ชื่อผู้ใช้  
จำรหัสผ่าน
 
 
บทความโครงการ นักศึกษา
1. ชื่อโครงการ การสร้างและหาประสิทธิภาพแอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์
2. จัดทำโดย
    1. นายศรัณย์ ฟั่นเฟือย
    2. นายอนุสิทธิ์ จักรมา
    3.
3. อีเมล์
f_l_u_k_e_zzz@hotmail.com, kiss_aug007@hotmail.com
4. บทคัดย่อ
          โครงการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการสร้างแอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์เรื่อง การสร้างและหาประสิทธิภาพแอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ สำหรับการใช้ตรวจเช็คข้อมูลนักศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์ ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาประกอบด้วย โครงสร้างของแอพพลิเคชั่นเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลของนักเรียนและอาจารย์แผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยโครงสร้างแอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ และสามารถให้นักศึกษาได้เข้าไปเช็คข้อมูล เช่น เช็คผลการเรียน เช็คเวลาเรียน เช็คกิจกรรมต่างๆ เป็นต้น
          การดำเนินการโครงการใช้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1-2 สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 20 คนโดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย  และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) โดยมีการสอนให้นักเรียนใช้โปรแกรมแอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ แล้วทำการทดลองใช้โปรแกรมด้วยตัวเอง เสร็จแล้วให้นักเรียนตอบแบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้แอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์
          ผลการดำเนินการวิจัย พบว่า แอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ ที่สร้างขึ้น ผู้ใช้มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.36
 
5. บทนำ
          ปัจจุบันการศึกษาถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตอย่างมาก เพราะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ดังนั้นการจัดการศึกษาต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถที่จะปรับปรุงตัวเองให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างรวดเร็ว ถ้าหากได้รับการส่งเสริมให้มีระบบการเรียนรู้ที่ดี จะส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนโดยเฉพาะทางด้านคอมพิวเตอร์ที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีมากมายอย่างต่อเนื่องและมีส่วนในการพัฒนาประเทศในปัจจุบันที่คอมพิวเตอร์เข้าไปมีบทบาท จึงกล่าวได้ว่าการศึกษาทางด้านเทคนิคคอมพิวเตอร์เป็นส่วนสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรให้มีการเรียนการสอน
          เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ความสามารถโดยเฉพาะการสร้างแอพพลิเคชั่นซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของเทคโนโลยีในสมัยใหม่ ซึ่งการสร้างแอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ขึ้นเพื่อทำให้สะดวกในการใช้งาน สามารถตรวจสอบ กิจกรรมต่างๆ เช่นกิจกรรมหน้าเสาธง คะแนนวิชาเรียน การส่งงาน การสอบในเว็บ และเป็นที่สะดวกแก่ผู้ปกครองสามารถติดตามนักศึกษาได้เมื่ออยู่บ้านหรือสถานที่อื่นๆ
          ดังนั้น ผู้จัดทำจึงมีแนวคิดสร้างแอพพลิเคชั่นนี้ขึ้นมา เพื่อความสะดวกสบาย โดยใช้งานระบบออนไลน์ เพื่อลดเวลาตรวจเช็คจากเว็บโดยตรง และยังสามารถติดต่อกับครูที่ปรึกษาแต่ล่ะชั้นปีได้ มีข่าวสารกิจการต่างๆจากแผนกและวิทยาลัยผ่านทางโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนได้
 
6. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1)  เพื่อสร้างแอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์
2)  เพื่อหาประสิทธิภาพการใช้งานแอปพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์
 
