ชื่อผู้ใช้  
จำรหัสผ่าน
 
 
บทความโครงการ นักศึกษา
1. ชื่อโครงการ การสร้างและพัฒนาระบบเครือข่ายของแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์
2. จัดทำโดย
    1. นายชัชพงษ์ คำชื่น
    2. นายรัฐพงศ์ ต๊ะวิกา
    3.
3. อีเมล์
momotharo555@hotmail.com , happy3116@hotmail.com
4. บทคัดย่อ
          โครงการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและพัฒนาระบบเครือข่ายของแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ โดยโปรแกรมสามารถควบคุมระบบอินเทอร์เน็ตสามารถจัดการแบนด์วิดไม่ให้ใช้งานมากเกินที่ต้องการสามารถทำระบบยืนยันตัวตนก่อนใช้งานอินเทอร์เน็ตได้และเก็บประวัติข้อมูลใช้งาน
          การดำเนินการโครงการใช้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 20 คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย () และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) โดยมีการสอนการใช้โปรแกรมในครั้งแรก จากนั้นจึงให้ทดลองใช้โปรแกรมด้วยตนเอง เสร็จแล้วให้นักศึกษาตอบแบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้งานระบบ ผลการดำเนินการวิจัย พบว่า ระบบเครือข่ายของแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.33
 
5. บทนำ
          ในปัจจุบันการสืบค้นข้อมูลต่างๆหรือการใช้งานอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บางประเภท ล้วนแล้วต้องใช้งานอินเทอร์เน็ต จะเห็นว่าการใช้อินเทอร์เน็ตนั้นสำคัญต่อการใช้งานในด้านต่างๆเพื่อเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการ และการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่มีผู้ใช้งานจำนวนมากมักจะก่อให้เกิดปัญหาในการใช้งานอินเทอร์เน็ตตามมาและทำให้ประสิทธิภาพในการใช้งานอินเทอร์เน็ตลดลง       
          จากการได้รับประสบการณ์ในการฝึกงานแล้วพบว่าบริษัทจำนวนหนึ่ง ต่างมีการใช้การควบคุมจัดการ Bandwidth อินเทอร์เน็ต เพื่อแบ่งการใช้งานอินเทอร์เน็ตภายในองค์กรนั้น ไม่ให้กระทบต่อส่วนงานต่างๆ ภายในองค์กร และทำให้สามารถใช้งานได้โดยไม่ติดขัดมีประสิทธิภาพในการใช้งานแต่อุปกรณ์ที่บริษัทนำมาใช้นั้นมีราคาที่สูงและมีค่าบริการรายปีทำให้ต้นทุนในการจ่ายต่อปีสูง ทางผู้จัดทำจึงได้ศึกษาและค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อมาประยุกต์ใช้งานพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตภายในแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นจากสาเหตุที่ระบบอินเทอร์เน็ตภายในแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์นั้นไม่มีตัวควบคุมการใช้งานอินเทอร์เน็ตและมีจำนวนคนใช้งานมากทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตทำงานช้าลง
          ดังนั้น คณะผู้จัดทำโครงการมีความต้องการที่จะพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตภายในแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ โดยใช้ MikroTik ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมและดูแล และใช้ Radius ในการจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้งาน ซึ่งมีต้นทุนที่ถูกกว่า และมีความสามารถในการจัดการหลากหลาย เพื่อจัดการระบบอินเทอร์เน็ตให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและจัดสรร Bandwidth อีกทั้งยังสามารถควบคุมการใช้งานต่างๆของอินเทอร์เน็ตได้ ทำให้สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ       
 
6. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1)  เพื่อพัฒนาระบบเครือข่ายภายในแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์โดยใช้ MikroTik        
2)  เพื่อหาประสิทธิภาพระบบเครือข่ายภายในแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์โดยใช้ MikroTik
 
