ชื่อผู้ใช้  
จำรหัสผ่าน
 
 
บทความโครงการ นักศึกษา
1. ชื่อโครงการ การสร้างและพัฒนาเครื่องขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปอัตโนมัติสำหรับนักศึกษาแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์เพื่อความสะดวก
2. จัดทำโดย
    1. นายนนทชัย ศักดิ์ศรี
    2. นายพิเชษฐ์ สุกสีทอง
    3. นายณัฐวุฒิ พระคำลือ
3. อีเมล์
nontachai13@hotmail.com ,thechetza001@hotmail.com , asdzeer_1230@้hotmail.com
4. บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
     โครงการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพเครื่องขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปอัตโนมัติ สำหรับนักศึกษาแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา
การดำเนินการโครงการใช้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 20 คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ยและค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) โดยมีการสอนใช้เครื่องขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปอัตโนมัติในครั้งแรก จากนั้นจึงให้ทดลองใช้เครื่องขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปอัตโนมัติด้วยตนเอง เสร็จแล้วให้นักเรียนตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ ในการใช้เครื่องขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปอัตโนมัติ
ผลการดำเนินการวิจัย พบว่า เครื่องขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปอัตโนมัติ ที่สร้างขึ้น ผู้ใช้มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก โดยมีค่าเฉลี่ย 3.90
 
 
 
5. บทนำ
       ปัจจุบันรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้คนต้องแข่งขันกับเวลาอย่างรุนแรง ไม่ว่านักศึกษาคนที่ว่างงาน หรือประชาชนทั่วไปต่างต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เร่งรีบ อีกทั้งสภาพ เศรษฐกิจชะลอตัวเป็น ปัจจัยหนึ่งที่หลายคนหันมาบริโภคอาหารราคาประหยัดกันมากขึ้น ส่งผลกระทบให้ค่านิยมความต้องการอาหารที่ความสะดวกรวดเร็วและสามารถคลายความหิวใน ช่วงเวลาที่ไม่ใช่เวลารับประทานอาหาร หรือตามสถานที่ต่างๆ ที่ไม่เอื้ออำนวยในการซื้ออาหาร เช่น ระหว่างเดินทาง ร้านอาหารหยุดทำการ จึงทำให้อาหารกึ่งสำเร็จรูปมีบทบาทในชีวิตประจำวันอย่างมาก บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถตอบโจทย์วิถีชีวิตของคนในเมืองและผู้คนที่ อาศัยอยู่ย่านชานเมืองได้อย่างเหมาะสม หลายครอบครัวซื้อบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไว้ประจำบ้านด้วย เหตุผลที่ว่า เป็นอาหารพร้อมปรุงสามารถรับประทานได้อย่างทันที หรือ เป็นอาหารที่เหมาะสำหรับ พนักงานทั่วไปที่เงินใกล้จะหมดช่วงสิ้นเดือน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยังสามารถหาซื้อได้ทั่วไปจากร้านค้า ปลีก ซุปเปอร์มาเก็ต และโมเดิร์นเทรด อีกทั้งรสชาติที่หลากหลายถูกปากผู้บริโภค
      บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเป็นอาหารที่เข้ามาในประเทศไทยมาหลายปี โดยผู้ที่นำบะหมี่กึ่ง สำเร็จรูป มาม่า เข้ามาผลิตและจำหน่ายเป็นรายแรกคือ บริษัท ไทยเพรสซิเด้นท์ฟู้ด จำกัด (มหาชน) และอยู่คู่คนไทยมานานกว่า 30 ปีด้วยรสชาติที่หลากหลาย เช่น ซุปไก่ หมูสับ ต้มยำกุ้ง เย็นตาโฟ เป็ดพะโล้ผัดขี้เมา บะหมี่เจ เป็นต้น บรรจุภัณฑ์มีรูปแบบซอง โฟม และถ้วย โดยส่วนแบ่งการตลาด สูงที่สูดเป็นอันดับหนึ่ง คือ ร้อยละห้าสิบของตลาดรวมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปทั้งหมด รองลงมาคือ ไวไว ร้อยละ 26 (วันไทยอุตสาหกรรม . 2551) ถึงแม้ว่าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยี่ห้อมาม่าจะครองส่วนแบ่ง การตลาดเป็นอันดับหนึ่งและมีสินค้าหลากหลายรสชาติแต่มีเพียงบางรสชาติเท่านั้นที่สามารถขาย ติดตลาดและถูกปากผู้บริโภค บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยี่ห้อมาม่าได้ออกผลิตภัณฑ์มาม่าเส้นเหลืองถึง 25 รสชาติแต่มีเพียง 13 รสชาติเท่านั้นที่สามารถขายได้ในตลาด ปัจจุบัน ตัวอย่างรสชาติที่ไม่ประสบ ความสำเร็จ เช่น มาม่ารสชาเขียว มาม่าคุณหนูมาม่า เจแกงป่า
      การแข่งขันของตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเริ่มรุนแรงมาก และมีแนวโน้มในการเติบโตขึ้น กอปรกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่หดตัว ประชากรใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง ทำให้บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเป็นที่ ต้องการมากขึ้น ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้คาดการณ์ว่ายอดจำหน่ายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในปีนี้จะ ขยายตัวจากปี 2551 ประมาณ 5-6% จึงทำให้มีหลายยี่ห้อที่พยายามพัฒนาสินค้าเพื่อแย่งชิงส่วน แบ่งตลาด คู่แข่งที่สำคัญได้แก่ ไวไว ยำยำ รวมทั้งบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่เป็นตราสินค้าของเกาหลี และ ญี่ปุ่น
       ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาเรื่อง การทำตู้บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ผู้บริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยี่ห้อมาม่า ในวิทยาลัยเทคนิคแพร่ ซึ่งเป็นประโยชน์ ต่อผู้บริโภคมาม่าโดยไม่ต้องมายืนต่อแถวเลือกมาม่าหรือแย่งซื้อ
 
6. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.2  วัตถุประสงค์ของโครงการ
       1.2.1 เพื่อพัฒนาตู้บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปสำหรับการใช้งาน
       1.2.2 เพื่อหาประสิทธิภาพของตู้บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
7. ขอบเขตของการวิจัย
1.3.2  ด้านเนื้อหาในการวิจัย
                เรื่อง  การพัฒนาเครื่องขายมาม่าอัตโนมัติสำหรับนักเรียนนักศึกษาแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์เพื่อความสะดวก มีรายละเอียดเนื้อหาดังนี้
                1.  บอร์ด Arduino UNO R3
                2.  มอเตอร์
                3.  สายจั้ม
                4.  ท่อ PVC ขนาด 5 นิ้ว
                5.  สวิตซ์ปุ่มกด
                6. โปรแกรม Arduino
                7.  จอ LCD
                8. LED
       1.3.3  ด้านระยะเวลา
                ผู้วิจัยใช้เวลาดำเนินการวิจัย เริ่มวันที่ 16 พฤษาคม พ.ศ.2559 ถึงวันที่ 1มีนาคม พ.ศ. 2559
1.4  ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ
       1.4.1  ได้ตู้บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่มีประสิทธิภาพ
       1.4.2  ได้ตู้บะหมี่ที่มีราคาถูกกว่าท้องตลาด
       1.4.3  มีความสะดวกสบายต่อผู้ซื้อและผู้ขาย
 
8. สมมุติฐาน
การพัฒนาเครื่องขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปอัตโนมัติสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
9. วิธีดำเนินการวิจัย

                  
            ภาพที่ 3.1 ลำดับขั้นตอนการดำเนินโครงการ

                            
9.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
นักเรียนนักศึกษาภายในสาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ในวิทยาลัยเทคนิคแพร่ จำนวน 20 คน
9.2 สร้างเครื่องมือที่ใช้ในโครงการ

