ชื่อผู้ใช้  
จำรหัสผ่าน
 
 
บทความโครงการ นักศึกษา
1. ชื่อโครงการ การสร้างและหาประสิทธิภาพเครื่องติดต่อสื่อสารภายในโดยใช้คลื่นวิทยุ
2. จัดทำโดย
    1. นายภูชิต ปลงใจ
    2. นายอนุชา หาญสายพา
    3.
3. อีเมล์
sananobeku@outlook.co.th , Hansaipha.300@gmail.com
4. บทคัดย่อ
          โครงการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อช่วยในการติดต่อสื่อสารภายในแผนกให้มีความสดวกและรวดเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลข่าวสารระหว่างผู้รับและผู้ส่งขณะอยู่คนละห้องเรียน
          การดำเนินการโครงการใช้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวส.)สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 20 คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย  และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) โดยมีการสอนใช้เครื่องติดต่อสื่อสารในครั้งแรก จากนั้นจึงให้ทดลองใช้เครื่องติดต่อสื่อสารด้วยตนเอง เสร็จแล้วให้นักเรียนตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 20 ชุดในการใช้โปรแกรมสื่อการเรียนการสอน ผลการดำเนินการวิจัย พบว่า เครื่องติดต่อสื่อสารภายในแผนกโดยใช้ระบบคลื่นวิทยุที่สร้างขึ้น ผู้ใช้มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.39
 
5. บทนำ
           ปัจจุบันการติดต่อสื่อสารภายในองค์กร หรือสำนักงานมีการพัฒนาขึ้นมากมายหลายรูปแบบและนิยมใช้กันทั่วไปเช่น โทรศัพท์, อินเตอร์เน็ทและวิทยุต่างๆ แต่เมื่อเราจะนำวิทยุสื่อสารมาใช้ภายในอาคารของสถานศึกษาซึ่งอาจมองอีกมุมว่าไม่จำเป็นเลยเพราะว่ามีโทรศัพท์มือถือส่วนตัวก็สามารถติดต่อกันได้แล้วหรือแค่ระยะทางใกล้ๆเดินไปหาก็ไม่ลำบากอีกอย่างการใช้วิทยุสื่อสารจำเป็นต้องมีหนังสือรับรองจากสมาคมวิทยุสมัครเล่นที่ทำหน้าที่บริหารสถานีวิทยุสมัครเล่นควบคุมข่ายในพื้นที่นั้นๆ
          จากการที่ได้ประสบการณ์การฝึกงานพบว่าการติดต่อสื่อสารมีอยู่มากมายหลายทาง ส่วนใหญ่ระบบติดต่อสื่อสารขององค์กรใหญ่ๆจะมีต้นทุนในการสร้างสูง แต่ยังระบบวิทยุที่มีต้นทุนในการสร้างไม่สูงและมีคลื่นวิทยุที่สามารถใช้ได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ทางผู้จัดทำจึงได้ศึกษาและค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อมาประยุกต์ใช้งานพัฒนาระบบติดต่อสื่อสารภายในแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
          ดังนั้นการสร้างและหาประสิทธิภาพการติดต่อสื่อสารภายในโดยใช้คลื่นวิทยุจึงเข้ามาทดแทนการสื่อสารในส่วนของการสื่อสารทางโทรศัพท์และการเดินไปมาหากันของคณะครูอาจารย์ซึ่งมีคุณสมบัติในการส่งคลื่นวิทยุในคลื่นความถี่ 27 MHz ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีหนังสือรับรองจากสมาคมวิทยุสมัครเล่น และยังสามรถลดค่าใช้จ่ายขอโทรศัพท์และไม่เสียเวลาของคณะครูอาจารย์ในการเดินไปมาหากัน
6. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
  1)  เพื่อสร้างระบบติดต่อสื่อสารภายในแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์โดยใช้คลื่นวิทยุ
  2)  เพื่อหาประสิทธิภาพระบบติดต่อสื่อสารภายในแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์โดยใช้คลื่นวิทยุ
 
