ชื่อผู้ใช้  
จำรหัสผ่าน
 
 
บทความโครงการ นักศึกษา
1. ชื่อโครงการ การสร้างและหาประสิทธิภาพ Access Switch Door-Lock
2. จัดทำโดย
    1. นายปิยพัฒน์ เพลิดเพลิน
    2. นายภูริเดช คงทน
    3.
3. อีเมล์
zeroza-2@hotmail.com, tawan.phuridat@hotmail.com
4. บทคัดย่อ
          โครงการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างชุดฝึกการเรียนรู้ เรื่อง การสร้างและหาประสิทธิภาพตู้เก็บเอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัย สำหรับการเก็บเอกสารที่สำคัญของแผนก ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา
          การดำเนินการโครงการใช้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 20 คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย  และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) โดยมีการสอนใช้ตู้เก็บเอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัยในครั้งแรก จากนั้นจึงให้ทดลองใช้ตู้เก็บเอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัยด้วยตนเอง เสร็จแล้วให้นักเรียนตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ ในการใช้ตู้เก็บเอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัย
          ผลการดำเนินการวิจัย พบว่าตู้เก็บเอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัย ที่สร้างขึ้น ผู้ใช้มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.44
5. บทนำ
          ในปัจจุบันความปลอดภัยเป็นสิ่งที่สำคัญลำดับต้นๆเมื่อพูดถึงเรื่องความปลอดภัยการใช้กลอนในการล็อคประตูนั้นอาจจะมีความปลอดภัยในระดับหนึ่ง แต่ก็ไม่สามารถความปลอดภัยขั้นสูงสุดได้ ถึงแม้ว่ากลอนประตูหรือล็อคที่ใช้งานมีความมั่นใจหรือรุ่นที่ใช้งานนั้นเป็นรุ่นที่แพงแต่ก็ไม่ได้รับประกันว่าจะปลอดภัยเสมอไป
          จากการที่ผู้จัดทำได้เล็งถึงปัญหาดังกล่าว ทำให้เกิดความคิดที่จะสร้าง Access switch door-lock โดยใช้ Arduino เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน หรือเพื่อเก็บสิ่งของให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น โดยใช้ Access switch door-lock โดยใช้ Arduino ในการเขียนโค้ดควบคุม Access switch door-lock ในการเข้า-ออกทุกครั้งจะมีการบันทึกเวลาเข้าเมื่อไหร่และออกเมื่อไหร่และบุคคลใดเป็นคนเข้าจะมีการบันทึกโค้ดของบุคคลนั้น และมีเสียงเตือนเมื่อไม่ได้ปิดประตู
          ดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงขอจัดทำ Access switch door-lock โดยใช้ Arduino ขึ้นมา เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน หรือเพื่อเก็บสิ่งของให้มีความปลอดภัยยิ่งขึ้น
 
6. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1)  เพื่อสร้าง Access Switch Door-Lock โดยใช้ Arduino
2)  เพื่อหาประสิทธิภาพ Access Switch Door-Lockโดยใช้ Arduino
7. ขอบเขตของการวิจัย
1  ด้านขอบข่ายมีรายละเอียดดังนี้
    1.1  ใช้โปรแกรม Arduino 0023 ในการคอมล์และอัพโหลด
    1.2  ใช้ภาษา C ในการเขียน
2  ด้านเนื้อหา
    2.1 สามารถเพิ่มความปลอดภัยในขั้นสูง
    2.2 สามารถบันทึกเวลาเข้า-ออกได้
    2.3 สามารถทราบได้ว่าบุคคลใดเข้า-ออก
    2.4 มีเสียงเตือนเวลาไม่ได้ปิดประตู
3  ด้านเวลา
    ตลอดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559
4  ด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
    ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ กลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษา มีจำนวน 20 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบคละจำนวน
 
