของโปรแกรม ทำให้ผู้จัดทำได้เห็นถึงความสำคัญของการวิเคราะห์และออกแบบระบบเป็นอย่างมากเพราะในการออกแบบระบบทุกครั้งจะต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้เป็นหลัก
 
12. ข้อเสนอแนะ
1)  ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้
     1.1)  ควรศึกษาในด้านการใช้งานโปรแกรมเบื้องต้นก่อนใช้งานโปรแกรม
     1.2)  ควรควรมีความรู้ที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เบื้องต้นก่อนใช้งานโปรแกรม
2)  ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป
     2.1)  ควรเพิ่มการบล็อก USB
     2.2)  ควรเพิ่มการบล็อก อินเทอร์เน็ต
 
13. บรรณานุกรม
เอกรินทร์ คำคูณ. ทฤษฎีระบบฐานข้อมูล. 2559. [ออน-ไลน์].
แหล่งที่มา : http://kruoong.blogspot.com/2011/12/blog-post.html
ธนพงศ์  หมีทอง. คลาสที่จำเป็นในการเขียนโปรแกรมทางเน็ตเวิร์คด้วย C#. 2559. [ออน-ไลน์].
แหล่งที่มา : http://www.tanateach.com/wordpress/courses/introcsharp/
นพปฎล กุลจรรยาวิวัฒน์. พอร์ต Port. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ประสานงานการรักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ประเทศไทย
ประสาน นาจำเริญ. ทฤษฎีระบบเครือข่าย. 2559. [ออน-ไลน์].
แหล่งที่มา : http://www.prasansoft.com/web-content-network14.php
ภัทร. Remote Monitor. 2559. [ออน-ไลน์].
แหล่งที่มา : http://www.pstudiodev.blogspot.com/2012/04/remote-desktop-c.html
วัจนพงศ์  เกษมศิริ. Socket Programming. กรุงเทพมหานคร : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
 
14. ประวัติผู้จัดทำโครงการ
                        

ชื่อ-สกุล            นายคหบดี  ปินใจ
เกิดเมื่อวันที่         3 กุมภาพันธ์  2540
ที่อยู่ปัจจุบัน         44/1   ม.10  ต.ห้วยอ้อ  อ.ลอง  จ.แพร่  54150
วุฒิการศึกษา       ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
                   สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์
รหัสนักศึกษา        5831280006
เบอร์โทร            087-5660062
อีเมล์               kahabordee333@gmail.com

                        

ชื่อ-สกุล            นายอธิคม  สืบอาทะ
เกิดเมื่อวันที่         10 กรกฎาคม 2539
ที่อยู่ปัจจุบัน         38 หมู่ 4 ตำบลบ้านปิน อำเภอลอง จังหวัดแพร่  54150
วุฒิการศึกษา       ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
                   สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์
รหัสนักศึกษา        5831280009
เบอร์โทร            062-0466365
อีเมล์               taroza12400@gmail.com
 
ลิงค์ Youtube vdo