7. ขอบเขตของการวิจัย
การสร้างและหาประสิทธิภาพเครื่องติดต่อสื่อสารภายในโดยใช้คลื่นวิทยุ มีรายละเอียด ดังนี้
1.  ด้านเนื้อหา        
     1.1 ความถี่วิทยุ
     1.2 ชื่อย่านความถี่วิทยุ
     1.3 ตัวต้านทาน
     1.4 เสาอากาศ
     1.5 ตัวเก็บประจุ
     1.6 การแพร่กระจายคลื่นวิทยุ
     1.7 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวิทยุคมนาคม
     1.8 กฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับเครื่องวิทยุคมนาคม
2.  ด้านขอบข่าย
     2.1  ความสามารถของเครื่องติดต่อสื่อสารมีคุณสมบัติดังนี้
           (1)  วงจรรับส่งสัญญาณวิทยุที่สามารถรับคลื่น 27 MHz ได้
           (2)  วงจรรับและส่งสัญญาณวิทยุต้องอยู่ในกล่องที่ได้สัดส่วนที่เหมาะสม
3.  ด้านระยะเวลา
     ตลอดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559
4.  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง  ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ กลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษา มีจำนวน 20 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง
8. สมมุติฐาน
          เครื่องติดต่อสื่อสารภายในโดยใช้คลื่นวิทยุ สามารถใช้งานได้จริงและสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์
9. วิธีดำเนินการวิจัย
   1 ) ศึกษาข้อมูลเพื่อเตรียมการโครงการ ผู้จัดทำได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับคลื่นวิทยุและกฎหมายเกี่ยวกับการใช้วิทยุสื่อสาร เพื่อใช้งานในการพัฒนาเครื่องติดต่อสื่อสาร
   2 ) วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวการทำงานในส่วนต่างๆของตัวโครงงานและกำหนดขอบเขตเพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน
   3 ) การสร้างและออกแบบ เครื่องติดต่อสื่อสารภายในโดยใช้คลื่นวิทยุ
   4 ) ทดสอบหาประสิทธิภาพของเครื่องติดต่อสื่อสารภายในโดยใช้คลื่นวิทยุมีการใช้แบบประเมินประสิทธิภาพนวัตกรรมจากผู้เชี่ยวชาญ และแบบประเมินความพึงพอใจจากผู้ทดลองใช้
   5 ) กำหนดกลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์สาขาวิชา ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 20 คน วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง
   6 ) สอนการใช้งานตัวเครื่องให้กับกลุ่มตัวอย่าง
   7 ) นักศึกษาทดลองใช้งานการพัฒนาเครื่องติดต่อสื่อสารภายในโดยใช้คลื่นวิทยุ
9.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
          นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ กลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษา มีจำนวน 20 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง
9.2 สร้างเครื่องมือที่ใช้ในโครงการ
          การสร้างและหาประสิทธิภาพระบบติดต่อสื่อสารภายในแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์โดยใช้คลื่นวิทยุ มีขั้นตอนการออกแบบ โดยละเอียดดังนี้ 
                                              
                                            
                                            ภาพที่ 1  ลำดับขั้นตอนการดำเนินโครงการ

1.  วิเคราะห์สภาพปัญหาหรือประเมินความต้องการของผู้ใช้ผู้ใช้นวัตกรรม
2.  ศึกษาทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้อง
3.  กำหนดวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวกับการสร้างและพัฒนานวัตกรรม
4.  หาข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและพัฒนาวัตกรรม
5.  การสร้างเครื่องติดต่อสื่อสารภายในโดยคลื่นวิทยุ
    1)  เจาะรูใส่ Speaker เพื่อใช้ในการฟังเเละพูด ดังแสดงในภาพที่ 2
                                               
