ชื่อผู้ใช้  
จำรหัสผ่าน
 
 
บทความโครงการ นักศึกษา
1. ชื่อโครงการ การสร้างและหาประสิทธิภาพโปรแกรมบันทึกข้อมูลผลงานนักเรียนนักศึกษาแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์
2. จัดทำโดย
    1. นายจิรายุทธ์ สนใจ
    2. นายธนิตย์ ชัยลอม
    3.
3. อีเมล์
Jirayut325@gmail.com , yuio054544@hotmail.com
4. บทคัดย่อ
         โครงการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างโปรแกรมบันทึกข้อมูลนักเรียนนักศึกษาแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา
         การดำเนินการโครงการใช้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 20 คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย () และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) โดยมีการสอนใช้โปรแกรมในครั้งแรก จากนั้นจึงให้ทดลองใช้โปรแกรมด้วยตนเอง เสร็จแล้วให้นักเรียนตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 20 ชุดในการใช้โปรแกรม
         ผลการดำเนินการวิจัย พบว่า โปรแกรมบันทึกข้อมูลนักเรียนนักศึกษาแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ ที่สร้างขึ้น ผู้ใช้มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.50


 
5. บทนำ
          ปัจจุบันการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญกับทุกคนเป็นอย่างมากในการศึกษา แต่ละระดับชั้นปีว่าจะเป็นมัธยมศึกษา มหาวิทยาลัยล้วนเป็นสิ่งสำคัญและใช้ในการประกอบวิชาชีพต่างๆและปลูกฝังผู้เรียนให้มีคุณธรรม ความอดทน และสามารถใช้ความรู้ที่ผ่านมาในชีวิตประจำวันช่วยในการหาเลี้ยงชีพ ใช้ในการทำงานหาประสบการณ์ ความรู้นั้นมีมากมาย ซึ่งแต่ละอย่างนั้นแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ความถนัดของแต่ละคน การศึกษายังช่วยให้ทันเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีมากมายในปัจจุบันและสังคมได้มีบริษัทเปิดรับสมัครงานต้องใช้วุฒิในการเข้าทำงานแต่ละบริษัทจึงต้องพยายามหาความรู้ความสามารถเพื่อจะได้งานตามที่ต้องการและเพื่อการนั้นจะเห็นได้ชัดเจนว่าการศึกษาสำคัญเป็นอย่างมากรวมไปถึงอนาคตภายภาคหน้าได้อีกด้วย
          ในปัจจุบัน การได้มีการจัดแข่งขันสิ่งประดิษฐ์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นทางด้านซอฟแวร์ หรือ ฮาร์ดแวร์ล้วนแล้วแต่ แข่งขันกัน และในการแข่งขันในแต่ละครั้งจะมีผลงานในการแข่งมากมาย ทำให้ผู้แข่งขันเกิดการเรียนรู้และวิเคราะห์การทำงานของตัวสิ่งประดิษฐ์นั้น แล้วยังสามารถนำมาต่อยอดพัฒนาตัวสิ่งประดิษฐ์ของตัวเองให้ทันสมัยตรงตามความต้องการของผู้ใช้ได้
          ดังนั้นผู้จัดทำจึงมีแนวคิดที่สร้างโปรแกรมบันทึกผลงานโดยการสร้างโปรแกรมบันทึกข้อมูลผลงานนักเรียนนักศึกษาแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์

