ชื่อผู้ใช้  
จำรหัสผ่าน
 
 
บทความโครงการ นักศึกษา
1. ชื่อโครงการ การพัฒนาและหาประสิทธิภาพเครื่องต้มน้ำร้อนอัจฉริยะ
2. จัดทำโดย
    1. นายชุติพนธ์ ยอดยิ่ง
    2. นายวัชรพงษ์ จันทร์หมื่น
    3.
3. อีเมล์
chutiphonjj@hotmail.co.th,icezaa_narak@hotmail.com
4. บทคัดย่อ
          โครงการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการพัฒนาและหาประสิทธิภาพของเครื่องต้มน้ำร้อนอัจฉริยะ สำหรับการใช้งานที่สหกรณ์แผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา
          การดำเนินการโครงการใช้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 20 คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย  และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) โดยมีการสอนใช้กาน้ำในครั้งแรก จากนั้นจึงให้ทดลองใช้เครื่องต้มน้ำร้อนอัจฉริยะ เสร็จแล้วให้นักเรียนตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ ในการใช้เครื่องต้มน้ำร้อนอัจฉริยะ
          ผลการดำเนินการวิจัย พบว่าเครื่องต้มน้ำร้อนอัจฉริยะ ที่สร้างขึ้น ผู้ใช้มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.42
 
5. บทนำ
          ในปัจจุบันได้มีการใช้เทคโนโลยีและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เพื่อแก้ปัญหาและลดความวุ่นวายในการใช้ชีวิตประจำวัน การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสนองความต้องการของผู้ใช้ ผู้จัดทำโครงการเลยมีแนวคิดที่จะพัฒนานำสิ่งอำนวยความสะดวกสบายในการใช้งานในชีวิตประจำวัน จึ่งพัฒนาโครงการเครื่องต้มน้ำร้อนแบบเดิมที่ไม่มีความปลอดภัยและการดูแลรักษาที่ยากต่อการซ่อมบำรุง
          จากการที่ผู้จัดทำได้ประสบปัญหาจากการเครื่องต้มน้ำร้อนแบบเดิมนั้น จึงมีแนวคิดในการพัฒนาโครงการจากแนวคิดและสิ่งประดิษฐ์ดีๆนำมาพัฒนาให้ง่ายต่อการใช้งาน ทั้งยังทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและน่าสนใจจึ่งพัฒนาให้มีความจำเป็นต่อผู้ใช้ เพื่ออำนวยความสะดวก และเกิดความคล่องตัวในการดำเนินชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพ
          ดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาเครื่องต้มน้ำร้อนแบบเดิมนั้น ให้เป็นเครื่องต้มน้ำร้อนอัจฉริยะเพื่อแก้ปัญหาและสนองความต้องการและอำนวยความสะดวกของผู้ใช้ ให้ดำเนินชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพปลอดภัย การที่ผู้จัดทำโครงการได้เล็งเห็นจุดประสงค์ที่ต้องการและการคาดเดาปัญหาต่างๆเหล่านั้นไว้ล่วงหน้าไว้อย่างถูกต้องตลอดจนการหาทางแก้ไขปัญหาต่างๆ เหล่านั้น ผู้จัดทำจึงนำเครื่องต้มน้ำร้อนอัจฉริยะไปใช้กับแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ เพื่อให้กระบวนการใช้งานทะลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
 
6. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1)  เพื่อพัฒนาเครื่องต้มน้ำร้อนอัจฉริยะ
2)  เพื่อหาประสิทธิภาพของเครื่องต้มน้ำร้อนอัจฉริยะ
 
7. ขอบเขตของการวิจัย
การพัฒนาและหาประสิทธิภาพเครื่องต้มน้ำร้อนอัจฉริยะ มีรายละเอียด ดังนี้
1.  ด้านเนื้อหา
     1.1  หม้อแปลงไฟฟ้า
     1.2  ปั้มน้ำ 12V DC
     1.3  กาต้มน้ำร้อน
     1.4  เบรกเกอร์ตัดไฟ
     1.5  วงจรเตือนและตัดน้ำร้อน
     1.6  ลูกลอยไฟฟ้า
     1.7  วงจรเรกูเลเตอร์
     1.8  โซลินอยด์วาล์วทองเหลือง
     1.9 วงจรบอกระดับน้ำ 3 ระดับ
2.  ด้านขอบข่าย
     2.1  ความสามารถของเครื่องต้มน้ำร้อนอัจฉริยะมีคุณสมบัติดังนี้
           (1)  เครื่องต้มน้ำมีระบบเติมน้ำอัตโนมัติเมื่อน้ำในถังต้มใกล้จะหมด
           (2)  การกดน้ำของของเครื่องจะควบคุมด้วยโซลินอยด์วาล์ว
           (3)  ถังต้มน้ำร้อนมีวงจรเตือนและตัดน้ำร้อน
     2.2  แบบประเมินประสิทธิภาพของระบบ
     2.3  แบบประเมินความพึงพอใจ
3.  ด้านระยะเวลา
     ตลอดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559
4.  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 
     ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ กลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษา มีจำนวน 20 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง
 