3.1  วิเคราะห์สภาพปัญหาหรือประมาณความต้องการของผู้ใช้นวัตกรรม
       เพื่อหาแนวทางแก้ไขปรับปรุงการสร้างหรือพัฒนานวัตกรรมให้สอดคล้องและสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โครงการสร้างเครื่องขายมาม่าอัตโนมัติ ศึกษาสภาพปัญหา พบว่า
       3.1.1  การชื้อมาม่าทุกครั้งต้องมีต้องมีแม่ค้าหรือพ่อค้ารอคืนตังทอนชื้อมาม่า
3.2  ศึกษาทฤษฏีและหลักการที่เกี่ยวข้อง
       ความเป็นมาของเครื่องขายมาม่าอัตโนมัติ
       บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมีต้นกำเนิดที่ประเทศจีนซึ่งเรียกว่า “รัวเมง” แต่ภาษาญี่ปุ่นออกเสียงเป็น”ราเมน” เส้นบะหมี่ถือเป็นสัญญาลักษณ์อันโดดเด่นของวัฒนธรรมของประเทศจีนเพราะเส้นที่ยาวหมายถึงอายุที่ยืนนานอาหารประเภทนี้จะมีการเสริฟกันในงานวันเกิดคนจีนเหมือนกับที่เค้กจะเป็นสัญญาลักษณ์ของวันเกิดของคนตะวันตก ราเมนเป็นที่นิยมชมชอบของคนเมืองซับโปโรที่เกาะฮอกไกโดที่อยู่ทางตอนเหนือของญี่ปุ่นถึงขั้นเป็นเมนูอาหารหลักกันทีเดียวราเมนถูกดัดแปลงให้เป็นบะหมี่สำเร็จรูปหรือinstantnoodle ซองแรกของโลกโดยฝีมือของชาวญี่ปุ่น คุณ Momofuku Ando "โมโมฟูกุอันกุ" ญี่ปุ่น ผู้ก่อตั้งบริษัทนิชชิน ฟู้ด  โดยเริ่มคิดค้น "บะหมี่สำเร็จรูป"เมื่อต้นเมื่อปีค.ศ. 1956ในสมัยหลังสงครามโลกคนญี่ปุ่นต้องกินขนมปังซึ่งต้องผลิต   จากแป้งที่มาจากอเมริกาคุณแอนโดรจึงพยายามผลิตบะหมี่ที่สามารถเก็บไว้กินได้นานขึ้นและสะดวกในการ
       3.3  กำหนดวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวกับการสร้างและพัฒนานวัตกรรม
      การสร้างและพัฒนาเครื่องขายมาม่าอัตโนมัติสำหรับนักเรียนนักศึกษาแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์เพื่อความสะดวก ใช้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

3.5   ออกแบบสร้างและพัฒนานวัตกรรม

ภาพที่  3.2 โครงสร้างตู้มาม่าอัตโนมัติ






แบบประเมินความพึงพอใจในการใช้เครื่องจ่ายบะหมี่อัตโนมัติหรับนักศึกษาแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์
 

     แบบประเมินการใช้เครื่องจ่ายบะหมี่อัตโนมัตินี้ จัดทำขึ้นเพื่อประเมินผลการทำงานของเครื่องตู้มาม่าอัตโนมัติ ในแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ ในวิทยาลัยเทคนิคแพร่ ผลการประเมินของทานจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปรับปรุงการทำงานของเครื่องบะหมี่อัตโนมัติให้สมบูรณ์และดียิ่งขึ้นไป
 
คำชี้แจง                    แบบประเมินแบ่งออกเป็น 3 ตอน
   ตอนที่ 1  เป็นข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
   ตอนที่ 2  ความสะดวกในการใช้งานเครื่องจ่ายบะหมี่อัตโนมัติสำหรับนักศึกษาแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์มีทั้งหมด 4 ด้าน ดังนี้
                    ด้านที่ 1  ด้านโครงสร้างของเครื่องจ่ายบะหมี่อัตโนมัติ ความแข็งแรงทนทาน
                   ด้านที่  2  ด้านการใช้งานเครื่องเครื่องจ่ายบะหมี่อัตโนมัติที่สร้างเสร็จแล้วไปใช้งาน
                   ด้านที่  3  ด้านความคุ้มค่าของค่าใช้จ่ายในการใช้งาน
                   ด้านที่ 4  คุณค่าโดยสรุป
   ตอนที่ 3  เป็นข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่นๆ