7. ขอบเขตของการวิจัย
แอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ มีรายละเอียด ดังนี้
1.  ด้านเนื้อหา
     1.1 การเขียนและออกแบบแอพพลิเคชั่น
           (1) ใช้ภาษาจาวาในการเขียน
           (2) ใช้โปรแกรม Android studio
2.  ด้านขอบข่าย
     2.1  ความสามารถของแอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ มีคุณสมบัติดังนี้
สามารถตรวจเช็คผลการเรียน
            2.1.1  สามารถตรวจเช็คการส่งงานและแบบฝึกหัดแต่ละรายวิชา
            2.1.2  สามารถตรวจเช็คคะแนนสอบ
            2.1.3  สามารถดูข่าวสารจากทางวิทยาลัยและแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ได้
            2.1.4  สามารถตรวจเช็คกิจกรรมต่างๆ
                  (1)  กิจกรรมหน้าเสาธง
                  (2)  กิจกรรมโฮมรูม
                  (3)  กิจกรรมกลาง
                  (4)  กิจกรรมชมรม
                  (5)  กระบวนการฝึกงาน
     2.2  ด้านระยะเวลา ตลอดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559
     2.3  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง  ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ กลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษา มีจำนวน 20 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง
 
8. สมมุติฐาน
          แอพพลิเคชั่นแผนกคอมพิวเตอร์ สามารถใช้ตรวจสอบผลการเรียน เช็คกิจกรรมต่างๆ เช็คคะแนนสอบ การส่งงาน และคะแนนแบบฝึกหัดได้
 
9. วิธีดำเนินการวิจัย
   1 ) ศึกษาข้อมูลเพื่อเตรียมการโครงการ ผู้จัดทำได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการวิเคราะห์และออกแบบแอพพลิเคชั่นโดยภาษา Java ร่วมกับ MySQL
   2 ) วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวการทำงานของแอพพลิเคชั่นและกำหนดขอบเขตเพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน
   3 ) การสร้างและออกแบบ แอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์
   4 ) ทดสอบหาประสิทธิภาพของแอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ มีการใช้แบบประเมินประสิทธิภาพนวัตกรรมจากผู้เชี่ยวชาญ และแบบประเมินความพึงพอใจจากผู้ทดลองใช้
   5 ) กำหนดกลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์สาขาวิชา ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 20 คน วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง
   6 ) สอนการใช้งานแอพพลิเคชั่นให้กับที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง
   7 ) นักศึกษาทดลองใช้แอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์
 
9.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
          นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ กลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษา มีจำนวน 20 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง
 
9.2 สร้างเครื่องมือที่ใช้ในโครงการ
         การสร้างและหาประสิทธิภาพแอพพลิเคชั่นแผนกคอมพิวเตอร์ โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
                              
                                       ภาพที่ 1  ลำดับขั้นตอนการดำเนินโครงการ

1  วิเคราะห์สภาพปัญหาหรือประเมินความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม
2  ศึกษาทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้อง
3  กำหนดขอบเขตของโปรแกรม ทรัพยากร และฐานข้อมูลที่ใช้เขียนโปรแกรม
4  ออกแบบและสร้างแอพพลิเคชั่นแผนกคอมพิวเตอร์
    4.1  แผนผังการทำงานของโปรแกรม
                                 
                                                     ภาพที่ 2  แผนผังการทำงานของโปรแกรม

3.4.2  การทำงานของโปรแกรมฐานข้อมูลบริหารจัดการห้องเรียนคอมพิวเตอร์
                                                     
                                                   ภาพที่ 3  การทำงานของโปรแกรม

5  แอปพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ ที่สำเร็จแล้ว ซึ่งจะมี รูปแบบหน้าต่าง ดังนี้
    5.1  ภาพรวมของแอพพลิเคชั่น
           5.1.1  หน้าหลักของแอพพลิเคชั่น ดังแสดงในภาพที่ 4
                                           