7. ขอบเขตของการวิจัย
การพัฒนาระบบเครือข่ายภายในแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ เพื่อการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ
      1.  ด้านขอบข่ายมีรายละเอียด ดังนี้     
              (1)  ใช้ MikroTik ในการความคุมระบบ Internet Hotspot  
              (2)  ใช้ Radius โปรแกรม Userman ในการเก็บข้อมูลผู้ใช้งาน
      2.  ด้านเนื้อหา        
              (1)  สามารถทำ Hotspot เพื่อให้มีการ login ก่อนถึงสามารถใช้งาน Internet ได้
              (2)  สามารถบล็อกเว็บและโปรแกรมที่ไม่ต้องการให้ใช้งานได้
              (3)  ใช้ระบบ Radius  ในการเก็บข้อมูลผู้ใช้ ชื่อ Userman
              (4)  สามารถทำ Queue เพื่อ Limit ความเร็วในการใช้งานของแต่ละเว็บได้   
              (5)  สามารถเก็บ log ตามพรบ.คอม ได้
 
8. สมมุติฐาน
        ระบบเครือข่ายภายในแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความรวดเร็วในการใช้งาน
 
9. วิธีดำเนินการวิจัย
   1 ) ศึกษาข้อมูลเพื่อเตรียมการโครงการ ผู้จัดทำได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการวิเคราะห์และออกแบบระบบเครือข่ายเพื่อใช้ในการจัดการระบบอินเตอร์เน็ต
   2 ) วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวการทำงานของระบบและกำหนดขอบเขตเพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน
   3 ) การสร้างและพัฒนาระบบเครือข่าย
   4 ) ทดสอบหาประสิทธิภาพของระบบเครือข่าย มีการใช้แบบประเมินประสิทธิภาพนวัตกรรมจากผู้เชี่ยวชาญ และแบบประเมินความพึงพอใจจากผู้ทดลองใช้
   5 ) กำหนดกลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์สาขาวิชา ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 20 คน วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง
   6 ) สอนการใช้งานโปรแกรมให้กับที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง
   7 ) นักศึกษาทดลองใช้ระบบเครือข่ายของแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์
 
9.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
          นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ กลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษา มีจำนวน 20 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง
 
9.2 สร้างเครื่องมือที่ใช้ในโครงการ
         การสร้างและพัฒนาระบบเครือข่ายของแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ โดยมีรายละเอียดดังนี้    
              
                          ภาพที่ 1 ลำดับขั้นตอนการดำเนินโครงการ

  1.  วิเคราะห์สภาพปัญหาหรือประเมินความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม
  2.  ศึกษาทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้อง
  3.  กำหนดขอบเขตของโปรแกรม ทรัพยากร ที่ใช้ทำระบบเครือข่าย
  4.  ออกแบบและจัดทำระบบเครือข่ายแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์
                 
                          ภาพที่ 2 แผนผังการทำงานของโปรแกรม

              
                          ภาพที่ 3 การทำงานของโปรแกรม

5.  โปรแกรมระบบเครือข่ายของแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์
    1)  ภาพรวมของโปรแกรม
          
                          ​    ภาพที่ 4  แสดงหน้า MikroTik Os

          
                          ​    ภาพที่ 5  แสดงหน้าต่างโปรแกรมที่ใช้ในการ Config

          
                          ​    ภาพที่ 6  หน้าต่างใช้ดูผู้ใช้งานในระบบ

         
                          ​    ภาพที่ 7  แสดงหน้า Radius Userman ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้งาน

6. ออกแบบเครื่องมือที่ใช้ประเมินประสิทธิภาพ

                                 แบบฟอร์มการตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถาม
       
            ตารางที่ 1  แบบฟอร์มการตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถามของผู้ทรงคุณวุฒิ
            

                                    การวิเคราะห์เลือกคำถามจากผู้ทรงคุณวุฒิ

            ตารางที่ 2  
การวิเคราะห์เลือกคำถามจากผู้ทรงคุณวุฒิ
            

   แสดงการคิดคำนวณค่า IOC
                 ข้อ 1   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667
                            มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                 ข้อ 2   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667
                            มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                 ข้อ 3   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667
                            มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                 ข้อ 4   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                            มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                 ข้อ 5   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                            มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                 ข้อ 6   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                            มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                 ข้อ 7   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667
                            มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                 ข้อ 8   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667
                            มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                 ข้อ 9   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                            มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้     
                 ข้อ 10   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                             จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                             ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                             มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                 ข้อ 11   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2
                             จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                             ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667
                             มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                 ข้อ 12   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                             จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                             ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                             มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้

                            แบบประเมินผลความพึงพอใจในการใช้ระบบเครือข่ายของแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์