ตอนที่ 2  เป็นแบบประเมินความพึงพอใจ ในการใช้เครื่องบะหมี่จ่ายอัตโนมัติ ซึ่งประเมินทั้งหมด 4 ด้าน ดังนี้
     ด้านที่ 1  ด้านโครงสร้างของเครื่องจ่ายบะหมี่อัตโนมัติ ความแข็งแรงและทนทาน
     ด้านที่ 2  ด้านการใช้งานเครื่องจ่ายบะหมี่อัตโนมัติที่สร้างเสร็จแล้วไปใช้งาน
     ด้านที่ 3  ด้านความคุ้มค่าของค่าใช้จ่ายในการใช้งาน
     ด้านที่ 4  คุณค่าโดยสรุป
 
คำชี้แจง  โปรดทำเครื่องหมาย/ลงในช่องที่ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด
 



แบบประเมินประสิทธิภาพของเครื่องมาม่าอัตโนมัติ
   วิเคราะห์เปรียบเทียบประสิทธิภาพเครื่องจ่ายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปอัตโนมัติ ระหว่างความสมารถทางด้านการทำงานที่คาดคะเนกับคุณสมบัติของเครื่องที่ทำได้จริง ตามคุณสมบัติด้านเทคนิค ดังนี้
การวิเคราะห์เลือกคำถามจากผู้เชี่ยวชาญ

 
 
แสดงการคิดคำนวณค่า IOC
                   ข้อ  1  ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                              จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน
                              ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                              มีค่าต่ำกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ไม่ได้หรือควรปรับปรุง
ข้อ  2  ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2
                              จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน
                              ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.66
                              มีค่าต่ำกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ไม่ได้หรือควรปรับปรุง
 
ข้อ  3  ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 1
                              จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน
                              ค่า IOC เท่ากับ 1/3 = 0.33
                              มีค่าต่ำกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ไม่ได้หรือควรปรับปรุง
ข้อ  4  ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                              จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน
                              ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                              มีค่าต่ำกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ไม่ได้หรือควรปรับปรุง
ข้อ  5  ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                              จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน
                              ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                              มีค่าต่ำกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ไม่ได้หรือควรปรับปรุง
ข้อ  6  ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 1
                              จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน
                              ค่า IOC เท่ากับ 1/3 = 0.33
                              มีค่าต่ำกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ไม่ได้หรือควรปรับปรุง
ข้อ  7  ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2
                              จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน
                              ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.66
                              มีค่าต่ำกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ไม่ได้หรือควรปรับปรุง
ข้อ  8  ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                              จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน
                              ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                              มีค่าต่ำกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ไม่ได้หรือควรปรับปรุง
ข้อ  9  ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                              จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน
                              ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                              มีค่าต่ำกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ไม่ได้หรือควรปรับปรุง
ข้อ  10  ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                              จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน
                              ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                              มีค่าต่ำกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ไม่ได้หรือควรปรับปรุง

 
9.3 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูลผู้เสนอโครงการได้เลือกนักศึกษา ปวช.และปวส. จำนวน 20 คน มีทดลองใช้เครื่องเครื่องขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และตอบแบบสอบถาม ดังแสดงในภาพที่1



 
9.4 การวิเคราะห์ข้อมูล

 
10. ผลของการวิจัย
      การวิเคราะห์ข้อมูลการศึกษาการใช้เครื่องขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปอัตโนมัติ  มีการวิเคราะห์โดยแยกเป็นตอนตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาและผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยนำเสนอตามลำดับ ดังนี้
  การเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล
          ผลการวิเคราะห์ข้อมูลนำเสนอรวม 7 ตอนดังนี้
          ตารางที่1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของนวัตกรรม
          ตารางที่2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
          ตารางที่3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านโครงสร้าง
          ตารางที่4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมในการใช้งาน
          ตารางที่5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านความคุ้มค่า
          ตารางที่6 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านคุณค่า
          ตารางที่7 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมในภาพรวมทุกด้าน
 สัญลักษณ์ที่ใช้ในการแปรผลการวิเคราะห์ข้อมูล
              