                                  ภาพที่ 4  แสดงหน้าหลักของแอพลิเคชั่น

           5.1.2  หน้ายินดีต้อนรับ ดังแสดงในภาพที่ 5
                                           
                                            ภาพที่ 5  แสดงหน้ายินดีต้อนรับ

           5.1.3  หน้าสำหรับนักศึกษา ดังแสดงในภาพที่ 6
                                            
                                         ภาพที่ 6 แสดงหน้าสำหรับนักศึกษา

           5.1.4  หน้าเช็คคะแนนสอบตามรายวิชา ดังแสดงในภาพที่ 7
                                             
                                 ภาพที่ 7  แสดงหน้าเช็คคะแนนสอบตามรายวิชา

           5.1.5  หน้าเช็คงานที่ส่งรายวิชา ดังแสดงในภาพที่ 8
                                              
                                         ภาพที่ 8  แสดงหน้าเช็คงานที่ส่งรายวิชา

           5.1.5  หน้าเช็คแบบฝึกหัดที่ส่งรายวิชา ดังแสดงในภาพที่ 9
                                             
                                   ภาพที่ 9  แสดงหน้าเช็คแบบฝึกหัดที่ส่งรายวิชา

           5.1.6  หน้าเช็คเวลาเรียนรายวิชา ดังแสดงในภาพที่ 10
                                              
                                      ภาพที่ 10  แสดงหน้าเช็คเวลาเรียนรายวิชา

           5.1.7  หน้าเช็คผลการเรียนรายวิชา ดังแสดงในภาพที่ 11
                                             
                                     ภาพที่ 11  แสดงหน้าเช็คผลการเรียนรายวิชา

           5.1.8  หน้าหน้ากิจกรรมนักศึกษา ดังแสดงในภาพที่ 12
                                               
                                        ภาพที่ 12  แสดงหน้ากิจกรรมนักศึกษา

           5.1.9  หน้าผลกิจกรรมหน้าเสาธง ดังแสดงในภาพที่ 13
                                               
                                      ภาพที่ 13  แสดงหน้าผลกิจกรรมหน้าเสาธง

           5.1.10  หน้าผลกิจกรรมชมรม ดังแสดงในภาพที่ 14
                                               
                                          ภาพที่ 14  แสดงหน้าผลกิจกรรมชมรม

           5.1.11  หน้าผลผลกิจกรรมกลาง ดังแสดงในภาพที่ 15
                                               
                                         ภาพที่ 15  แสดงหน้าผลกิจกรรมกลาง

           5.1.12  หน้าผลกิจกรรมโฮมรูม ดังแสดงในภาพที่ 16
                                              
                                        ภาพที่ 16  แสดงหน้าผลกิจกรรมโฮมรูม

           5.1.13  หน้างานประชาสัมพันธ์ ดังแสดงในภาพที่ 17
                                              
                                       ภาพที่ 17  แสดงหน้างานประชาสัมพันธ์

5.2  การใช้งานแอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์
       5.2.1  แอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์โดยการเริ่มใช้งานแอพพลิเคชั่นจะต้องเข้าแอพพลิเคชั่นก่อนโดยได้ออกแบบ Icon ดังแสดงในภาพที่ 18
                                                       
                                 ภาพที่ 18  Icon ของแอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์

       5.2.2  คลิกที่ช่อง User เพื่อใส่รหัสประจำตัวนักศึกษา และช่อง Password ใส่รหัส Password ของนักศึกษา จากนั้นกดที่ Login ดังแสดงในภาพที่ 19
                                         
                                         ภาพที่  19  การล็อคอินเข้าระบบ (Login)

       5.2.3  เมื่อใส่รหัสผ่านหน้าล็อคอินมาเรียบร้อยแล้วหน้าต่อมาคือ หน้ายินดีต้อนรับ โดยจะมี 3 คอลัมน์ ให้เลือกดังแสดงในภาพที่ 20
                                         
                                     ภาพที่ 20  แสดงหน้ายินดีต้อรับ (Welcome)
 
              (1)  ผลของการคลิกที่ปุ่ม สำหรับนักศึกษา จะทำให้แสดงหน้าสำหรับนักศึกษา ดังแสดงในภาพที่ 21
                                         
                                         
                                   ภาพที่ 21  ผลของการคลิกที่ปุ่ม สำหรับนักศึกษา

                   (1.1)  ผลของการคลิกที่ปุ่ม เช็คคะแนนสอบตามรายวิชา จะทำให้แสดงหน้าเช็คคะแนนสอบตามรายวิชา ดังแสดงในภาพที่ 22
                                        