                                               ภาพที่ 2 เจาะรูใส่ Speaker

    2)  ทำการเจาะรูเล็กๆสองรูเพื่อใช้ต่อสายสัญญาณลำโพง ดังแสดงในภาพที่ 3
                                           
                                   ภาพที่ 3 เจาะรูเล็กสองรูเพื่อใช้ต่อสายสัญญาณลำโพง

    3)  ทำการเจาะรูอีกฝังของกล่องพลาสติกเพื่อต่อสายไฟ AC 220 V ดังแสดงในภาพที่ 4
                                  
                              ภาพที่ 4 ทำการเจาะรูอีกฝังของกล่องพลาสติกเพื่อต่อสายไฟ AC 220 V

    4)  เจาะรูเพิ่มเพื่อใช้ในการเชื่อมต่อสายสัญญาณกับเสาอากาศขนาด 9 ท่อน ดังแสดงในภาพที่ 5
                                
                          ภาพที่ 5 เจาะรูเพิ่มเพื่อใช้ในการเชื่อมต่อสายสัญญาณกับเสาอากาศขนาด 9 ท่อน

    5)  จากนั้นใช้คีมตัดเเต่งด้านในกล่องพลาสติกให้เรียบเพื่อใช้ในการวางอุปกรณ์ ดังแสดงในภาพที่ 6
                               
                          ภาพที่ 6 ใช้คีมตัด ตัดเเต่งด้านในกล่องพลาสติกให้เรียบเพื่อใช้ในการวางอุปกรณ์

    6)  นำหม้อแปลง 220 V มายึดติดกับกล่องพลาสติก ดังแสดงในภาพที่ 7
                               
                                 ภาพที่ 7 นำหม้อแปลง 220 V มายึดติดกับกล่องพลาสติก

    7)  นำวงจร Regulator มายึดกับกล่องพลาสติก ดังแสดงในภาพที่ 8
                          
                                   ภาพที่ 8 นำวงจร Regulator มายึดกับกล่องพลาสติก

    8)  นำวงจรเครื่อรับ-ส่งสัญญาณวิทยุ มายึดติดกับกล่องพลาสติก ดังแสดงในภาพที่ 9
                              
                              ภาพที่ 9 นำวงจรเครื่อรับ-ส่งสัญญาณวิทยุ มายึดติดกับกล่องพลาสติก
 
    9)  จากนั้นทำการบัดกรีสายตามจุดต่างๆเพื่อทำให้เครื่องทำงาน ดังแสดงในภาพที่ 10
                             
                               ภาพที่ 10 ทำการบัดกรีสายตามจุดต่างๆเพื่อทำให้เครื่องทำงาน
    10)  นำสายไฟ AC สอกเข้ารูที่เจาะเตรียมไว้ตั้งเเต่เเรก พร้อมทั้งบัดกรียึดกับหม้อแปลง 220 V ดังแสดงในภาพที่ 11
                               
                               ภาพที่ 11 นำสายไฟ AC สอกเข้ารูที่เจาะเตรียมไว้ตั้งเเต่เเรก

    11)  นำเสาสัญาณมาต่อเข้ากับวงจร เพื่อใช้ในการรับส่งสัญญาณ ดังแสดงในภาพที่ 12
                                 
                               ภาพที่ 12 นำเสาสัญาณมาต่อเข้ากับวงจร เพื่อใช้ในการรับส่งสัญญาณ

    12)  ทำการเจาะฝากล่องพลาสติก เพื่อนำสวิตกดติดปล่อยดับมาใช้เป็นเสียงกริ่งเรียก ดังแสดงในภาพที่ 13
                                 
                               ภาพที่ 13 ทำการเจาะฝากล่องพลาสติก เพื่อนำสวิตกดติดปล่อยดับมาใช้เป็นเสียงกริ่งเรียก

    13)  ยึดลำโพงเข้ากลับกล่องพลาสติก เพื่อใช้ในการรับฟัง ดังแสดงในภาพที่ 14
                                 
                               ภาพที่ 14 ยึดลำโพงเข้ากลับกล่องพลาสติก เพื่อใช้ในการรับฟัง

    14)  เครื่องติดต่อสื่อสารโดยใช้ระบบคลื่นวิทยุเสร็จสมบูรณ์ ดังแสดงในภาพที่ 15
                                 
                               ภาพที่ 15 เครื่องติดต่อสื่อสารโดยใช้ระบบคลื่นวิทยุเสร็จสมบูรณ์

6. ออกแบบเครื่องมือที่ใช้ประเมินประสิทธิภาพ
                                  แบบฟอร์มการตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถาม
          ตารางที่ 1  แบบฟอร์มการตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถามของผู้ทรงคุณวุฒิ        
        