        แบบประเมินการใช้ระบบเครือข่ายของแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ นี้  จัดทำขึ้นเพื่อประเมินผลงานของระบบเครือข่าย ในกลุ่มคณะครูและนักศึกษาในแผนกหรือในคณะครูและนักศึกษาแผนกช่างอื่นๆในวิทยาลัยเทคนิคแพร่ ผลการประเมินของท่านจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปรับปรุงการทำงานระบบเครือข่ายของแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ ให้มีความสมบูรณ์และดียิ่งขึ้นไป

คำชี้แจง     แบบประเมินแบ่งออกเป็น 3 ตอน
                       ตอนที่ 1   เป็นข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
                       ตอนที่ 2   ด้านความสะดวกในการใช้งานระบบเครือข่ายมีทั้งหมด 3 ด้านดังนี้
                                     ด้านที่ 1    ด้านโครงสร้าง
                                     ด้านที่ 2    ด้านการใช้งานระบบเครือข่าย
                                     ด้านที่ 3    ด้านคุณค่าโดยสรุป
                       ตอนที่ 3  เป็นข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่นๆ
ตอนที่ 1  ข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
โปรดทำเครื่องหมายลงในที่อยู่หน้าข้อความที่เกี่ยวข้องกับผู้ประเมิน
1.  เพศ
             ชาย         หญิง
2.  อายุ
             ต่ำกว่า 15 ปี       16-21 ปี       22-25 ปี       26-30 ปี        สูงกว่า 30 ปี
3.  อาชีพของท่าน
            ไม่มีอาชีพ      เกษตรกร          ข้าราชการ       นักเรียน/นักศึกษา 
           อื่นๆ ระบุ..................................
ตอนที่ 2     เป็นประเมินความพึงพอใจ ในการใช้ระบบเครือข่าย ซึ่งประเมินทั้งหมด 3 ด้านดังนี้
                        ด้านที่ 1 ด้านโครงสร้าง
                        ด้านที่ 2 ด้านการใช้งานของระบบเครือข่าย
                        ด้านที่ 3 ด้านคุณค่าโดยสรุป
คำชี้แจง        โปรดทำเครื่องหมาย  ลงในช่องที่ตรงกับความจริงมากที่สุด
                        5 หมายถึง          ในระดับดี มากที่สุด
                        4 หมายถึง          ในระดับดี มาก
                        3 หมายถึง          ในระดับดี ปานกลาง
                        2 หมายถึง          ในระดับดี น้อย
                        1 หมายถึง          ในระดับดี น้อยที่สุด
                   ตารางที่ 3  แบบประเมินผลความพึงพอใจในการ
9.3 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล
          โครงการครั้งนี้ เลือกนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ สาขาวิชา ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวะศึกษา เพื่อหาคำตอบของโครงการครั้งนี้โดยกำหนดเป็นขั้นตอนได้ดังนี้

          
                  ​ภาพที่ 8  ผังแสดงกระบวนการวิเคราะห์ออกแบบเครื่องมือสำหรับการประเมิน 

                
                ภาพที่ 9  การใช้งานระบบเครือข่ายของแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์

                
                ภาพที่ 10  การใช้งานระบบเครือข่ายของแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์

                
                ภาพที่ 11  การใช้งานระบบเครือข่ายของแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์

                
                ภาพที่ 12  การใช้งานระบบเครือข่ายของแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์
 
9.4 การวิเคราะห์ข้อมูล
1)  การวิเคราะห์คุณภาพของแบบประเมิณ
     การหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างแบบประเมินและวัตถุประสงค์                                                   
                            
            IOC   คือ ค่าดัชนีความสอดคล้อง(Index of Congruency)
            คือ ผลรวมคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
             N      คือ จำนวนผู้เชี่ยวชาญ
2)  การวิเคราะห์หาคุณภาพชุดการสอนจากผู้เชี่ยวชาญ
                               
                แทน คะแนนเฉลี่ย

           แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด

             N     แทน จำนวนข้อมูล
        3) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard Deviation)
                         
              S.D  คือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มตัวอย่าง  

             คือ ผลของคะแนนแต่ละตัวยกกำลังสอง

              คือ ผลรวมของคะแนนทั้งหมดยกกำลังสอง
                N        คือ จำนวนข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง
10. ผลของการวิจัย
          การวิเคราะห์การสร้างและพัฒนาระบบเครือข่ายของแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ มีการวิเคราะห์โดยแยกเป็นตอนตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาและผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยนำเสนอตามลำดับ ดังต่อไปนี้
 