                                        
                         ภาพที่ 22  ผลของการคลิกที่ปุ่ม เช็คคะแนนสอบตามรายวิชา

                   (1.2)  ผลของการคลิกที่ปุ่ม เช็คงานที่ส่งรายวิชา จะทำให้แสดงหน้าเช็คเช็คงานที่ส่งรายวิชา ดังแสดงในภาพที่ 23
                                        
                                        
                              ภาพที่ 23  ผลของการคลิกที่ปุ่ม เช็คงานที่ส่งรายวิชา

                   (1.3)  ผลของการคลิกที่ปุ่ม เช็คแบบฝึกหัดที่ส่งรายวิชา จะทำให้แสดงหน้าเช็คแบบฝึกหัดที่ส่งรายวิชา ดังแสดงในภาพที่ 24
                                        
                                        
                         ภาพที่ 24  ผลของการคลิกที่ปุ่ม เช็คแบบฝึกหัดที่ส่งรายวิชา

                   (1.4)  ผลของการคลิกที่ปุ่ม เช็คแบบฝึกหัดที่ส่งรายวิชา จะทำให้แสดงหน้าเช็คแบบฝึกหัดที่ส่งราย วิชาดังแสดงในภาพที่ 25
                                        
                                        
                               ภาพที่ 25  ผลของการคลิกที่ปุ่ม เช็คเวลาเรียนรายวิชา

                   (1.4)  ผลของการคลิกที่ปุ่ม เช็คผลการเรียนรายวิชา จะทำให้แสดงหน้าเช็คผลการเรียนรายวิชา ดังแสดงในภาพที่ 26
                                       
                                        
                            ภาพที่ 26  ผลของการคลิกที่ปุ่ม เช็คผลการเรียนรายวิชา

              (2)  ผลของการคลิกที่ปุ่ม กิจกรรมของนักศึกษา จะทำให้แสดงหน้ากิจกรรมของนักศึกษา ดังแสดงในภาพที่ 27
                                        
                                       
                            ภาพที่ 27  ผลของการคลิกที่ปุ่ม เช็คผลการเรียนรายวิชา

                   (2.1)  ผลของการคลิกที่ปุ่ม กิจกรรมหน้าเสาธง จะทำให้แสดงหน้ากิจกรรมหน้าเสาธง ดังแสดงในภาพที่ 28
                                        
                                        
                                ภาพที่ 28  ผลของการคลิกที่ปุ่ม กิจกรรมหน้าเสาธง

                   (2.2)  ผลของการคลิกที่ปุ่ม ผลกิจกรรมชมรม จะทำให้แสดงหน้ากิจกรรมผลกิจกรรมชมรม ดังแสดงในภาพที่ 29
                                       
                                       
                                ภาพที่ 29  ผลของการคลิกที่ปุ่ม ผลกิจกรรมชมรม

                   (2.3)  ผลของการคลิกที่ปุ่ม ผลกิจกรรมกลาง จะทำให้แสดงหน้ากิจกรรมผลกิจกรรมกลาง ดังแสดงในภาพที่ 30
                                       
                                       
                                ภาพที่ 30  ผลของการคลิกที่ปุ่ม ผลกิจกรรมกลาง

                   (2.4)  ผลของการคลิกที่ปุ่ม ผลกิจกรรมโฮมรูม จะทำให้แสดงหน้าผลกิจกรรมโฮมรูม ดังแสดงในภาพที่ 31
                                      
                                      
                              ภาพที่ 31  ผลของการคลิกที่ปุ่ม ผลกิจกรรมโฮมรูม

              (3)  ผลของการคลิกที่ปุ่ม ข่าวสารประชาสัมพันธ์ จะทำให้แสดงหน้าผลข่าวสารประชาสัมพันธ์ ดังแสดงในภาพที่ 32
                                      