                                 การวิเคราะห์เลือกคำถามจากผู้ทรงคุณวุฒิ
              ตารางที่ 2  
การวิเคราะห์เลือกคำถามจากผู้ทรงคุณวุฒิ
             
        แสดงการคิดคำนวณค่า IOC
                   ข้อ 1   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.0667
                            มีค่า  ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                   ข้อ 2   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.0667
                            มีค่า  ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                   ข้อ 3   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 2/3 =0.0667
                             มีค่า ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                   ข้อ 4   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 2/3 =0.0667
                            มีค่า  ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                   ข้อ 5   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 2/3 =0.0667
                            มีค่า ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                   ข้อ 6   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 2/3 =0.0667
                            มีค่า  ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                   ข้อ 7   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 2/3 =0.0667
                            มีค่า ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                   ข้อ 8   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 2/3 =0.0667
                            มีค่า ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                   ข้อ 9   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                            มีค่า ถือว่าคำถามข้อนี้ ใช้ได้
                   ข้อ 10 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2
                             จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                             ค่า IOC เท่ากับ 2/3 =0.0667
                             มีค่า ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้

                         แบบประเมินความพึงพอใจในการใช้เครื่องติดต่อสื่อสารภายในแผนก
                                           โดยใช้สัญญาณคลื่นวิทยุ

          แบบประเมินความคิดเห็นที่มีต่อการใช้งานของเครื่องติดต่อสื่อสารภายในโดยใช้สัญญาณคลื่นวิทยุ ผลการประเมินของท่านจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปรับปรุงเครื่องติดต่อสื่อสารให้มีความสมบูรณ์และดียิ่งขึ้นไป
 
คำชี้แจง        แบบประเมินแบ่งออกเป็น 3 ตอน
                   ตอนที่ 1 เป็นข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
                   ตอนที่ 2 ความสะดวกในการใช้งานเครื่องติดต่อสื่อสาร มีทั้งหมด 3 ด้านดังนี้
                               ด้านที่ 1 ด้านคุณสมบัติของเครื่อง
                               ด้านที่ 2 ด้านประสิทธิภาพการทำงาน                                                            
                               ด้านที่ 3 ด้านการนำไปใช้งาน
                   ตอนที่ 3 เป็นข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่นๆ

ตอนที่ 1        เป็นข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
                   โปรดทำเครื่องหมาย  ลงใน  ที่อยู่หน้าข้อความที่เกี่ยวข้องกับผู้ประเมิน
1.  เพศ
          ชาย        หญิง
2.  อายุ
           ต่ำกว่า 15 ปี      16-20 ปี        20-25 ปี        26-30 ปี        สูงกว่า 30 ปี
3.  อาชีพของท่าน
           ไม่มีอาชีพ     เกษตรกร          ข้าราชการ      นักเรียน/นักศึกษา 
           อื่นๆ ระบุ..................................
 
ตอนที่ 2     เป็นแบบประเมินความพึงพอใจ ในการใช้เครื่องติดต่อสื่อสารภายในโดยใช้สัญญาณคลื่นวิทยุ ซึ่งจะประเมินทั้งหมด 3 ด้าน ดังนี้
                        ด้านที่ 1 ด้านคุณสมบัติของเครื่อง
                        ด้านที่ 2 ด้านประสิทธิภาพการทำงาน                                                                                           ด้านที่ 3 ด้านการนำไปใช้งาน                  
คำชี้แจง        โปรดทำเครื่องหมาย  ลงในช่องที่ตรงกับความจริงมากที่สุด
                        5 หมายถึง          ในระดับดี มากที่สุด
                        4 หมายถึง          ในระดับดี มาก
                        3 หมายถึง          ในระดับดี ปานกลาง
                        2 หมายถึง          ในระดับดี น้อย
                        1 หมายถึง          ในระดับดี น้อยที่สุด
ตารางที่ 3  แบบประเมินความพึงพอใจ ในการใช้เครื่องติดต่อสื่อสารภายในโดยใช้สัญญาณคลื่นวิทยุ


         ข้อเสนอแนะ
       ...........................................................................................................................................
9.3 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล
          โครงการครั้งนี้ เลือกนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ สาขาวิชา ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวะศึกษา เพื่อหาคำตอบของโครงการครั้งนี้โดยกำหนดเป็นขั้นตอนได้ดังนี้


              ภาพที่ 16 ผังแสดงกระบวนการวิเคราะห์ออกแบบเครื่องมือสำหรับการประเมิน

          
                ภาพที่ 17 การใช้งานเครื่องติดต่อสื่อสารภายในโดยใช้คลื่นวิทยุ

          
                ภาพที่ 18 การใช้งานเครื่องติดต่อสื่อสารภายในโดยใช้คลื่นวิทยุ

          
                ภาพที่ 19 การใช้งานเครื่องติดต่อสื่อสารภายในโดยใช้คลื่นวิทยุ
9.4 การวิเคราะห์ข้อมูล
1)  การวิเคราะห์คุณภาพของแบบประเมิณ
     การหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างแบบประเมินและวัตถุประสงค์                                                   
                            
            IOC   คือ ค่าดัชนีความสอดคล้อง(Index of Congruency)
            คือ ผลรวมคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
             N      คือ จำนวนผู้เชี่ยวชาญ
2)  การวิเคราะห์หาคุณภาพชุดการสอนจากผู้เชี่ยวชาญ
                               
                แทน คะแนนเฉลี่ย

           แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด

             N     แทน จำนวนข้อมูล
3) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard Deviation)
                         
              S.D  คือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มตัวอย่าง  

             คือ ผลของคะแนนแต่ละตัวยกกำลังสอง

               คือ ผลรวมของคะแนนทั้งหมดยกกำลังสอง
                N        คือ จำนวนข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง
10. ผลของการวิจัย
          การวิเคราะห์ข้อมูลการใช้ระบบติดต่อสื่อสารภายในแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์โดยใช้คลื่นวิทยุมีการวิเคราะห์โดยแยกเป็นตอนตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาและผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยขอนำเสนอตามลำดับ โดยเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล รวม 6 ตอน ดังนี้
              ตอนที่ 1  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของนวัตกรรม
              ตอนที่ 2  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
              ตอนที่ 3  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบด้านคุณสมบัติของเครื่อง
              ตอนที่ 4  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบด้านประสิทธิภาพการทำงาน
              ตอนที่ 5  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบด้านการนำไปใช้งาน
              ตอนที่ 6  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบในภาพรวมทุกด้าน

ตอนที่ 1  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของนวัตกรรม
     ตารางที่ 4
  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของนวัตกรรม

          ความแข็งแรงของเครื่อง คือ ตัวเครื่องมีความแข็งแรง ขนาดพอดี และมีน้ำหนักเบา สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก
                               
                                                  ภาพที่ 20 ภาพรวมของตัวเครื่อง

          ความสะดวกในการใช้ มีขั้นตอนการใช้ไม่ซับซ้อน
                     
                                                  ภาพที่ 21 ความสะดวกในการใช้

          สัญญาณที่ใช้ ใช้วงจรที่ส่งสัญญาณ 27 MHz
                        
                                                  ภาพที่ 22 สัญญาณที่ใช้

ตอนที่ 2  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
              ตารางที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
             
     จากตารางที่ 5 พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทั้ง 20 คน เป็นเพศชาย 20 คน คิดเป็น 100% และอายุส่วนใหญ่อยู่ที่เกณฑ์ 20-25 ปี  คิดเป็น 100%  ประสบการณ์ใช้งานโปรแกรมคิดเป็น 100%