8. สมมุติฐาน
          เครื่องต้มน้ำร้อนอัจฉริยะ สามารถใช้งานได้จริงและสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์
 
9. วิธีดำเนินการวิจัย
   1 ) ศึกษาข้อมูลเพื่อเตรียมการโครงการ ผู้จัดทำได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโซลินอยด์วาล์วทองเหลืองและทฤษฎีวงจรไฟฟ้าเบื้องต้น เพื่อใช้งานในการพัฒนาเครื่องต้มน้ำร้อนอัจฉริยะ
   2 ) วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวการทำงานในส่วนต่างๆของตัวโครงงานและกำหนดขอบเขตเพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน
   3 ) การสร้างและออกแบบ เครื่องต้มน้ำร้อนอัจฉริยะ
   4 ) ทดสอบหาประสิทธิภาพของเครื่องต้มน้ำร้อนอัจฉริยะมีการใช้แบบประเมินประสิทธิภาพนวัตกรรมจากผู้เชี่ยวชาญ และแบบประเมินความพึงพอใจจากผู้ทดลองใช้
   5 ) กำหนดกลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์สาขาวิชา ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 20 คน วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง
   6 ) สอนการใช้งานตัวเครื่องให้กับกลุ่มตัวอย่าง
   7 ) นักศึกษาทดลองใช้งานการพัฒนาเครื่องต้มน้ำร้อนอัจฉริยะ
 
9.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
          นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ กลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษา มีจำนวน 20 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง
 
9.2 สร้างเครื่องมือที่ใช้ในโครงการ
         การพัฒนาและหาประสิทธิภาพเครื่องต้มน้ำอัจฉริยะ มีขั้นตอนในการออกแบบ โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
                              
                                            ภาพที่ 1  ลำดับขั้นตอนการดำเนินโครงการ

1.  วิเคราะห์สภาพปัญหาหรือประเมินความต้องการของผู้ใช้ผู้ใช้นวัตกรรม
2.  ศึกษาทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้อง
3.  กำหนดวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวกับการสร้างและพัฒนานวัตกรรม
4.  หาข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและพัฒนาวัตกรรม

                                
                                                         ภาพที่ 2  แบบกาต้มน้ำอัจฉริยะ

5.  สร้างนวัตกรรมตามที่ออกแบบ ไว้ดังนี้
    1)  วัดขนานและวาดแบบ ดังแสดงในภาพที่ 3
                                