                                      
                           ภาพที่ 32  ผลของการคลิกที่ปุ่ม ข่าวสารประชาสัมพันธ์

6. ออกแบบเครื่องมือที่ใช้ประเมินประสิทธิภาพ
                                 แบบฟอร์มการตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถาม

              ตารางที่ 1  แบบฟอร์มการตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถามของผู้ทรงคุณวุฒิ
             

                                    การวิเคราะห์เลือกคำถามจากผู้ทรงคุณวุฒิ

              ตารางที่ 
2  การวิเคราะห์เลือกคำถามจากผู้ทรงคุณวุฒิ
             

แสดงการคิดคำนวณค่า IOC
                         ข้อ 1   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2
                                      จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                      ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667
                                      มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 2   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                                      จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                      ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667
                                      มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 3   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                                      จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                      ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667
                                      มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 4   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                                      จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                      ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                                      มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 5  ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                                      จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                      ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667
                                      มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 6  ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                                      จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                      ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667
                                      มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 7   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                                      จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                      ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                                      มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 8   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                                      จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                      ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                                      มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 9   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                                      จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                      ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                                      มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้     
                         ข้อ 10 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                                       จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                       ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                                       มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 11 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                                       จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                      ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667
                                      มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 12 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2
                                      จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                       ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                                       มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้

แบบประเมินความพึงพอใจในการใช้ โปรแกรมทำข้อสอบออนไลน์ แบบอัตนัย ถูกผิด และจับคู่

        แบบประเมินความคิดเห็นที่มีต่อโปรแกรมทำข้อสอบออนไลน์ แบบอัตนัย ถูกผิด และจับคู่ ระบบออนไลน์เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ใช้ ที่มีต่อโปรแกรมผลการประเมินของท่านจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปรับปรุงโปรแกรมให้มีความสมบูรณ์และดียิ่งขึ้นไป
 
คำชี้แจง         แบบประเมินแบ่งออกเป็น 3 ตอน
                         ตอนที่ 1 เป็นข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
                         ตอนที่ 2 ความสะดวกในการใช้งานโปรแกรมทำข้อสอบออนไลน์ มีทั้งหมด 3 ด้านดังนี้
                                ด้านที่ 1 ด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม                  
                                ด้านที่ 2 ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน                                                                                    ด้านที่ 3 ด้านความง่ายต่อการใช้งานโปรแกรม
                         ตอนที่ 3 เป็นข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่นๆ

ตอนที่ 1         เป็นข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
                         โปรดทำเครื่องหมาย ลงใน ที่อยู่หน้าข้อความที่เกี่ยวข้องกับผู้ประเมิน
1.  เพศ
             ชาย          หญิง
2.  อายุ
             ต่ำกว่า 15 ปี      16-20 ปี        20-25 ปี         26-30 ปี         สูงกว่า 30 ปี
3.  อาชีพของท่าน
             ไม่มีอาชีพ    เกษตรกร           ข้าราชการ     นักเรียน/นักศึกษา 
             อื่นๆ ระบุ..................................
 
ตอนที่ 2         เป็นแบบประเมินความพึงพอใจ ในการใช้โปรแกรมทำข้อสอบออนไลน์ แบบอัตนัย ถูกผิด และจับคู่ ซึ่งจะประเมินทั้งหมด 3 ด้าน ดังนี้
                                ด้านที่ 1 ด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม
                                ด้านที่ 2 ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน                                                                                     ด้านที่ 3 ด้านความง่ายต่อการใช้งานโปรแกรม                                                                                                                                                         
คำชี้แจง         โปรดทำเครื่องหมาย ลงในช่องที่ตรงกับความจริงมากที่สุด
                                5 หมายถึง             ในระดับดี มากที่สุด
                                4 หมายถึง             ในระดับดี มาก
                                3 หมายถึง             ในระดับดี ปานกลาง
                                2 หมายถึง             ในระดับดี น้อย
                                1 หมายถึง             ในระดับดี น้อยที่สุด

              ตารางที่ 3  แบบประเมินผลความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมฐานข้อมูลบริหารจัดการห้องเรียน
             