8. สมมุติฐาน
          ได้ Access Switch Door-Lock ที่ใช้งานได้จริง
 
9. วิธีดำเนินการวิจัย
   1 ) ศึกษาข้อมูลเพื่อเตรียมการโครงการ ผู้จัดทำได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการวิเคราะห์และออกแบบ Access Switch Door-Lock โดยภาษา Arduino
   2 ) วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวการทำงานของ Access Switch Door-Lock และกำหนดขอบเขตเพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน
   3 ) การสร้างและออกแบบ Access Switch Door-Lock
   4 ) ทดสอบหาประสิทธิภาพของ Access Switch Door-Lock มีการใช้แบบประเมินประสิทธิภาพนวัตกรรมจากผู้เชี่ยวชาญ และแบบประเมินความพึงพอใจจากผู้ทดลองใช้
   5 ) กำหนดกลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์สาขาวิชา ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 20 คน วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง
   6 ) สอนการใช้งาน Access Switch Door-Lock ให้กับที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง
   7 ) นักศึกษาทดลองใช้ Access Switch Door-Lock
 
9.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
          นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ กลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษา มีจำนวน 20 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง
 
9.2 สร้างเครื่องมือที่ใช้ในโครงการ
         การสร้างและหาประสิทธิภาพAccess Switch Door-Lock มีขั้นตอนในการออกแบบ โดยละเอียด ดังแสดงในรูปที่ 1
                                              
                                                  
                                       รูปที่ 1  ลำดับขั้นตอนการดำเนินโครงการ

1  วิเคราะห์สภาพปัญหาหรือประมาณความต้องการของผู้ใช้นวัตกรรม
2  ศึกษาทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้อง
3  กำหนดวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวกับการสร้างและหาประสิทธิภาพนวัตกรรม
      โครงการสร้างและหาประสิทธิภาพตู้เอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัย ใช้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้อง ดังแสดงในตารางที่ 3.1
              ตารางที่ 1 อุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้อง
             

4  หาข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและพัฒนาวัตกรรม
    4.1  ประตู กว้าง 100 เซนติเมตร, ยาว 200 เซนติเมตร
    4.2  Door-Lock 12 โวลต์
    4.3  Adaptor 9 โวลต์

5  สร้างนวัตกรรมตามที่ออกแบบ ตามลำดับดังนี้
    5.1  การออกแบบโครงสร้าง โดยมีความกว้าง 100 cm ยาว 200 cm ดังแสดงในรูปที่ 2
                                             
                                                  รูปที่ 2 โครงสร้างประตู

    5.2  การติดตั้งระบบไฟเข้าโดยใช้ Power supply ดังแสดงในรูปที่ 3 และรูปที่ 4
                                             
                                            รูปที่ 3 ติดตั้งสายไฟด้านข้างประตู

                               
                                               รูปที่ 4 ติดตั้งสแกนคีย์การ์ด

    5.3  การติดตั้ง Door-Lock ดังแสดงในรูปที่ 5 , 6 และรูปที่ 7
                                      
                                       รูปที่ 5 ทำการบากประตูเพื่อติด Door-Lock

                                     
                                        รูปที่ 6 ทำการการติดตั้ง Door-Lock

                                         
                            รูปที่ 7 นำ Access switch Door-Lock มาติดกับบานประตู

6  ออกแบบเครื่องมือที่ใช้ประเมินประสิทธิภาพ
                            แบบฟอร์มการตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถาม
              ตารางที่ 2
  แบบฟอร์มการตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถามของผู้ทรงคุณวุฒิ
             

                                การวิเคราะห์เลือกคำถามจากผู้ทรงคุณวุฒิ
              ตารางที่ 3
  การวิเคราะห์เลือกคำถามจากผู้ทรงคุณวุฒิ
             

แสดงการคิดคำนวณค่า IOC
                         ข้อ 1   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                                      จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                      ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                                      มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 2   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                                      จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                      ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                                      มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 3   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2
                                      จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                      ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667
                                      มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 4   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 1
                                      จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                      ค่า IOC เท่ากับ 1/3 = 0.333
                                      มีค่าน้อยกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ไม่ได้
                         ข้อ 5   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                                      จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                      ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                                      มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 6   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                                      จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                      ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                                      มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 7   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 1
                                      จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                      ค่า IOC เท่ากับ 1/3 = 0.333
                                      มีค่าน้อยกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ไม่ได้
                         ข้อ 8   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                                      จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                      ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                                      มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 9   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2
                                      จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                      ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667
                                      มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 10 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                                       จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                       ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                                       มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 11 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                                       จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                       ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                                       มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 12 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2
                                       จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                       ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667
                                       มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 13 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                                       จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                       ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                                       มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้