                                                ภาพที่ 3 เชื่อมขึ้นโครงเหล็ก

    2)  ตัดชิ้นส่วนงานตามแบบที่วาดไว้ ดังแสดงในภาพที่ 4
                                
                                               ภาพที่ 4 ตัดชิ้นส่วนตามแบบที่วาดไว้

    3)  นำโครงเหล็กที่เชื่อมที่เชื่อมเสร็จแล้วมาพ่นสี ดังแสดงในภาพที่ 5
                                
                                                  ภาพที่ 5 พ่นสีโครงเหล็ก

    4)  ติดตั้งปั้มน้ำด้านล่าง ดังแสดงภาพที่ 6
                                
                                                 ภาพที่ 6 ติดตั้งปั้มน้ำด้านล่าง

    5)  ติดตั้งถังน้ำด้านล่าง ดังแสดงภาพที่ 7
                                
                                                ภาพที่ 7 ติดตั้งถังน้ำด้านล่าง

    6)  ติดตั้งโซลินอยด์วาล์วทองเหลืองและถังคูลเลอร์ดังแสดงภาพที่ 8
                                
                                     ภาพที่ 8 ติดตั้งโซลินอยด์วาล์วทองเหลืองและถังคูลเลอร์

    7)  ต่อวงจรเตือนและตัดปั๊มน้ำ ดังแสดงภาพที่ 9
                             
                                              ภาพที่ 9 ต่อวงจรเตือนและตัดปั๊มน้ำ

    8)  ติดตั้งกล่องและใส่ชุดวงจรและยึดติดกับโครง ดังแสดงภาพที่ 10
                                
                              ภาพที่ 10 ติดตั้งกล่องอุปกรณ์และใส่ชุดคิดและยึดติดกับโครง

    9)  ติด LED แสดงสถานะไว้กับฝาหน้าของเครื่อง ดังแสดงภาพที่ 11
                                
                                ภาพที่ 11 ติด LED แสดงสถานะไว้กับฝาหน้าของเครื่อง

    10)  ติดตั้งลูกลอยไฟฟ้าเข้ากับฝาบนของเครื่อง ดังแสดงภาพที่ 12
                                
                                 ภาพที่ 12 ติดตั้งลูกลอยไฟฟ้าเข้ากับฝาบนของเครื่อง

    11)  ติดตั้งอุปกรณ์ทั้งหมดเข้าด้วยกันและโยงสายไฟออกมา ดังแสดงภาพที่ 13
                           
                              ภาพที่ 13 ติดตั้งอุปกรณ์ทั้งหมดเข้าด้วยกันและโยงสายไฟออกมา

    12)  ประกอบฝาทุกด้านเข้าด้วยกัน ดังแสดงภาพที่ 14
                                
                                          ภาพที่ 14 ประกอบฝาทุกด้านเข้าด้วยกัน

    13)  กาต้มน้ำอัจฉริยะแบบเสร็จสมบูรณ์ ดังแสดงภาพที่ 15
                                
                                     ภาพที่ 15 กาต้มน้ำอัจฉริยะแบบเสร็จสมบูรณ์

6. ออกแบบเครื่องมือที่ใช้ประเมินประสิทธิภาพ
                                 แบบฟอร์มการตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถาม

              ตารางที่ 1  แบบฟอร์มการตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถามของผู้ทรงคุณวุฒิ
             

การวิเคราะห์เลือกคำถามจากผู้ทรงคุณวุฒิ

              ตารางที่ 
2  การวิเคราะห์เลือกคำถามจากผู้ทรงคุณวุฒิ
             

แสดงการคิดคำนวณค่า IOC
                   ข้อ 1   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                            มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                   ข้อ 2   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                            มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                   ข้อ 3   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                            มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                   ข้อ 4   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667
                            มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                   ข้อ 5   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                            มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                   ข้อ 6   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                            มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                   ข้อ 7   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                            มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                   ข้อ 8   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                            มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                   ข้อ 9   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667
                            มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                   ข้อ 10 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                             จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                             ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                             มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                   ข้อ 11 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                             จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                             ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                             มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                   ข้อ 12 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                             จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                             ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                             มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                   ข้อ 13 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                             จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                             ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                             มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                   ข้อ 14 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                             จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                             ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                             มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                   ข้อ 15 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                             จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                             ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                             มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้

                     แบบประเมินความพึงพอใจการพัฒนาเครื่องต้มน้ำร้อนอัจฉริยะ

        แบบประเมินผลความพึงพอใจการสร้างพัฒนาเครื่องต้มน้ำร้อนอัจฉริยะ เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ใช้ ที่มีต่อเครื่องต้มน้ำร้อนอัจฉริยะ ผลการประเมินของท่านจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปรับปรุงเครื่องต้มน้ำร้อนอัจฉริยะ ให้มีความสมบูรณ์และดียิ่งขึ้นไป

คำชี้แจง     แบบประเมินแบ่งออกเป็น 3 ตอน
                 ตอนที่ 1 เป็นข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
                 ตอนที่ 2 ความสะดวกในการใช้งานเครื่องต้มน้ำร้อนอัจฉริยะ  มีทั้งหมด 3 ด้านดังนี้
                        ด้านที่ 1 ด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม                                                                 ด้านที่ 2 ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน                            
                        ด้านที่ 3 ด้านความง่ายต่อการใช้งานโปรแกรม
                 ตอนที่ 3 เป็นข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่นๆ

ตอนที่ 1     เป็นข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
                 โปรดทำเครื่องหมาย  ลงใน  ที่อยู่หน้าข้อความที่เกี่ยวข้องกับผู้ประเมิน
1.  เพศ
           ชาย         หญิง
2.  อายุ
           ต่ำกว่า 15 ปี       16-20 ปี        20-25 ปี        26-30 ปี        สูงกว่า 30 ปี
3.  อาชีพของท่าน
           ไม่มีอาชีพ     เกษตรกร          ข้าราชการ      นักเรียน/นักศึกษา 
           อื่นๆ ระบุ..................................