 
9.3 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล
          โครงการครั้งนี้ เลือกนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์สาขาวิชา ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวะศึกษา เพื่อหาคำตอบของโครงการครั้งนี้โดยกำหนดเป็นขั้นตอนได้ดังนี้
             
                      ภาพที่ 33  ผังแสดงกระบวนการวิเคราะห์ออกแบบเครื่องมือสำหรับการประเมิน

1.  การใช้โปรแกรม
     1.1  การใช้งานแอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ กับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพสูง (ปวส.) จำนวน 2 คน ดังแสดงในภาพที่ 34 ถึงภาพที่ 35
                                                     
                             ภาพที่ 34  การใช้งานแอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์

                                                      
                            ภาพที่ 35  การใช้งานแอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์

     1.2  การใช้งานแอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ กับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จำนวน 2 คน ดังแสดงในภาพที่ 36 ถึงภาพที่ 37
                                                      
                             ภาพที่ 36  การใช้งานแอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์

                                                      
                            ภาพที่ 37  การใช้งานแอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์
 
9.4 การวิเคราะห์ข้อมูล
1)  การวิเคราะห์คุณภาพของแบบประเมิณ
     การหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างแบบประเมินและวัตถุประสงค์                                                   
                            
            IOC   คือ ค่าดัชนีความสอดคล้อง(Index of Congruency)
            คือ ผลรวมคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
             N      คือ จำนวนผู้เชี่ยวชาญ
2)  การวิเคราะห์หาคุณภาพชุดการสอนจากผู้เชี่ยวชาญ
                               
                แทน คะแนนเฉลี่ย

           แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด

             N     แทน จำนวนข้อมูล
        3) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard Deviation)
                         
              S.D  คือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มตัวอย่าง  

             คือ ผลของคะแนนแต่ละตัวยกกำลังสอง

              คือ ผลรวมของคะแนนทั้งหมดยกกำลังสอง
                N        คือ จำนวนข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง
 
10. ผลของการวิจัย
          การวิเคราะห์ข้อมูล การสร้างและหาประสิทธิภาพแอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ มีการวิเคราะห์โดยแยกเป็นตอนตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาและผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยนำเสนอตามลำดับ ดังต่อไปนี้
 
           ผลการวิเคราะห์ข้อมูลนำเสนอรวม 5 ตอน ดังนี้
                               ตอนที่ 1  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
                               ตอนที่ 2  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านตรงตามความต้องการของผู้ใช้
                               ตอนที่ 3  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน
                               ตอนที่ 4  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านรูปลักษณ์และความง่ายยากต่อการใช้งาน
                               ตอนที่ 5  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมในภาพรวมทุกด้าน

ตอนที่ 1  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
              ตารางที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
             
               จากตารางที่ 4.1 พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทั้ง 20  คน เป็นเพศชาย 18 คน คิดเป็น 90% เพศหญิง 2 คน คิดเป็น 10% และอายุส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ 16-20 ปี คิดเป็น 100% ประสบการณ์ในการใช้โปรแกรมคิดเป็น 100%

ตอนที่ 2  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านตรงตามความต้องการของผู้ใช้
          ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้แอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ ด้านการตรงตามความผู้ใช้งาน คือในแต่ละฟอร์มการทำงานของโปรแกรมตรงตามความต้องการใช้งานของผู้ใช้ เหมาะกับการใช้งานโปรแกรมแอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์
              ตารางที่ 5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านตรงตามความต้องการของผู้ใช้
             
              จากตารางที่ 4.2 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมแอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ ด้านการตรงตามความต้องการผู้ใช้งาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก(   = 4.21) และเมื่อพิจารณาเป็นรายประเมิน พบว่า ความสามารถของโปรแกรมในการใช้งานของผู้ใช้และ ความสามารถของโปรแกรม ประเมินอยู่ในระดับมากและความสามารถของโปรแกรมในความสะดวก ประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด โดยความพึงพอใจในความสามารถของโปรแกรมส่วนการแสดงของเนื้อหาโปรแกรมแอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ เป็นรายการประเมินอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย (  = 4.53) และค่าเฉลี่ยที่น้อยที่สุดคือ (  = 4.22)

