บทความโครงการ นักศึกษา | |
1. ชื่อโครงการ | การสร้างและหาประสิทธิภาพตู้เก็บเอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัย |
2. จัดทำโดย | |
1. นายสุกัลย์ ชุ่มใจ | |
2. นายสัณห์พิชญ์ งามเขียว | |
3. | |
3. อีเมล์ | |
night_nick303@hotmail.com,Prame20101@hotmail.com | |
4. บทคัดย่อ | |
โครงการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างชุดฝึกการเรียนรู้ เรื่อง การสร้างและหาประสิทธิภาพตู้เก็บเอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัย สำหรับการเก็บเอกสารที่สำคัญของแผนก ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา การดำเนินการโครงการใช้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 20 คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ยและค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) โดยมีการสอนใช้ตู้เก็บเอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัยในครั้งแรก จากนั้นจึงให้ทดลองใช้ตู้เก็บเอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัยด้วยตนเอง เสร็จแล้วให้นักเรียนตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ ในการใช้ตู้เก็บเอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัย ผลการดำเนินการวิจัย พบว่าตู้เก็บเอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัย ที่สร้างขึ้น ผู้ใช้มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.44 |
|
5. บทนำ | |
ปัจจุบันหลักฐานหรือข้อมูลที่สำคัญต่างๆ ได้ถูกบันทึกลงในกระดาษ เพื่อเก็บเป็นหลักฐานหรือข้อมูลนั้นไว้ การเก็บรักษาเอกสารสำคัญจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ในการเก็บรักษาเอกสารเหล่านั้นในสถานที่ที่ปลอดภัยและมีระบบป้องกันการโจรกรรม การโจรกรรมเอกสารส่วนใหญ่นั้นเกิดขึ้นในบริษัทขนาดใหญ่และสถานที่ราชการ โดยเหล่ามิจฉาชีพมีความพยายามที่จะคิดค้นวิธีการต่างๆหลายรูปแบบเพื่อให้มาซึ่งผลประโยชน์ของตนเอง โดยอาศัยเทคโนโลยีและเทคนิคต่างๆที่ทันสมัยขึ้นทุกวัน ซึ่งตู้ที่ใช้ในการเก็บเอกสารสำคัญต้องมีการพัฒนาตามไปด้วย เนื่องจากเอกสารแต่ละชนิดมีความสำคัญแตกต่างกันไป แต่มีเอกสารที่ความสำคัญมากซึ่งต้องมีที่เก็บเอกสารที่ปลอดภัยมากด้วยเช่นกัน การเก็บรักษานั้นควรเก็บในที่ที่มิดชิดและควรเก็บไว้ในตู้เก็บที่แข็งแรง ควรมีเทคโนโลยีรักษาความปลอดภัย เนื่องจากปัจจุบันมีการโจรกรรมข้อมูลและทรัพย์สินอย่างแพร่หลาย ซึ่งเกิดความหวาดกลัวแก่ผู้จัดเก็บเอกสารสำคัญ ในการเลือกตู้เอกสารที่ดีควรมีระบบเตือนภัย เพื่อช่วยในการแจ้งเตือนหากมีการโจรกรรมเกิดขึ้นจะแจ้งเตือนเจ้าของเอกสารได้รับรู้ ดังนั้น ผู้จัดทำจึงมีแนวคิดที่จะสร้างตู้เอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัยโดยใช้วงจร Arduino เป็นตัวควบคุมหลักและมีการกดรหัสหรือแตะคีร์การ์ดในการเปิดตู้เก็บเอกสารนิรภัย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อศึกษา อีกทั้งยังเสริมความรู้ ความเข้าใจ เพื่อผู้ศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์สร้างและพัฒนาตู้เอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัยที่มีประสิทธิภาพต่อไป ผู้จัดทำจึงนำไปใช้สอนกับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์วิทยาลัยเทคนิคแพร่ เพื่อให้กระบวนการเรียนรู้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ |
|
6. วัตถุประสงค์ของการวิจัย | |
1) เพื่อสร้างตู้เอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัย 2) เพื่อหาประสิทธิภาพตู้เอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัย |
|
7. ขอบเขตของการวิจัย | |
1 ด้านขอบข่ายมีรายละเอียดดังนี้ 1.1 การเปิดตู้เอกการโดยการกดรหัสเพื่อเปิดตู้ 1.2 การเปิดตู้เอกสารโดยการใช้คีร์การ์ดแตะเพื่อเปิดตู้ 1.3 ตู้เอกสารมีระบบเสียงแจ้งเตือนเมื่อเกิดการโจรกรรม 1.4 คู่มือประกอบการใช้งาน 2 ด้านเนื้อหา 2.1 ไมโครคอนโทรลเลอร์ ( Microcontroller ) 2.2 บอร์ด Arduino 2.3 ภาษา C 2.4 โมดูล จอ LCD 2.5 สวิตซ์ 2.6 ถ่านแบตเตอรี่ 3 ด้านระยะเวลาและกลุ่มตัวอย่าง 3.1 ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ภาคเรียน ที่ 2 ปีการศึกษา 2559 3.2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ กลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษา มีจำนวน 20 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง |
|
8. สมมุติฐาน | |
ได้ตู้เก็บเอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัยที่มีประสิทธิภาพล็อคด้วยการเข้ารหัสและคีร์การ์ดมีระบบเสียงแจ้งเตือนเมื่อกดรหัสผิด | |
9. วิธีดำเนินการวิจัย | |
1 ) ศึกษาข้อมูลเพื่อเตรียมการโครงการ ผู้จัดทำได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการวิเคราะห์และออกแบบตู้เก็บเอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัย 2 ) วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวการทำงานของตู้เอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัยและกำหนดขอบเขตเพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน 3 ) การสร้างและออกแบบ ตู้เก็บเอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัย 4 ) ทดสอบหาประสิทธิภาพของตู้เก็บเอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัย มีการใช้แบบประเมินประสิทธิภาพจากผู้เชี่ยวชาญ และแบบประเมินความพึงพอใจจากผู้ทดลองใช้ 5 ) กำหนดกลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์สาขาวิชา ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 20 คน วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง 6 ) สอนการใช้งานตู้เก็บเอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัยให้กับที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง 7 ) นักศึกษาทดลองใช้ตู้เก็บเอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัย |
|
9.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง | |
นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ กลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษา มีจำนวน 20 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง | |
9.2 สร้างเครื่องมือที่ใช้ในโครงการ | |
การสร้างและหาประสิทธิภาพตู้เก็บเอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัย มีขั้นตอนในการออกแบบ โดยละเอียดดังนี้![]() ![]() รูปที่ 1 ลำดับขั้นตอนการดำเนินโครงการ 1) วิเคราะห์สภาพปัญหาหรือประมาณความต้องการของผู้ใช้นวัตกรรม 2) ศึกษาทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้อง 3) กำหนดวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวกับการสร้างและหาประสิทธิภาพนวัตกรรม โครงการสร้างและหาประสิทธิภาพตู้เอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัย ใช้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ ตารางที่ 1 อุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้อง ![]() 4) หาข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและพัฒนาวัตกรรม (1) ตู้ไม้ กว้าง 40 เซนติเมตร, ยาว 50 เซนติเมตร, สูง 65 เซนติเมตร (2) กลอนไฟฟ้า 9 โวลต์ (3) Adaptor 12 โวลต์ 5) ออกแบบสร้างและพัฒนานวัตกรรม ดังนี้ ![]() รูปที่ 2 โครงสร้างของตู้เก็บเอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัย ![]() รูปที่ 3 ขนาดของตู้เก็บเอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัย 6) สร้างนวัตกรรมตามที่ออกแบบ ตามลำดับดังนี้ (1) การออกแบบโครงสร้าง โดยมีความกว้าง 40 cm ยาว 50 cm สูง 65 cm ![]() รูปที่ 4 โครงสร้างตู้เอกสาร (2) เตรียมอุปกรณ์และทดสอบเบิร์นโค้ด ![]() รูปที่ 5 เตรียมอุปกรณ์และทดสอบเบิร์นโค้ด (3) การติดตั้งระบบไฟเข้าโดยใช้ Power supply ![]() รูปที่ 6 ติดตั้งสายไฟด้านใต้ตู้ (4) การติดตั้ง Keypad ดังแสดงในรูปที่ ![]() รูปที่ 7 นำแผ่นไม้มาติดปิด RFID เพื่อ นำ Keypad มาติดตั้งทับ ![]() รูปที่ 8 นำ Keypad มาติดตั้งทับบนแผ่นไม้ (5) การติดตั้งจอ LCD ![]() รูปที่ 9 ติดตั้งจอ LCD ตรงช่องที่เจาะไว้ (6) การติดตั้ง RFID ![]() รูปที่ 10 ติดตั้ง RFIDในช่องที่เตรียมไว้ (7) การติดตั้งกลอนไฟฟ้า ![]() รูปที่ 11 ติดตั้งกลอนไฟฟ้าเพื่อใช้ในการปิด-เปิด (8) การติดตั้งลำโพง ![]() รูปที่ 12 ติดตั้งลำโพง (9) การติดตั้งสวิตช์เปิด-ปิด ![]() รูปที่ 13 ติดตั้งสวิตช์เปิด-ปิด ไฟเลี้ยงวงจร (10) การติดตั้งบอร์ด Arduino ![]() รูปที่ 14 ติดตั้งบอร์ด Arduino ในแผ่นไม้ (11) ตู้เก็บเอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัย ควบคุมโดย ไมโครคอนโทรลเลอร์ ที่สำเร็จ ![]() รูปที่ 15 ตู้เก็บเอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัย ที่สำเร็จ 7) ออกแบบเครื่องมือที่ใช้ประเมินประสิทธิภาพ แบบฟอร์มการตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถาม ตารางที่ 2 แบบฟอร์มการตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถามของผู้ทรงคุณวุฒิ ![]() การวิเคราะห์เลือกคำถามจากผู้ทรงคุณวุฒิ ตารางที่ 3 การวิเคราะห์เลือกคำถามจากผู้ทรงคุณวุฒิ ![]() แสดงการคิดคำนวณค่า IOC ข้อ 1 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 2 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 3 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 4 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 5 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 6 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 7 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 8 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 9 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 10 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 11 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 12 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 13 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 14 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 15 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ แบบประเมินความพึงพอใจการสร้างและหาประสิทธิภาพตู้เก็บเอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัย แบบประเมินผลความพึงพอใจการสร้างและหาประสิทธิภาพประสิทธิภาพตู้เก็บเอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัย เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ใช้ ที่มีต่อตู้เก็บเอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัย ผลการประเมินของท่านจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปรับปรุงตู้เก็บเอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัย ให้มีความสมบูรณ์และดียิ่งขึ้นไป คำชี้แจง แบบประเมินแบ่งออกเป็น 3 ตอน ตอนที่ 1 เป็นข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 ความสะดวกในการใช้งาน ตู้เก็บเอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัย ด้านที่ 1 ด้านโครงสร้าง ด้านที่ 2 ด้านการใช้งาน ด้านที่ 3 ด้านคุณค่าโดยสรุป ตอนที่ 3 เป็นข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่นๆ ตอนที่ 1 เป็นข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถามโปรดทำเครื่องหมาย ![]() ![]() 1. เพศ ![]() ![]() 2. อายุ ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() 3. อาชีพของท่าน ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ตอนที่ 2 เป็นแบบประเมินความพึงพอใจ ในการใช้ตู้เก็บเอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัย ซึ่งประเมิน ทั้งหมด 3 ด้านดังนี้ ด้านที่ 1 ด้านโครงสร้าง ด้านที่ 2 ด้านการใช้งาน ด้านที่ 3 ด้านคุณค่าโดยสรุป คำชี้แจง โปรดทำเครื่องหมาย √ ลงในช่องที่ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด 5 หมายถึง ในระดับดี มากที่สุด 4 หมายถึง ในระดับดี มาก 3 หมายถึง ในระดับดี ปานกลาง 2 หมายถึง ในระดับดี น้อย 1 หมายถึง ในระดับดี น้อยที่สุด ตารางที่ 4 แบบประเมินผลความพึงพอใจในการใช้ตู้เก็บเอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัย ![]() |
|
9.3 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล | |
โครงการครั้งนี้ เลือกนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ สาขาวิชา ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวะศึกษา เพื่อหาคำตอบของโครงการครั้งนี้โดยกำหนดเป็นขั้นตอนได้ดังนี้![]() รูปที่ 16 ผังแสดงกระบวนการวิเคราะห์ออกแบบเครื่องมือสำหรับการประเมิน ![]() รูปที่ 17 การทดลองใช้ตู้เก็บเอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัย ![]() รูปที่ 18 การทดลองใช้ตู้เก็บเอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัย ![]() รูปที่ 19 การทดลองใช้ตู้เก็บเอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัย |
|
9.4 การวิเคราะห์ข้อมูล | |