 
6. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1)  เพื่อสร้างโปรแกรมบันทึกข้อมูลผลงานนักเรียนนักศึกษาแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์
2)  เพื่อหาประสิทธิภาพของสร้างโปรแกรมบันทึกข้อมูลผลงานนักเรียนนักศึกษาแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์
7. ขอบเขตของการวิจัย
โปรแกรมบันทึกข้อมูลผลงานนักเรียนนักศึกษาแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์มีรายละเอียดดังนี้
        1 ด้านเนื้อหา
             1.1 การเขียนและออกแบบเว็บไซต์
                      (1)  โครงสร้างคำสั่งของ HTML
                      (2)  การเชื่อมต่อเอกสารด้วย HyperLink
                      (3)  List จัดข้อมูลในเว็บเพจให้เป็นระเบียบ
                      (4)  CSS Syntax
                      (5)  การใช้งาน CSS
        2 ขอบข่ายเว็บไซต์
             2.1 ความสามารถของโปรแกรมสะสมผลงานครูและนักเรียนแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์มีคุณสมบัติดังนี้
                      (1)  เก็บข้อมูลผลงานต่างๆของครูและนักเรียนแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์มีดังนี้
                              (1.1)  ชื่อผลงาน
                              (1.2)  รูปภาพของผลงาน
                              (1.3)  บทความของผลงาน
                     (2)  สามารถแก้ไขบทความของผลงานได้
                              (2.1)  บันทึกการเปลี่ยนแปลง
                     (3)  สมารถอัพโหลดไฟล์(Admin)บทความของผลงาน
                     (4)  สามารถแบ่งระดับ ปวช. และ ปวส. แต่ละระดับชั้นได้
                     (5)  สามาถนำผลงานต่างๆ มาประกอบกับการเรียนการสอนของคณะครูได้
                     (6)  แยกประเภทของการจัดเก็บผลงานของนักเรียนนักศึกษา
        3 ด้านระยะเวลา ตลอดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559
        4 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ กลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษา มีจำนวน 20 คนโดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง
8. สมมุติฐาน
          สร้างโปรแกรมบันทึกข้อมูลผลงานนักเรียนนักศึกษาแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์สามารถเก็บและโชว์ผลงานนักเรียนเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาต่อได้
9. วิธีดำเนินการวิจัย
   1 ) ศึกษาข้อมูลเพื่อเตรียมการโครงการ ผู้จัดทำได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการวิเคราะห์และออกแบบโปรแกรมการออกแบบฐานข้อมูลและการเขียนระบบโดยภาษา PHP ร่วมกับ MySQL
   2 ) วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวการทำงานของโปรแกรมและกำหนดขอบเขตเพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน
   3 ) การสร้างและออกแบบ โปรแกรมบันทึกข้อมูลผลงานนักเรียนนักศึกษา
   4 ) ทดสอบหาประสิทธิภาพของโปรแกรมบันทึกข้อมูลผลงานนักเรียนนักศึกษามีการใช้แบบประเมินประสิทธิภาพจากผู้เชี่ยวชาญ และแบบประเมินความพึงพอใจจากผู้ทดลองใช้
   5 ) กำหนดกลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์สาขาวิชา ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 20 คน วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง
   6 ) สอนการใช้งานโปรแกรมให้กับที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง
   7 ) นักศึกษาทดลองใช้โปรแกรมบันทึกข้อมูลผลงานนักเรียนนักศึกษา
 
9.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
          นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ กลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษา มีจำนวน 20 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง
9.2 สร้างเครื่องมือที่ใช้ในโครงการ
           การสร้างและหาประสิทธิภาพโปรแกรมบันทึกข้อมูลผลงานนักเรียนแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ ระบบออนไลน์ มีขั้นตอนในการออกแบบ โดยมีรายละเอียดดังนี้
                          
                                        ภาพที่ 1 ลำดับขั้นตอนการดำเนินโครงการ

  1.  วิเคราะห์สภาพปัญหาหรือประเมินความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม
  2.  ศึกษาทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้อง
  3.  กำหนดขอบเขตของโปรแกรม และฐานข้อมูลที่ใช้เขียนโปรแกรม
  4.  ออกแบบและสร้างโปรแกรมบันทึกข้อมูลผลงานนักเรียนนักศึกษา   
           