 
 4.1  ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
        ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของนวัตกรรม
        ตารางแสดงการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของเครื่องขาย



ตอนที่ 2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
 
      
จากตารางที่4.2 พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด10คนเป็นเพศชาย 5 คน เพศหญิง5คน คิดเป็น50% และมีอายุส่วนใหญ่ ที่ระหว่าง 19-20 ปี คิดเป็น 40% รองลงมามีอายุระหว่าง 17-18 ปี คิดเป็น 30%
       
 ตอนที่3  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านโครงสร้าง
             ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้เครื่องขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบอัตโนมัติที่สร้างขึ้นสำหรับนักศึกษาแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ที่ผ่านการใช้เครื่องขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบอัตโนมัติ ด้านความแข็งแรงของเครื่อง มีดังนี้
 
 
   
   
   ตอนที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการด้านใช้งาน
                  ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้เครื่องขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบอัตโนมัติสำหรับนักศึกษาแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ที่ผ่านการใช้เครื่องขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบอัตโนมัติ ด้านการใช้งาน
 

       

ตอนที่5  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านคุณค่า
            ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้เครื่องฟักไข่อัตโนมัติทีสร้างขึ้นสำหรับนักศึกษาแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ที่ผ่านการใช้เครื่องขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบอัตโนมัติ ด้านความคุ้มค่า
 

  
  

ตอนที่6  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านคุณค่า
              ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้เครื่องขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบอัตโนมัติสำหรับนักศึกษาแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ที่ผ่านการใช้เครื่องขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบอัตโนมัติ ด้านคุณค่าโดยสรุป
 

 

 
 ตอนที่ 7 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมในภาพรวมทุกด้าน สรุปภาพรวมผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจในการใช้เครื่องขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบอัตโนมัติสำหรับนักศึกษาแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ที่ผ่านการใช้เครื่องขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบอัตโนมัติ ที่สร้างขึ้น ดังนี้
 
 

 
11. การอภิปรายผล หรือการวิจารณ์และสรุป
การสร้างและพัฒนาเครื่องขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปอัตโนมัติสำหรับนักเรียนนักศึกษาเพื่อความสะดวกสะดวก เป็นงานวิจัยประเภทสิ่งประดิษฐ์ที่คณะผู้จัดทำได้จัดทำขึ้นในการศึกษาวิชาโครงการ ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง ปีพุทธศักราช 2560 สาชางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครื่องขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปอัตโนมัติ ทำการทดลองจากนักเรียนนักศึกษาแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ สรุปผลการดำเนินงานวิจัย ปัญหาและข้อเสนอแนะและประโยชน์ที่ได้รับ ดังนี้
  