1) การวิเคราะห์คุณภาพของแบบประเมิณ การหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างแบบประเมินและวัตถุประสงค์ ![]() IOC คือ ค่าดัชนีความสอดคล้อง(Index of Congruency) ![]() N คือ จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 2) การวิเคราะห์หาคุณภาพชุดการสอนจากผู้เชี่ยวชาญ ![]() ![]() ![]() N แทน จำนวนข้อมูล 3) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard Deviation) S.D คือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มตัวอย่าง ![]() N คือ จำนวนข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง |
|
10. ผลของการวิจัย | |
การวิเคราะห์ข้อมูลการสร้างและหาประสิทธิภาพตู้เก็บเอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัย มีการวิเคราะห์โดยแยกเป็นตอนตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาและผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยนำเสนอตามลำดับ ดังนี้ การเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิเคราะห์ข้อมูลนำเสนอรวม 6 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของนวัตกรรม ตอนที่ 2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านโครงสร้าง ตอนที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านการใช้งาน ตอนที่ 5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านคุณค่าโดยสรุป ตอนที่ 6 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมในภาพรวมทุกด้าน ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของนวัตกรรม ตารางที่ 5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของนวัตกรรม ![]() ตอนที่ 2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม ตารางที่ 6 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม ![]() จากตารางที่ 10.2 พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทั้ง 20 คน เป็นเพศชาย 15 คน เพศหญิง 5 คน คิดเป็น 100% และอายุส่วนใหญ่อยู่ที่ เกณฑ์ต่ำกว่า 20 ปี คิดเป็น 100% ประสบการณ์ใช้งานชุดฝึก คิดเป็น 100% ตอนที่ 3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านโครงสร้าง ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้ตู้เก็บเอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัย ที่ผ่านการใช้ตู้เก็บเอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัย ด้านที่ 1 ด้านโครงสร้าง คือความแข็งของเครื่อง ตารางที่ 7 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านโครงสร้าง ![]() จากตารางที่ 10.3 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้ตู้เก็บเอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัย ที่สร้างขึ้น ในด้านโครงสร้าง โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( ![]() ![]() ![]() ตอนที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านการใช้งาน ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้ตู้เก็บเอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัย ผู้ที่ผ่านการใช้ตู้เก็บเอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัย ในด้านการใช้งาน ตารางที่ 8 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรม ด้านการใช้งาน ![]() จากตารางที่ 10.4 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้ตู้เก็บเอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัย โดยภาพ รวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( ![]() ![]() ![]() ![]() ตอนที่ 5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านคุณค่าโดยสรุป ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้ตู้เก็บเอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัย ในด้านคุณค่าโดยสรุป ตารางที่ 9 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านคุณค่าโดยสรุป ![]() จากตารางที่ 10.5 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้ตู้เก็บเอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก ( ![]() ![]() ![]() ตอนที่ 6 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมในภาพรวมทุกด้าน สรุปภาพรวมผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจในการใช้ตู้เก็บเอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัย ที่สร้างขึ้น ตารางที่ 10 ผลการวิเคราะห์ข้อมลประเมินผลการใช้นวัตกรรมในภาพรวมทุกด้าน ![]() จากตารางที่ 10.6 ความพึงพอใจในการใช้ตู้เก็บเอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัย โดยภาพรวมทุกด้าน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( ![]() ![]() ![]() |