ตอนที่ 3  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านคุณสมบัติของเครื่อง
            ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้ เครื่องติดต่อสื่อสารภายในแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์โดยใช้คลื่นวิทยุ  ด้านคุณสมบัติของเครื่อง คือ ในแต่ละคุณสมบัติของเครื่องเหมาะสมกับการใช้เครื่องติดต่อสื่อสารภายในแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์โดยใช้คลื่นวิทยุ
        ตารางที่ 6 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านคุณสมบัติของเครื่อง
       
     จากตารางที่ 6 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้เครื่องติดต่อสื่อสารภายในแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์โดยใช้คลื่นวิทยุ ด้านคุณสมบัติของเครื่อง โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก คือ  (  = 4.35) และเมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมิน พบว่า ทุกรายการอยู่ในระดับมาก โดยความพึงพอใจด้านตัวเครื่องมีความแข็งแรง มีค่าเฉลี่ย มากที่สุด คือ (  = 4.40) และด้านการติดต่อสื่อสารทำได้อย่างรวดเร็ว มีค่าเฉลี่ย น้อยที่สุด คือ (  = 4.30)

ตอนที่ 4  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านประสิทธิภาพการทำงาน
          ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้เครื่องติดต่อสื่อสารภายในโดยใช้สัญญาณคลื่นวิทยุ ด้านประสิทธิภาพการทำงาน คือประสิทธิภาพของเครื่องที่สามารถทำได้
        ตารางที่ 7  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านประสิทธิภาพการทำงาน
       
     จากตารางที่ 7 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้เครื่องติดต่อสื่อสารภายในแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์โดยใช้คลื่นวิทยุ ด้านประสิทธิภาพการทำงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก คือ  (  = 4.05) และเมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมิน พบว่า ทุกรายการอยู่ในระดับมากและมากที่สุด โดยความพึงพอใจด้านการติดต่อสื่อสารใช้งานได้ตลอดเวลา มีค่าเฉลี่ย มากที่สุด คือ (  = 4.70) และด้านการติดต่อสื่อสารมีความชัดเจนไม่มีเสียงรบกวน มีค่าเฉลี่ย น้อยที่สุด คือ (  = 3.45)

ตอนที่ 5  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านการนำไปใช้งาน
       ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้เครื่องติดต่อสื่อสารภายในโดยใช้สัญญาณคลื่นวิทยุ ด้านการนำไปใช้งาน คือมีความสะดวกในการใช้งาน ใช้งานได้อย่างคล่องแคล่วรวดเร็ว
        ตารางที่ 8  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านการนำไปใช้งาน
       
       จากตารางที่ 8 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้เครื่องติดต่อสื่อสารภายในโดยใช้สัญญาณคลื่นวิทยุ ด้านการนำไปใช้งาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก คือ  (  = 4.78) และเมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมิน พบว่า ทุกรายการอยู่ในระดับมากที่สุด โดยความพึงพอใจด้านสามารถใช้งานได้ทุกวัย มีค่าเฉลี่ย มากที่สุด คือ (  = 4.85) และด้านไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน มีค่าเฉลี่ย น้อยที่สุด คือ (  = 4.70)

ตอนที่ 6  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมในภาพรวมทุกด้าน
       สรุปภาพรวมผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจในการใช้เครื่องติดต่อสื่อสารภายในโดยใช้สัญญาณคลื่นวิทยุ
       ตารางที่ 9  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมในภาพรวมทุกด้าน
       