   5.1  สรุปผลการวิจัย
          5.1.1  การพัฒนาเครื่องขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป พบว่า เครื่องที่พัฒนาขึ้นมามีคุณสมบัติ ดังนี้มีความแข็งแรง น้ำหนักเบา ขนาดของเครื่องเหมาะสมตามที่ออกแบบ หยอดเหรียญแล้วมาม่าตกที่ช่องรับมาม่าได้จริง วัสดุที่ใช้สร้างมีความเหมาะสม สอดคล้องกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และมีประสิทธิภาพใกล้เคียงตู้ขายตามท้องตลาด อีกทั้งราคาถูกว่าท้องตลาด
          5.1.2  ความพึงพอใจของผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคในการใช้เครื่องขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปการพัฒนาเครื่องขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ด้านโครงสร้าง  พบว่า มีความพึงพอใจในวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้สร้างเครื่องขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบอัตโนมัติ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมามีความพึงพอใจความแข็งแรงของเครื่องขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบอัตโนมัติ รูปร่างของเครื่องมีความเหมาะสมและขนาดของเครื่องขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบอัตโนมัติ เรียงตามลำดับจากมากมาหาน้อย ( 4.30, 3.92, 3.50และ3.40)
          5.1.3  ความพึงพอใจของผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคในการใช้เครื่องขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปอัตโนมัติ ด้านการใช้งานโดยสรุปมีความสะดวกในการใช้งานเครื่องขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปโดยมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ใน ระดับดีมากที่สุด รองลงมาง่ายต่อการซื้อบะหมี่สำเร็จรูปและมีความปลอดภัยในการใช้เครื่องขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบอัตโนมัติ เรียงตามลำดับจากมากมาหาน้อย (4.30, 4.50และ4.60)
   5.2  การอภิปรายผล
       เครื่องขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปอัตโนมัติที่พัฒนาขึ้นมานั้น มีความเหมาะสมกับการใช้งาน มีความแข็งแรงของเครื่องขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบอัตโนมัติ ความสะดวกในการใช้งาน ซึ่งการพัฒนาเครื่องขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปอัตโนมัติสามารถใช้เป็นพื้นฐานในการศึกษาหลักการทำงานของ มอเตอร์พัดลม 220 V หลังจากการพัฒนาชิ้นงาน วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้มีความแข็งแรง ขนาดของเครื่องขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบอัตโนมัติกว้าง 40 เซนติเมตร สูง 70 เซนติเมตร มีความเหมาะสมและความสะดวกในการใช้งานโดยมีความปลอดภัยในการใช้เครื่อง และง่ายต่อการซื้อบะหมี่สำเร็จรูปสามารถใช้งานได้อย่างประสิทธิภาพ
       นอกจากนี้ยังมีจุดเด่นในเรื่องโปรแกรมที่มีทั้งในด้านตรงตามความต้องการของผู้ใช้ ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงานด้านรูปลักษณ์และความง่ายต่อการใช้งาน โปรแกรมสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานทุกอย่างตามที่ผู้จัดทำได้วิเคราะห์และออกแบบการทำงานของปุ่มกดสวิตซ์ ทำให้ผู้จัดทำได้เห็นถึงความสำคัญของการวิเคราะห์และออกแบบโปรแกรมและระบบควบคุมการทำงานเป็นอย่างมากเพราะในการออกแบบโปรแกรมและระบบควบคุมทุกครั้งจะต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้เป็นหลัก

 
12. ข้อเสนอแนะ
 5.3  ข้อเสนอแนะ
          5.3.1  ขอเสนอแนะในการนำไปใช้
                     (1)  ทำเครื่องให้มีขนาดให้เข้าประตูได้
                       (2)  ควรยกไปตั้งที่สหกรณ์ร้านค้า
 5.3.2  ข้อเสนอแนะเพื่องานวิจัยครั้งต่อไป
        (1)  ควรเพิ่มประสิทธิภาพให้ดีขึ้นโดยอาจจะเพิ่มความปลอดภัยให้มากกว่านี้
             (2)  ควรเพิ่มปริมาณช่องใส่มาม่าให้ใส่ได้มากกว่าเดิม
           (3)  ควรออกแบบด้านหน้าต่างของเครื่องให้เห็นมาม่าทุกรสที่ใส่และเพิ่มปุ่มกด
               
 
13. บรรณานุกรม
      เกี่ยวกับTF ความเป็นมาของมาม่า.  [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก http://www.mama.co.th/about.php.  (วันที่ค้นข้อมูล : 7 ธันวาคม 2559).
      Kattarin Jutipol.  (2555, 6 มิถุนายน).  โครงงานวิทยาศาสตร์(น้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูด).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จากhttp://miwkattarin.blogspot.com/.  (วันที่สืบค้นข้อมูล : 15 ธันวาคม 2559).
      PORNTIP.  (2552, 17 มิถุนายน).  การเขียนบรรณานุกรม.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก http://www.lib.nu.ac.th/nulibnet/index.php?topic=178.0.  (วันที่สืบค้นข้อมูล : 23 ธันวาคม 2559).
 
14. ประวัติผู้จัดทำโครงการ


ลิงค์ Youtube vdo