ตอนที่ 2     เป็นแบบประเมินความพึงพอใจ ในการใช้เครื่องต้มน้ำร้อนอัจฉริยะ ซึ่งจะประเมินทั้งหมด 3 ด้าน ดังนี้
                        ด้านที่ 1 ด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม
                        ด้านที่ 2 ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน                        
                        ด้านที่ 3 ด้านความง่ายต่อการใช้งานโปรแกรม

คำชี้แจง        โปรดทำเครื่องหมาย  ลงในช่องที่ตรงกับความจริงมากที่สุด
                        5 หมายถึง          ในระดับดี มากที่สุด
                        4 หมายถึง          ในระดับดี มาก
                        3 หมายถึง          ในระดับดี ปานกลาง
                        2 หมายถึง          ในระดับดี น้อย
                        1 หมายถึง          ในระดับดี น้อยที่สุด

              ตารางที่ 3  แบบประเมินความพึงพอใจ ในการใช้เครื่องต้มน้ำร้อนอัจฉริยะ
             
 
9.3 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล
          โครงการครั้งนี้ เลือกนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์สาขาวิชา ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวะศึกษา เพื่อหาคำตอบของโครงการครั้งนี้โดยกำหนดเป็นขั้นตอนได้ดังนี้
                             
                       ภาพที่ 16  ผังแสดงกระบวนการวิเคราะห์ออกแบบเครื่องมือสำหรับการประเมิน

                                  
                                             ภาพที่ 17 การทดลองใช้เครื่องต้มน้ำร้อนอัจฉริยะ

                                    
                                           ภาพที่ 18 การทดลองใช้เครื่องต้มน้ำร้อนอัจฉริยะ
 
9.4 การวิเคราะห์ข้อมูล
1)  การวิเคราะห์คุณภาพของแบบประเมิณ
     การหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างแบบประเมินและวัตถุประสงค์                                                   
                            
            IOC   คือ ค่าดัชนีความสอดคล้อง(Index of Congruency)
            คือ ผลรวมคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
             N      คือ จำนวนผู้เชี่ยวชาญ
2)  การวิเคราะห์หาคุณภาพชุดการสอนจากผู้เชี่ยวชาญ
                               
                แทน คะแนนเฉลี่ย

           แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด

             N     แทน จำนวนข้อมูล
        3) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard Deviation)
                         
              S.D  คือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มตัวอย่าง  

             คือ ผลของคะแนนแต่ละตัวยกกำลังสอง

              คือ ผลรวมของคะแนนทั้งหมดยกกำลังสอง
                N        คือ จำนวนข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง
 
10. ผลของการวิจัย
          การวิเคราะห์ข้อมูล การพัฒนาและหาประสิทธิภาพเครื่องต้มน้ำร้อนอัจฉริยะมีการวิเคราะห์โดยแยกเป็นตอนตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาและผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยนำเสนอตามลำดับ ดังต่อไปนี้
 
           ผลการวิเคราะห์ข้อมูลนำเสนอรวม 6 ตอน ดังนี้
                        ตอนที่ 1  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของนวัตกรรม
                        ตอนที่ 2  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
                        ตอนที่ 3  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านโครงสร้าง
                        ตอนที่ 4  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านการใช้งาน                                          ตอนที่ 5  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านคุณค่าโดยสรุป
                        ตอนที่ 6  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมในภาพรวมทุกด้าน

ตอนที่ 1  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของนวัตกรรม
              ตารางที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของนวัตกรรม
             

           น้ำหนักของเครื่อง  คือ  น้ำหนักทั้งหมดของเครื่องจะมีน้ำหนักเหมาะสมเคลื่อนย้ายง่าย สะดวก
                                                
                                                      ภาพที่ 19 เครื่องต้มน้ำร้อนอัจฉริยะ

           ขนาดของเครื่อง  คือ ความกว้าง ความยาว และความสูง ของกาต้มน้ำร้อนอัจฉริยะ ซึ่งเมื่อสร้างเสร็จจะได้ความกว้าง50 เซนติเมตร ความยาว50 เซนติเมตร และความสูง150 เซนติเมตร
                                                  
                                                         ภาพที่ 20 เครื่องต้มน้ำร้อนอัจฉริยะ

ตอนที่ 2  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
              ตารางที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
             