                                             ภาพที่ 2 การทำงานของโปรแกรม
                                                                                                         
                                 
                                             ภาพที่ 3 ผังการทำงานของโปรแกรม

5. โปรแกรมบันทึกข้อมูลผลงานนักเรียนนักศึกษาแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ 
      1) ภาพรวมของโปรแกรม

            
                                        ภาพที่ 4 แสดงหน้าหลักของโปรแกรม
      
      2) การใช้งานโปรแกรม

                                     
                                              ภาพที่ 5 ทำการ Login ระบบเพื่อจัดการข้อมูล

                                     
                                         ภาพที่ 6 เมนูที่เพิ่มเข้ามาหลังจากล็อกอิน(Admin)


                                 
                                            ภาพที่ 7 หน้าตาใส่ข้อมูลเข้าไปในโปรแกรม


                                   
                                             ภาพที่ 8 โปรแกรมแสดงผลลัพธ์ที่ได้


                                
                                          ภาพที่ 9 เว็บหน้าแสดงข้อมูลของผลงาน


 6. ออกแบบเครื่องมือที่ใช้ประเมินประสิทธิภาพ
                             แบบฟอร์มการตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถาม
 ตารางที่ 1  
แบบฟอร์มการตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถามของผู้ทรงคุณวุฒิ

                       
แบบประเมินความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมบันทึกข้อมูลนักเรียนนักศึกษาแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์
                แบบประเมินความคิดเห็นที่มีต่อโปรแกรมบันทึกข้อมูลนักเรียนนักศึกษาแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ใช้ ที่มีต่อโปรแกรมผลการประเมินของท่านจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ในการปรับปรุงโปรแกรม ให้มีความสมบูรณ์และดียิ่งขึ้นไป

คำชี้แจง  แบบประเมินแบ่งออกเป็น 3 ตอน
             ตอนที่ 1 เป็นข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
             ตอนที่ 2 ความสะดวกในการใช้งานโปรแกรมบันทึกข้อมูลนักเรียนนักศึกษาแผนกเทคนิค                                      คอมพิวเตอร์ มีทั้งหมด 3 ด้านดังนี้
                     ด้านที่ 1 ด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม
                     ด้านที่ 2 ด้านการทำงานตามฟังก์ชันการทำงาน
                     ด้านที่ 3 ด้านความง่ายต่อการใช้การโปรแกรม
             ตอนที่ 3 เป็นข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่นๆ
 
ตอนที่ 1  เป็นข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
                         โปรดทำเครื่องหมาย  ลงใน ที่อยู่หน้าข้อความที่เกี่ยวข้องกับผู้ประเมิน
1.  เพศ
             ชาย          หญิง
2.  อายุ
             ต่ำกว่า 15 ปี  6-20 ปี             20-25 ปี         26-30 ปี         สูงกว่า 30 ปี
3.  อาชีพของท่าน
             ไม่มีอาชีพ    เกษตรกร           ข้าราชการ      นักเรียน/นักศึกษา 
             อื่นๆ ระบุ..................................
 
ตอนที่ 2  เป็นแบบประเมินความพึงพอใจ ในการใช้โปรแกรมบันทึกข้อมูลนักเรียนนักศึกษาแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์
ซึ่งจะประเมินทั้งหมด 3 ด้าน ดังนี้
                                ด้านที่ 1 ด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม
                                ด้านที่ 2 ด้านการทำงานของตัวโปรแกรม
                                ด้านที่ 3 ด้านความง่ายต่อการใช้การโปรแกรม
   คำชี้แจง  โปรดทำเครื่องหมาย ลงในช่องที่ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด
                               5 หมายถึง   ในระดับดี มากที่สุด
                               4 หมายถึง   ในระดับดี มาก
                               3 หมายถึง   ในระดับดี ปานกลาง
                               2 หมายถึง   ในระดับดี น้อย
                               1 หมายถึง   ในระดับดี น้อยที่สุด
             ตารางที่ 2  แบบประเมินความพึงพอใจ ในการใช้โปรแกรมบันทึกข้อมูลนักเรียนนักศึกษาแผนก
เทคนิคคอมพิวเตอร์

     
         ข้อเสนอแนะ
              ...............................................................................................................................................................................................................
 