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลนำเสนอรวม 5 ตอน ดังนี้
                          ตอนที่ 1  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของนวัตกรรม
                          ตอนที่ 2  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
                          ตอนที่ 3  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านโครงสร้าง
                          ตอนที่ 4  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านการทำงานได้                                               ตามระบบการทำงาน
                          ตอนที่ 5  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านภาพรวมทุกด้าน

ตอนที่ 1  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของนวัตกรรม
              ตารางที่ 4  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของนวัตกรรม
              

จากตาราง 4.1 สามารถแสดงรูปภาพการทำงานได้ดังนี้
           (1)  ตัวเครื่องมีความแข็งแรง คือ น้ำหนักของเครื่องจะมีน้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายง่ายเนื่องจากมีน้ำหนักไม่มากเกินไป
                  
                          ​    ภาพที่ 13  แสดงภาพเครื่อง
 
           (2)  การใช้งานสามารถใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมง
                 
                          ​    ภาพที่ 14  แสดงการการทำงานของเครื่อง
           (3)  หน้ายืนยันตัวตนตอนเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ต
                ​  
                          ​    ภาพที่ 15  แสดงหน้าเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ต
 
           (4)  ดูสถานะการใช้งานแต่ละ User ดังแสดงใน
                  
                          ​    ภาพที่ 16  แสดงสถานะการใช้งานของ User

ตอนที่ 2  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
              ตารางที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
             
             จากตารางที่ 5 พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทั้ง 20 คน เป็นเพศชาย 17 คน คิดเป็น 85% เพศหญิง 3 คน คิดเป็น 15% และอายุส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ 16-21 ปี คิดเป็น 100% ประสบการณ์ในการใช้โปรแกรมคิดเป็น 100%

ตอนที่ 3  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านโครงสร้าง
              
ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้ระบบเครือข่ายของแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ ด้านโครงสร้าง คือในแต่ละฟอร์มการทำงานของโปรแกรมตรงตามความต้องการใช้งานของผู้ใช้ เหมาะกับการใช้งานระบบเครือข่าย
              ตารางที่ 6  แสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านโครงสร้าง
             
             จากตารางที่ 6 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้ระบบเครือข่ายของแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ ด้านด้านโครงสร้าง โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( = 4.31) และเมื่อพิจารณาเป็นรายประเมิน พบว่า ทุกรายการประเมินอยู่ในระดับมากและมากที่สุด โดยความพึงพอใจในตัวเครื่องที่ใช้มีความเหมาะสม เป็นรายการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( = 4.50) และค่าเฉลี่ยที่น้อยที่สุดคือ ( = 4.10)

ตอนที่ 4  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านการทำงานได้ตามระบบการทำงาน
              
ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้ระบบเครือข่ายของแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ ด้านการทำงาน คือโปรแกรมมีความสะดวกในการใช้งาน ใช้งานได้อย่างราบรื่นและรวดเร็ว
              ตารางที่ 7  แสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านด้านการทำงาน
             
              จากตารางที่ 7 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้ระบบเครือข่ายของแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ( = 4.44) และเมื่อพิจารณาเป็นรายประเมิน พบว่า ทุกรายการประเมินอยู่ในระดับมากและมากที่สุด โดยความพึงพอใจในการใช้งานระบบเครือข่ายมีความรวดเร็วเป็นรายการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย  ( = 4.60) และค่าเฉลี่ยที่น้อยที่สุดคือ ( = 4.35)

ตอนที่ 5  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านภาพรวมทุกด้าน
              
สรุปภาพรวมผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจในการใช้ระบบเครือข่ายของแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ มีดังนี้
              ตารางที่ 8  แสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมในภาพรวมทุกด้าน
             
             จากตารางที่ 4.5 ความพึงพอใจในการการใช้ระบบเครือข่ายของแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ โดยภาพรวมทุกด้าน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( = 4.33) เมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมินในแต่ละด้าน พบว่า ด้านความเหมาะสมด้านโครงสร้าง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ( = 4.50) และค่าเฉลี่ยที่น้อยที่สุดคือ ( = 4.15)
 