              จากตารางที่ 5 พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทั้ง 20 คน เป็นเพศชาย 17 คน คิดเป็น 85% เพศหญิง 3 คน คิดเป็น 15% และอายุส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ 16-20 ปี คิดเป็น 100% ประสบการณ์ในการใช้โปรแกรมคิดเป็น 100%

ตอนที่ 3  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านโครงสร้าง
          ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้เครื่องต้มน้ำร้อนที่ผ่านการใช้ทดลอง การใช้เครื่องต้มน้ำร้อนอัจฉริยะด้านโครงสร้าง คือความแข็งของเครื่อง
              ตารางที่ 6 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านโครงสร้าง
             
               จากตารางที่ 6 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้กาต้มน้ำการใช้เครื่องต้มน้ำร้อนอัจฉริยะที่สร้างขึ้นด้านโครงสร้าง โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( =4.35) และเมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมิน พบว่า ทุกรายการประเมินอยู่ในระดับมาก โดยความพึงพอใจในการใช้เครื่อง การใช้เครื่องต้มน้ำร้อน ผู้ที่ผ่านการใช้กาต้มน้ำใช้เครื่องต้มน้ำร้อนอัจฉริยะ ที่สร้างขึ้นมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( = 4.65) และค่าเฉลี่ยที่น้อยที่สุด ( = 4.15)

ตอนที่ 4  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านการใช้งาน
          ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้เครื่องต้มน้ำร้อน ผู้ที่ผ่านการใช้เครื่องใช้เครื่องต้มน้ำร้อนอัจฉริยะ ในด้านการใช้งาน
              ตารางที่ 7 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านการใช้งาน
             
               จากตารางที่ 7 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้เครื่องต้มน้ำร้อนอัจฉริยะโดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( = 4.46)และเมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมิน พบว่า ทุกรายการประเมินอยู่ในระดับมาก โดยความพึงพอใจในการใช้สื่อการสอนการใช้เครื่องต้มน้ำร้อนอัจฉริยะที่สร้างขึ้นมามีค่าเฉลี่ยมากที่สุด( = 4.55)และค่าเฉลี่ยที่น้อยที่สุด( = 4.20)

ตอนที่ 5  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านคุณค่าโดยสรุป
          ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้สื่อการสอนการใช้เครื่องต้มน้ำร้อนอัจฉริยะ ผู้ที่ผ่านการใช้สื่อการสอนการใช้เครื่องต้มน้ำในด้านคุณค่าโดยสรุป
              ตารางที่ 8  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านคุณค่าโดยสรุป
             
               จากตารางที่ 8 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้เครื่องต้มน้ำร้อนอัจฉริยะ โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( = 4.47) และเมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมิน พบว่า ทุกรายการประเมินอยู่ในระดับมาก โดยความพึงพอใจในการใช้เครื่องต้มน้ำร้อนอัจฉริยะ ที่สร้างขึ้นมามีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( = 4.35)

ตอนที่ 6  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมในภาพรวมทุกด้าน
          สรุปภาพรวมผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจในการใช้เครื่องต้มน้ำร้อนอัจฉริยะที่สร้างขึ้น ดังนี้
              ตารางที่ 9  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมในภาพรวมทุกด้าน
             
                จากตารางที่ 9 ความพึงพอใจในการใช้กาต้มน้ำอัจฉริยะ โดยภาพรวมทุกด้าน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก  ( = 4.42) เมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมินในแต่ละด้าน พบว่า ด้านคุณค่าโดยสรุปมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ( = 4.47)
 