                แบบประเมินความพึงพอใจการสร้างและหาประสิทธิภาพ Access Switch Door-Lock

                แบบประเมินผลความพึงพอใจการสร้างและหาประสิทธิภาพประสิทธิภาพ Access Switch Door-Lock เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ใช้ ที่มีต่อ Access Switch Door-Lock ผลการประเมินของท่านจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปรับปรุง Access Switch Door-Lock ให้มีความสมบูรณ์และดียิ่งขึ้นไป
คำชี้แจง แบบประเมินแบ่งออกเป็น 3 ตอน
                ตอนที่  1 เป็นข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
                ตอนที่  2 ความสะดวกในการใช้งาน Access Switch Door-Lock
                    ด้านที่ 1 ด้านโครงสร้าง
                    ด้านที่ 2 ด้านการใช้งาน
                    ด้านที่ 3 ด้านคุณค่าโดยสรุป
                ตอนที่  3 เป็นข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่นๆ                                                                                   
ตอนที่ 1 เป็นข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถามโปรดทำเครื่องหมาย ลงใน ที่อยู่หน้าข้อความที่เกี่ยวข้องกับผู้ประเมิน                                                                                                                                                     
1.  เพศ
                                                ชาย                 หญิง
2.  อายุ
                                                ต่ำกว่า 20 ปี  21-30 ปี         31-40 ปี          41-50 ปี  สูงกว่า 50 ปี
3.  อาชีพของท่าน
                                                ไม่มีอาชีพ     เกษตรกร        ข้าราชการ       นักเรียน/นักศึกษา 
อื่นๆ ระบุ..................................
ตอนที่  2 เป็นแบบประเมินความพึงพอใจ ในการใช้ Access Switch Door-Lock ซึ่งประเมิน ทั้งหมด 3 ด้านดังนี้
                    ด้านที่ 1 ด้านโครงสร้าง
                    ด้านที่ 2 ด้านการใช้งาน
                    ด้านที่ 3 ด้านคุณค่าโดยสรุป

คำชี้แจง  โปรดทำเครื่องหมาย ลงในช่องที่ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด
                    5 หมายถึง ในระดับดี มากที่สุด
                    4 หมายถึง ในระดับดี มาก
                    3 หมายถึง ในระดับดี ปานกลาง
                    2 หมายถึง ในระดับดี น้อย
                    1 หมายถึง ในระดับดี น้อยที่สุด

              ตารางที่ 4  แบบประเมินผลความพึงพอใจในการใช้ตู้เก็บเอกสารล็อคด้วยระบบนิรภัย
             
 
9.3 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล
          โครงการครั้งนี้ เลือกนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ สาขาวิชา ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวะศึกษา เพื่อหาคำตอบของโครงการครั้งนี้โดยกำหนดเป็นขั้นตอนได้ดังนี้
                         
                               รูปที่ 8  ผังแสดงกระบวนการวิเคราะห์ออกแบบเครื่องมือสำหรับการประเมิน

                                                 
                                             รูปที่ 9  การสอนวิธีใช้ชุดฝึกให้กับนักเรียน

                                             
                                            รูปที่ 10  การสอนวิธีใช้ชุดฝึกให้กับนักเรียน
 
9.4 การวิเคราะห์ข้อมูล
1)  การวิเคราะห์คุณภาพของแบบประเมิณ
     การหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างแบบประเมินและวัตถุประสงค์                                                   
                            
            IOC    คือ ค่าดัชนีความสอดคล้อง(Index of Congruency)
                คือ ผลรวมคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
             N      คือ จำนวนผู้เชี่ยวชาญ
2)  การวิเคราะห์หาคุณภาพชุดการสอนจากผู้เชี่ยวชาญ
                               
                แทน คะแนนเฉลี่ย
                แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด
             N     แทน จำนวนข้อมูล
3) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard Deviation)
                         
              S.D    คือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มตัวอย่าง  
                  คือ ผลของคะแนนแต่ละตัวยกกำลังสอง
                  คือ ผลรวมของคะแนนทั้งหมดยกกำลังสอง
               N      คือ จำนวนข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง
 