ตอนที่ 3  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน
          ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้แอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ การทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน คือโปรแกรมมีความสะดวกในการใช้งานใช้งานได้อย่างคล่องแคล่วรวดเร็ว
              ตารางที่ 6 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน
             
               จากตารางที่ 4.3 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้การใช้แอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก (  = 4.32) และเมื่อพิจารณาเป็นรายประเมิน พบว่า โปรแกรมที่สร้างมีแสดงเนื้อหาชัดเจนกับการใช้งานจริง โปรแกรมมีระบบป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น ความเร็วในการประมวลผลของโปรแกรมและความน่าเชื่อถือของโปรแกรม  อยู่ในระดับมาก และความน่าเชื่อถือของโปรแกรม มากที่สุด โดยความพึงพอใจในความถูกต้องของผลลัพธ์ที่ได้จากกาการใช้แอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ สะดวกต่อการใช้งานของผู้ใช้แสดงเนื้อหาชัดเจน เป็นรายการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย(  = 4.55) และค่าเฉลี่ยที่น้อยที่ดคือ (  = 4.41)

ตอนที่ 4  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านรูปลักษณ์และความง่ายยากต่อการใช้งาน
         ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้การใช้แอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ ด้านรูปลักษณ์และความง่ายยากต่อการใช้งาน คือในส่วนของรูปร่าง ลักษณะโปรแกรมใช้งานได้ง่าย และข้อความที่ใช้ในการแสดงผลสามารถเข้าใจได้ง่าย
              ตารางที่ 7 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านรูปลักษณ์และความง่ายต่อการใช้งาน
             
               จากตารางที่ 4.4 พบว่า ความพึงพอใจในความพึงพอใจในการใช้การใช้แอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ ด้านรูปลักษณ์และความง่ายต่อการใช้งาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก (  = 4.46) และเมื่อพิจารณาเป็นรายประเมิน พบว่า ความเหมาะสมในการเลือกใช้ชนิด ขนาด ตัวอักษรบนโปรแกรมและความเหมาะสมในการใช้ข้อความที่ชัดเจน ประเมินอยู่ในระดับมาก ความเหมาะสมในการใช้ขนาดหน้าจอที่เหมาะสมพอดีและความเหมาะสมในการใช้งานสะดวก ประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด โดยความพึงพอใจในความเหมาะสมในการใช้สัญลักษณ์หรือรูปภาพในการสื่อความหมาย เป็นรายการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (  = 4.62) และค่าเฉลี่ยที่น้อยที่สุดคือ (  = 4.42)

ตอนที่ 5  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมในภาพรวมทุกด้าน
          สรุปภาพรวมผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจในการใช้แอพพลิเคชั่นแผนกคอมพิวเตอร์ มีดังนี้
              ตารางที่ 8  แสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมในภาพรวมทุกด้าน
             
              จากตารางที่ 4.5 ความพึงพอใจในการการใช้การใช้โปรแกรมแอพพลิเคชั่นแผนกคอมพิวเตอร์ โดยภาพรวมทุกด้าน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับ มาก  (   =4.36) เมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมินในแต่ละด้าน พบว่า ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ (  = 4.44) และค่าเฉลี่ยที่น้อยที่สุด  (  = 4.32)
 