11. การอภิปรายผล หรือการวิจารณ์และสรุป
          จากการศึกษาและพัฒนาเครื่องต้มน้ำร้อนอัจฉริยะใช้เป็นอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวก พบว่าเครื่องต้มน้ำร้อนอัจฉริยะที่นำมาใช้สามารถนำไปใช้ได้ในทุกสภาพแวดล้อมได้จริง นั่นเพราะว่าสิ่งอำนวยความสะดวกในปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปมากตามยุคสมัยของเทคโนโลยีที่ทำให้สหกรณ์ ไม่สามารถนำเงินไปซื้ออุปกรณ์กาต้มน้ำที่มีราคาแพงได้ ซึ่งอุปกรณ์อำนวยความสะดวกก็สำคัญต่อชีวิตประจำวันไปด้วยความเร่งด่วนต้องการความสะดวกสบายดังนั้น การคิดสร้างเครื่องต้มน้ำร้อนอัจฉริยะจึงเป็นที่อำนวยความสะดวกและลดค่าใช้จ่ายของสหกรณ์ในแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ นอกจากความสำคัญของเครื่องแล้ว ยังมีความสะดวกในการใช้งานซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากประสิทธิภาพของเครื่องต้มน้ำร้อนอัจฉริยะโดยนักศึกษาได้ผ่านการเรียนรู้วิธีการใช้งานต้มน้ำ ซึ่งมีความรู้สึกสะดวกสบาย ช่วยลดปัญหา การต้มน้ำร้อนของเครื่องต้มน้ำ ต้องเติมน้ำบ่อยจนเกิดความคิดแบบง่ายโดยใช้เวลาเล็กน้อยและยังได้รับประสบการณ์ตรงจากของจริงเข้าใจความหมายของสิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้นด้านคุณค่าโดยสรุป นักเรียนมีความพึงพอใจโดยภาพรวมที่ดี มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก มีความพึงพอใจในเครื่องต้มน้ำร้อนอัจฉริยะสามารถใช้อำนวยความสะดวกได้จริงซึ่งสอดคล้องกับประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับของโครงการเป็นอย่างมาก รองลงมาคือ เครื่องต้มน้ำร้อนอัจฉริยะมีต้นทุนที่เหมาะสม
          โดยภาพรวมทุกด้านนักเรียนมีความพึงพอใจโดยภาพรวมที่สูง มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก มีความพึงพอใจในด้านคุณค่าโดยสรุปมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านโครงสร้าง และด้านการใช้งาน
 
12. ข้อเสนอแนะ
1  ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้
    1.1)  ก่อนเปิดสวิตช์ให้เครื่องเริ่มทำงานนั้นควรเติมปรับระดับน้ำให้สูงสุด จากนั้นค่อย เปิดสวิตช์ให้เครื่องเริ่มทำงาน
    1.2)  ไม่ควรนำเครื่องไปไว้ในที่อับ หรือที่ที่เปียกและมีความชื้นสูง
2  ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป
    2.1)  ควรเปลี่ยนปั้มน้ำให้มีขนาดที่ใหญ่ขึ้นเพราะว่าปั้มน้ำตัวเดิมนั้นดูดน้ำขึ้นไปสู่ถังต้มได้ช้า
 
13. บรรณานุกรม
การทำงานของกาต้มน้ำร้อน. [ออน-ไลน์]. สืบค้นวันที่ 25 มกราคม 2560.
            จาก : http://members.fortunecity.com/weerapong/spk2.htm
ทฤษฎีของปั้ม. [ออน-ไลน์]. สืบค้นวันที่ 26 มกราคม 2560
            จาก : http://www.sttv.ac.th/detail.php?module12=33&page=detail.php¤t=&all=
ทฤษฎีของวงจรเตือนและตัดปั๊มน้ำ. [ออน-ไลน์]. สืบค้นวันที่ 26 มกราคม 2560
             จาก : http://www.rmutphysics.com
ทฤษฎีของหม้อแปลง. [ออน-ไลน์]. สืบค้นวันที่ 28 มกราคม 2560
            จาก : http://www.rmutphysics.com/physics/oldfront/89/sound.html
แบบโครงเหล็ก. [ออน-ไลน์]. สืบค้นวันที่ 30 มกราคม 2560
            จาก : http://www.tiggersound.com
 
14. ประวัติผู้จัดทำโครงการ
                        

          ชื่อ-สกุล           นายชุติพนธ์ ยอดยิ่ง
          เกิดเมื่อวันที่        13 ตุลาคม 2539
          ที่อยู่ปัจจุบัน        28/5 ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่  54000 
          วุฒิการศึกษา      
ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 
                            สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ 
          รหัสนักศึกษา      
5831280026 
          เบอร์โทร           095-6767487
          อีเมล์              chutiphonjj@hotmail.co.th

                        

          ชื่อ-สกุล           นายวัชรพงษ์ จันทร์หมื่น
          เกิดเมื่อวันที่        19 ตุลาคม  2539
          ที่อยู่ปัจจุบัน        8/3 ม.5  ต.เวียงทอง  อ.สูงเม่น  จ.แพร่  54130
          วุฒิการศึกษา      ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 
                            
สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ 
          รหัสนักศึกษา  
    5831280038
          เบอร์โทร           086-3594293
          อีเมล์              icezaa_narak@hotmail.com


 
ลิงค์ Youtube vdo