10. ผลของการวิจัย
        การวิเคราะห์ข้อมูลการสร้างและหาประสิทธิภาพAccess Switch Door-Lock มีการวิเคราะห์โดยแยกเป็นตอนตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาและผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยนำเสนอตามลำดับ ดังนี้
การเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล
             ผลการวิเคราะห์ข้อมูลนำเสนอรวม 6 ตอน ดังนี้
                         ตอนที่ 1  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของนวัตกรรม
                         ตอนที่ 2  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
                         ตอนที่ 3  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านโครงสร้าง
                         ตอนที่ 4  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านการใช้งาน
                         ตอนที่ 5  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านคุณค่าโดยสรุป
                         ตอนที่ 6  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมในภาพรวมทุกด้าน

ตอนที่ 1  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของนวัตกรรม ดังแสดงในตารางที่ 4.1
              ตารางที่ 5  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของนวัตกรรม
             

ตอนที่ 2  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
              ตารางที่ 6  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
             
               จากตารางที่ 6 พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทั้ง 20 คน เป็นเพศชาย 20 คน  คิดเป็น 100% และอายุส่วนใหญ่อยู่ที่ เกณฑ์ต่ำกว่า 20 ปี คิดเป็น 100%  ประสบการณ์ใช้งานชุดฝึก คิดเป็น 100%

ตอนที่ 3  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านโครงสร้าง
ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้Access Switch Door-Lockที่ผ่านการใช้Access Switch Door-Lock ด้านที่ 1 ด้านโครงสร้าง คือความแข็งของเครื่อง ดังแสดงในตารางที่ 4.3
              ตารางที่ 7  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านโครงสร้าง
             
               จากตารางที่ 8 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้Access Switch Door-Lock ด้านโครงสร้าง โดยภาพรวมอยู่ ในระดับพึงพอใจมาก (  = 4.47) และเมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมินพบว่า ด้านวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้มีความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (  = 4.85) และด้านชุดอินพุตของอุปกรณ์ที่ใช้ในการรับข้อมูลมีความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยที่น้อยที่สุดคือ (  = 4.30)

ตอนที่ 4  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านการใช้งาน
ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้Access Switch Door-Lockผู้ที่ผ่านการใช้Access Switch Door-Lock  ในด้านการใช้งาน ดังแสดงในตารางที่ 4.4
              ตารางที่ 8  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรม ด้านการใช้งาน
             
               จากตารางที่ 8 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้Access Switch Door-Lock ด้านการใช้งาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก (  = 4.43) และเมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมินพบว่า ด้านอุปกรณ์อินพุตใช้งานได้สะดวก มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (  = 4.50) และด้านความง่ายต่อการซ่อมแซมบำรุงรักษา มีค่าเฉลี่ยที่น้อยที่สุด (  = 4.35)

ตอนที่ 5  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรม ด้านคุณค่าโดยสรุป
         ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้Access Switch Door-Lock ในด้านคุณค่าโดยสรุป ดังแสดงในตารางที่ 4.5
              ตารางที่ 9  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านคุณค่าโดยสรุป
             
              จากตารางที่ 9 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้Access Switch Door-Lock ด้านคุณค่าโดยสรุปโดยภาพรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก  (   = 4.42) และเมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมิน พบว่า ทุกรายการประเมินอยู่ในระดับมาก โดยความเหมาะสมของต้นทุน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (  = 4.45) และด้านAccess Switch Door-Lockสามารถใช้งานได้จริงในชีวิตประจำวัน มีค่าเฉลี่ยที่น้อยที่สุด (  = 4.40)

ตอนที่ 6  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมในภาพรวมทุกด้าน
สรุปภาพรวมผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจในการใช้Access Switch Door-Lockที่สร้างขึ้น ดังแสดงในตารางที่ 4.6
              ตารางที่ 10  ผลการวิเคราะห์ข้อมลประเมินผลการใช้นวัตกรรมในภาพรวมทุกด้าน
             
               จากตารางที่ 10 ความพึงพอใจในการใช้Access Switch Door-Lock โดยภาพรวมทุกด้าน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (  = 4.44) เมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมินในแต่ละด้าน พบว่า ด้านโครงสร้าง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (  = 4.47) และด้านคุณค่าโดยสรุป มีค่าเฉลี่ยที่น้อยที่สุดคือ (  = 4.42)
 