|
11. การอภิปรายผล หรือการวิจารณ์และสรุป | |
จากการสร้างและหาประสิทธิภาพตู้เก็บเอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัย เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยของเอกสารหรือทรัพย์สิน การสร้างตู้เก็บเอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัย ผลจากการสร้างของตู้เก็บเอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัย พบว่า ความแข็งแรงของเครื่องได้มาตรฐานตามที่ตั้งไว้ นำหนักของเครื่องอยู่ที่ 20 กิโลกรัม ขนาดของเครื่องกว้าง 40 เซนติเมตรยาว 50 เซนติเมตรสูง 65 เซนติเมตร สามารถใช้ได้ตามสภาพแวดล้อมตามที่ตั้งไว้ได้ สามารถใช้ไฟได้ 1 ระบบ คือ ระบบไฟบ้านเรือน 220V วัสดุที่นำมาใช้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับขั้นตอนไม่ยุ่งยากซับซ้อน ผลจากการทดลองใช้ตู้เก็บเอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัย พบว่า ตู้เก็บเอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัยสามารถลดการโจรกรรมของเอกสารหรือทรัพย์สิน อีกทั้งสามารถนำไปใช้งานได้จริง มีความเหมาะสมของต้นทุน วัสดุที่ใช้สร้าง ความแข็งแรง ขนาดของตู้ การออกแบบให้เหมาะสมกับการใช้งาน ความสะดวกในการใช้งาน การเคลื่อนย้าย ความปลอดภัย ขั้นตอนการใช้งานยังไม่เหมาะสมต้องปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องต่อไปเพื่อพัฒนาด้านการใช้งานและด้านโครงสร้างที่เหมาะสม การสร้างตู้เก็บเอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัยมีราคาในการสร้างที่เหมาะสมแล้วด้วยอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน ตู้เก็บเอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัยนี้มีความสะดวกในการใช้งานและมีความปลอดอภัยที่สูงในการรักษาเอกสารหรือทรัพย์สินนั้นๆ หรือใช้ในการเรียนการสอบวิชาไมโครคอนโทรเลอร์เพื่อเรียนรู้การนำไปดัดแปลงใช้ในชีวิตจริง |
|
12. ข้อเสนอแนะ | |
1) ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้ (1) หลังจากใช้ตู้เก็บเอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัยควรปิดสวิตช์ให้เรียบร้อย เพื่อช่วยประหยัดพลังงาน (2) ไม่ควรเสียบ Adaptor ทิ้งไว้ ในกรณีที่ไม่ได้ใช้ตู้เก็บเอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัยเป็นเวลานาน เพื่อความปลอดภัย (3) เปิดตู้ทุกครั้ง ควรปิดตู้ทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยของทรัพย์สินหรือเอกสารนั้นๆ 2) ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป (1) ควรจะพัฒนาให้มีการเปิด-ปิด ตู้เก็บเอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัยเป็นระบบเปิด-ปิด ไร้สาย |
|
13. บรรณานุกรม | |
ทีมงานสมาร์ทเลิร์นนิ่ง. Advance PIC Microcontroller in C กรุงเทพฯ: สมาร์ทเลิร์นนิ่ง, 2553 ทีมงานสมาร์ทเลิร์นนิ่ง. PIC Microcontroller Learning-By-Doing ด้วยภาษา C. กรุงเทพฯ: สมาร์ทเลิร์นนิ่ง, 2553 ประจิน พลังสันติกุล. การเขียนโปรแกรมควบคุมไมโครคอนโทรลเลอร์. กรุงเทพฯ: แอพซอฟต์เทค, 2549 พูลศักดิ์ โกษียาภรณ์. เรียนรู้ไมโครคอนโทรลเลอร์ ARM7 ด้วยภาษา C. กรุงเทพฯ: สมาร์ท เลิร์นนิ่ง, 2553 วรพจน์ กรแก้ววัฒนกุล. เรียนรู้และปฏิบัติการไมโครคอนโทรลเลอร์. กรุงเทพฯ: อินโนเวตีฟ เอ็ก เพอริเมนต์ จำกัด, ม.ป.ป. อุทัย สุขสิงห์. ไมโครโพรเซสเซอร์ และไมโครคอนโทรเลอร์. นนทบุรี: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น), 2547 |
|
14. ประวัติผู้จัดทำโครงการ | |
![]() ชื่อ-สกุล นายสุกัลย์ ชุ่มใจ เกิดเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2539 ที่อยู่ปัจจุบัน 136/1 หมู่ 1 ตำบลน้ำชำ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ 54000 วุฒิการศึกษา ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพสูง (ปวส.) สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ เบอร์โทร 086-4476623 อีเมล์ night_nick303@hotmail.com ![]() ชื่อ-สกุล นายสัณห์พิชญ์ งามเขียว เกิดเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2539 ที่อยู่ปัจจุบัน 296/1 หมู่ 10 ตำบลแม่จั๊วะ อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ 54110 วุฒิการศึกษา ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ เบอร์โทร 087-3588683 อีเมล์ Prame20101@hotmail.com |
|
ลิงค์ Youtube vdo | |