11. การอภิปรายผล หรือการวิจารณ์และสรุป
          จากผลการสร้างและหาประสิทธิภาพแอพพลิเคชั่นแผนกคอมพิวเตอร์ พบว่าแอพพลิเคชั่นแผนกคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานได้จริงและเป็นประโยชน์ต่อการตรวจเช็คข้อมูล และมีความสะดวกต่อการใช้งานของผู้ใช้ จุดเด่นของโปรแกรมคือโปรแกรมสามารถใช้ได้ตามความต้องการของผู้ใช้ในการตรวจสอบข้อมูลนักศึกษาและข้อมูลข่าวสารได้ เป็นการสร้างแอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์เพื่อความสะดวกกว่าการเข้าไปใช้งานของเว็บแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ จุดด้อยของโปรแกรมจากข้อเสนอแนะของกลุ่มประชากรตัวอย่างและจากผลการใช้งานทำให้สรุปข้อด้อยของโปรแกรมที่ได้ คือ ตัวอักษรควรเพิ่มให้ขนาดใหญ่ขึ้นและการจัดรูปแบบโครงสร้างให้ดีขึ้นในการตกแต่งควรตกแต่งให้สวยงาม
          โปรแกรมสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานทุกอย่างตามที่ผู้จัดทำได้วิเคราะห์และออกแบบระบบของแอพพลิเคชั่น ทำให้ผู้จัดทำได้เห็นถึงความสำคัญของการวิเคราะห์และออกแบบระบบเป็นอย่างมากเพราะในการออกแบบระบบทุกครั้งจะต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้เป็นหลัก
 
12. ข้อเสนอแนะ
1)  ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้
     1.1)  ควรฟังคำแนะนำจากอาจารย์ผู้ที่ให้ใช้แอพพลิเคชั่นแผนกคอมพิวเตอร์
     1.2)  ควรศึกษาขั้นตอนการสร้างแอพพลิเคชั่นก่อน
2)  ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป
     2.1)  ควรเพิ่มรายละเอียดความยากง่ายของแอพพลิเคชั่นในการเขียนโปรแกรม
     2.2)  ในการออกแบบโปรแกรมควรคำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้เป็นส่วนใหญ่
 
13. บรรณานุกรม
กิตติชัย ปิ่นเลิศ. Application Android Development 2559. [ออน-ไลน์].
แหล่งที่มา : https:// pinlert.wordpress.com -android/
พงษ์พันธ์ ฐานหมั่น. JAVA programming. 2554 : [ออน-ไลน์].
แหล่งที่มา : http://pongpun-art.blogspot.com/2011/03/java-intorducing-java.html
ภรณ์ทิพย์   ยังกลาง. ระบบปฏิบัติการ Androidนครราชสีมา : [ออน-ไลน์].
แหล่งที่มา : https://sites.google.com/site/pornthipya/prawati-phu-cad-tha  
ศุภกิจ ทองดี. รู้จักกับแอนดรอยด์.  : [ออน-ไลน์].
แหล่งที่มา : http://www.sourcecode.in.th/articles.php?id=71
อรพิน ประวัติริสุทธิ์. เรียนรู้ภาษาจาวา. 2556. [ออน-ไลน์].
แหล่งที่มา : http://java-sample-thai.blogspot.com/
 
14. ประวัติผู้จัดทำโครงการ
                               

ชื่อ-สกุล            
นายศรัณย์  ฟั่นเฟือย
เกิดเมื่อวันที่         5 เมษายน 2539
ที่อยู่ปัจจุบัน         6/4 ม.4 ต.ช่อแฮ อ.เมือง จ.แพร่ 54000
วุฒิการศึกษา        จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
                    สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์
                    ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
                    สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์
เบอร์โทร             099-02629-7
อีเมล์                f_l_u_k_e_zzz@hotmail.com
อาจารย์ที่ปรึกษา      ว่าที่ร้อยตรี ธีรพงศ์  วงศ์ตวัน

                               

ชื่อ-สกุล            นายอนุสิทธิ์ จักรมา
เกิดเมื่อวันที่         19 กุมภาพันธ์ 2540
ที่อยู่ปัจจุบัน         89 หมู่ 7 ตำบลแม่พุง อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ 54160
วุฒิการศึกษา        จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
                    สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์
                    ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
                    สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์
เบอร์โทร             0997453521
อีเมล์                kiss_aug007@hotmail.com
อาจารย์ที่ปรึกษา      ว่าที่ ร้อย ตรี ธีรพงศ์  วงศ์ตวัน
 
ลิงค์ Youtube vdo