11. การอภิปรายผล หรือการวิจารณ์และสรุป
           จากการสร้างและหาประสิทธิภาพAccess Switch Door-Lock เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยของเอกสารหรือทรัพย์สิน การสร้างAccess Switch Door-Lock ผลจากการสร้างของAccess Switch Door-Lock พบว่า ความแข็งแรงของประตูได้มาตรฐานตามที่ตั้งไว้ นำหนักของประตูอยู่ที่ 40 กิโลกรัม ขนาดของประตูกว้าง 100 เซนติเมตรยาว 200 เซนติเมตร สามารถใช้ได้ตามสภาพแวดล้อมตามที่ตั้งไว้ได้ สามารถใช้ไฟได้ 1 ระบบ คือ ระบบไฟบ้านเรือน 220V วัสดุที่นำมาใช้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับขั้นตอนไม่ยุ่งยากซับซ้อน ผลจากการทดลองใช้Access Switch Door-Lock พบว่า Access Switch Door-Lockสามารถลดการโจรกรรมของเอกสารหรือทรัพย์สิน อีกทั้งสามารถนำไปใช้งานได้จริง มีความเหมาะสมของต้นทุน วัสดุที่ใช้สร้าง ความแข็งแรง ขนาดของประตู การออกแบบให้เหมาะสมกับการใช้งาน ความสะดวกในการใช้งาน ความปลอดภัย ขั้นตอนการใช้งานยังไม่เหมาะสมต้องปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องต่อไปเพื่อพัฒนาด้านการใช้งานและด้านโครงสร้างที่เหมาะสม
           การสร้างAccess Switch Door-Lockมีราคาในการสร้างที่เหมาะสมแล้วด้วยอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน Access Switch Door-Lockนี้มีความสะดวกในการใช้งานและมีความปลอดอภัยที่สูงในการรักษาเอกสารหรือทรัพย์สินนั้นๆ หรือใช้ในการเรียนการสอบวิชาไมโครคอนโทรเลอร์เพื่อเรียนรู้การนำไปดัดแปลงใช้ในชีวิตจริง
 
12. ข้อเสนอแนะ
1  ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้
    1.1  เปิดประตูทุกครั้ง ควรปิดประตูทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยของทรัพย์สิน
2  ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป
    2.1  ควรจะพัฒนาให้มีการเปิด-ปิดด้วยคีย์การ์ด  Access Switch Door-Lockเป็นระบบเปิด-ปิด ด้วยระบบ Keyped
 
13. บรรณานุกรม
ผศ.ดร.พูลศักดิ์ โกษียาภรณ์. เรียนรู้ และปฏิบัติการ  Arduino. กรุงเทพฯ: สมาร์ท เลิร์นนิ่ง, 2553
รุ่นต่างๆ ของ Arduino. 2559. [ออน-ไลน์].
แหล่งที่มา : http://www.myarduino.net/article
ประวัติความเป็นมาของ Arduino. 2559. [ออน-ไลน์].
แหล่งที่มา: http:// www.bloggang.com/viewblog.php?id=birdmcu&group=2
ทฤษฎีแม่เหล็ก. 2559. [ออน-ไลน์].
แหล่งที่มา: https://sites.google.com/site/thwmvss/home/thvsdi-khlunmaehelkfifa-khxng-maek-swell-laea-kar-thdlxng-khxng-heirts
 
14. ประวัติผู้จัดทำโครงการ
                                 
ชื่อ-สกุล            นายปิยพัฒน์  เพลิดเพลิน
เกิดเมื่อวันที่         27 ตุลาคมคม 2539
ที่อยู่ปัจจุบัน         96 หมู่ 6 ตำบลนาจักร อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ 54000
วุฒิการศึกษา       ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพสูง (ปวส.)
                   สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์
เบอร์โทร            087-5468096
อีเมล์               zeroza-2@hotmail.com

                                 
ชื่อ-สกุล            นายภูริเดช  คงทน
เกิดเมื่อวันที่         24 พฤศจิกายน 2539
ที่อยู่ปัจจุบัน         91/1  หมู่ 1  ตำบลกาญจนา อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ 54000
วุฒิการศึกษา       ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
                   สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์
เบอร์โทร            087-3009760
อีเมล์               tawan.phuridat@hotmail.com
 
ลิงค์ Youtube vdo