       จากตารางที่ 9 ความพึงพอใจในการใช้เครื่องติดต่อสื่อสารภายในโดยใช้สัญญาณคลื่นวิทยุ  โดยภาพรวมทุกด้าน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ย คือ (   =4.39) เมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมินในแต่ละด้าน พบว่า ด้านคุณสมบัติของเครื่อง มีค่าเฉลี่ย มากที่สุด คือ (   =4.78) และการใช้ระบบด้านการนำไปใช้งาน มีค่าเฉลี่ย ต่ำที่สุด คือ (  =4.05)
11. การอภิปรายผล หรือการวิจารณ์และสรุป
          จากผลสร้างและหาประสิทธิภาพระบบติดต่อสื่อสารภายในแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์โดยใช้คลื่นวิทยุ พบว่านวัตกรรม สามารถใช้งานได้จริงและเป็นประโยชน์ต่อการใช้เป็นสื่อกลางที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร จุดเด่นของระบบติดต่อสื่อสารภายในแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์โดยใช้คลื่นวิทยุคือ สามารถติดต่อสื่อสารภายในอาคารได้สะดวก และไม่ต้องมีใบอนุญาติในการใช้วิทยุสมัครเล่น สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา จุดด้อยของนวัตกรรมจากข้อเสนอแนะของกลุ่มประชากรตัวอย่างและจากผลการใช้งานทำให้สรุปข้อด้อยของนวัตกรรม คือ ในส่วนของสัญญาณที่ใช้เป็นสัญญาณที่มีคลื่นรบกวนมาก จึงทำให้มีเสียงรบกวน ไม่สามารถส่งสัญญาณได้อย่างชัดเจนได้  
          นวัตกรรมสนองถึงความต้องการของผู้ใช้งานทุกอย่างตามที่ผู้จัดทำได้วิเคราะห์และออกแบบนวัฒกรรม ทำให้ผู้จัดทำได้เห็นถึงความสำคัญของการวิเคราะห์และออกแบบเป็นอย่างมากเพราะในการออกแบบทุกครั้งจะต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้เป็นหลัก
 
12. ข้อเสนอแนะ
1)  ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้
    1.1)  ควรใช้คำที่สามารถสื่อความหมายที่ชัดเจนในการสื่อสารแต่ละครั้ง  
    1.2)  ไม่ควรนำเครื่องไปไว้ในที่ชื้น
2)  ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป
    2.1)  ควรลดสัญญาณรบกวนออกเพื่อให้มีความชัดเจนในการสื่อสาร
    2.2)  ควรเพิ่มจุดในการติดตั้งนวัฒกรรมเพื่อความสะดวกของผู้ใช้
    2.3)  ในการออกแบบควรคำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้เป็นส่วนใหญ่
 
13. บรรณานุกรม
บุญถึง แน่นหนา. ตารางวิทยุเอฟ.เอ็ม. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์โอเดียนสโตร์
พันธ์ศักดิ์ พุฒิมานิตพงศ์. ทฤษฎีเครื่องรับวิทยุ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เจริญธรรม
คลื่นฟ้า. 2559. [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา:
                 http://www.hs8jyx.com/html/radio_propagation.html
ความถี่วิทยุ. 2559. [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา:
                 http://thaicop.blogspot.com/2014/11/blog-post_29.html
ตัวต้านทาน. 2559. [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา:
                 http://kpp.ac.th/elearning/elearning3/book-02.html
เสาอากาศ. 2559. [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา:
                 http://www.thaidept.com/antenna.html
 
14. ประวัติผู้จัดทำโครงการ
                       
ชื่อ-สกุล
           นายภูชิต   ปลงใจ
เกิดเมื่อวันที่        9 พฤษภาคม 2540
ที่อยู่ปัจจุบัน       139 หมู่ 7 ตำบลเหมืองหทชม้อ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ 54000
วุฒิการศึกษา      ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
                  สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์
เบอร์โทร            089-5651209
อีเมล์              sananobeku@outlook.co.th

                       
ชื่อ-สกุล          นายอนุชา  หาญสายพา
เกิดเมื่อวันที่       28 กุมภาพันธ์ 2539
ที่อยู่ปัจจุบัน       29  หมู่ 9 บ้านตอนิมิตร ตำบลร่องกาศ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่  54130
วุฒิการศึกษา      ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
                  สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์
เบอร์โทร            090-949-9860
อีเมล์              Hansaipha.300@gmail.com

 
ลิงค์ Youtube vdo