11. การอภิปรายผล หรือการวิจารณ์และสรุป
             จากผลการสร้างและพัฒนาระบบเครือข่ายของแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ พบว่าระบบเครือข่ายของแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานได้จริงและเป็นประโยชน์ต่อกาใช้งานอินเทอร์เน็ตและระบบเครือข่าย จุดเด่นของโปรแกรมคือ สามารถควบคุมการทำงานของระบบเครือข่าย การทำระบบยืนยันตนในการใช้งาน ซึ่งสะดวกต่อการตรวจเช็คการทำงานการควบคุมระบบได้ หน้าต่างเข้าใช้งานดูเรียบง่ายต่อการใช้งาน หลังจากเข้าใช้งานแล้วจะมี pop-up แสดงสถานนะการใช้งาน ชั่วโมงที่ใช้งาน จำนวนข้อมูลที่ใช้งานและปุ่ม  จุดด้อยของโปรแกรมจากข้อเสนอแนะของกลุ่มประชากรตัวอย่างและจากผลการใช้งานทำให้สรุปข้อด้อยของโปรแกรมได้ คือ ระบบหน้าต่างเข้าใช้งานต้องเข้าเว็บที่เป็น Port 80(HTTP) เท่านั้น เนื่องจากตัว MikroTik ไม่มี Certificate ของ port 443(HTTPS) ทำให้การเข้าใช้งานในครั้งแรกถ้าหาก Windows ไม่เด้ง pop-up ขึ้นมาให้เข้าใช้งานจึงจำเป็นต้องเปิด Browser ขึ้นมาเพื่อเข้าใช้งานเอง
             นอกจากจุดเด่นและจุดด้อยของโปรแกรมยังมีในด้านโครงสร้าง ด้านการทำงานทั้งหมดอยู่ในระดับมากเพราะโปรแกรมสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานทุกอย่างตามที่ผู้จัดทำได้วิเคราะห์และออกแบบระบบของโปรแกรม ทำให้ผู้จัดทำได้เห็นถึงความสำคัญของการวิเคราะห์และออกแบบระบบเป็นอย่างมากเพราะในการออกแบบระบบทุกครั้งจะต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้เป็นหลัก
 
12. ข้อเสนอแนะ
1)  ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้
     1.1)  ควรศึกษาในด้านเนื้อหาตัว MikroTik ก่อนจะนำไปใช้งาน
     1.2)  ควรศึกษากลุ่มคำสั่งต่างๆของ MikroTik ก่อนใช้งาน
2)  ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป
     2.1)  ควรเพิ่มประสิทธิภาพของตัวเครื่องให้มากกว่าเดิมเพื่อรองรับผู้ใช้ที่มากขึ้น
     2.2)  ในการออกแบบระบบควรคำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้เป็นส่วนใหญ่
 
13. บรรณานุกรม
ชวเลข พู่ตระกูล. กรณีศึกษาระบบ RADIUS สาหรับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP). กรุงเทพฯ :
                     มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. 2556
ชเนตตี สยนานนท์. พฤติกรรมและปัญหาการใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษาระดับปริญญาตรี.
                     กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 2555
ไพฑูรย์ ไพเราะ. การประยุกต์ใช้งานระบบพิสูจน์ตัวตนสำหรับจุดเชื่อมโยงบทเครือข่ายก้อนเมฆ.
                     กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. 2556
14. ประวัติผู้จัดทำโครงการ
                     
ชื่อ-สกุล             นายชัชพงษ์ คำชื่น
เกิดเมื่อวันที่       28 มกราคม 2540
ที่อยู่ปัจจุบัน       140 หมู่1 ต.ร้องกวาง อ.ร้องกวาง จ.แพร่ 54140
วุฒิการศึกษา     ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 
                 สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ 
เบอร์โทร          082-4828023
อีเมล์             momotharo555@hotmail.com

                     
ชื่อ-สกุล             นายรัฐพงศ์ ต๊ะวิกา
เกิดเมื่อวันที่       4 ตุลาคม 2539
ที่อยู่ปัจจุบัน       51 หมู่.3 ต. ทุ่งศรี อ. ร้องกวาง จ.แพร่ 54140
วุฒิการศึกษา     ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 
                 สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ 
เบอร์โทร          092-1801784
อีเมล์             Happy3116@hotmail.com
 
ลิงค์ Youtube vdo