9.3 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล
          โครงการครั้งนี้ เลือกนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ สาขาวิชา ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวะศึกษา เพื่อหาคำตอบของโครงการครั้งนี้โดยกำหนดเป็นขั้นตอนได้ดังนี้

                         ภาพที่ 10 ผังแสดงกระบวนการวิเคราะห์ออกแบบเครื่องมือสำหรับการประเมิน

                                  
                  ภาพที่ 11 การใช้งานโปรแกรมบันทึกข้อมูลผลงานนักเรียนนักศึกษาแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์

                                  
                  ภาพที่ 12 การใช้งานโปรแกรมบันทึกข้อมูลผลงานนักเรียนนักศึกษาแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์
9.4 การวิเคราะห์ข้อมูล
1)  การวิเคราะห์คุณภาพของแบบประเมิณ
     การหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างแบบประเมินและวัตถุประสงค์                                                   
                            
            IOC   คือ ค่าดัชนีความสอดคล้อง(Index of Congruency)
            คือ ผลรวมคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
             N      คือ จำนวนผู้เชี่ยวชาญ
2)  การวิเคราะห์หาคุณภาพชุดการสอนจากผู้เชี่ยวชาญ
                               
                แทน คะแนนเฉลี่ย

           แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด

             N     แทน จำนวนข้อมูล
3) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard Deviation)
                         
              S.D  คือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มตัวอย่าง  

             คือ ผลของคะแนนแต่ละตัวยกกำลังสอง

              คือ ผลรวมของคะแนนทั้งหมดยกกำลังสอง
                N        คือ จำนวนข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง
10. ผลของการวิจัย
          การวิเคราะห์ข้อมูลการใช้โปรแกรมบันทึกผลงานนักเรียนนักศึกษาแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์มีการวิเคราะห์โดยแยกเป็นตอนตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาและผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยขอนำเสนอตามลำดับ โดยเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล รวม 5 ตอน ดังนี้
                         ตอนที่ 1  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
                         ตอนที่ 2  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม
                         ตอนที่ 3  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบด้านการทำงานตามฟังก์ชันการทำงาน
                         ตอนที่ 4  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบด้านความง่ายต่อการใช้งานโปรแกรม
                         ตอนที่ 5  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบในภาพรวมทุกด้าน

ตอนที่ 1  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
    ตารางที่ 3
  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม

     จากตารางที่ 3 พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทั้ง 20 คน เป็นเพศชาย 20 คน คิดเป็น 100% และอายุส่วนใหญ่อยู่ที่เกณฑ์ 16-20 ปี  คิดเป็น 100%  ประสบการณ์ใช้งานโปรแกรมคิดเป็น 100%

ตอนที่ 2  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม
          ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้ใช้โปรแกรมบันทึกผลงานนักเรียนนักศึกษาแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม คือ ในแต่ละฟอร์มการทำงานระบบด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม เหมาะสมกับการใช้ใช้โปรแกรมบันทึกผลงานนักเรียนนักศึกษาแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์
     ตารางที่ 4  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม
     
     จากตารางที่ 4 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมบันทึกผลงานนักเรียนนักศึกษาแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ ด้านตรงตามความต้องการของผู้ใช้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด คือ ( = 4.54) และเมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมิน พบว่า ทุกรายการอยู่ในระดับมากที่สุด โดยความพึงพอใจด้านความสามารถของโปรแกรมในส่วนการออกแบบหน้าเว็บ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ( = 4.65) และด้านความสามารถของโปรแกรมส่วนแสดงเนื้อหาของชิ้นงาน มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ( = 4.50)

ตอนที่ 3  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบด้านการทำงานตามฟังก์ชันการทำงาน
          ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมบันทึกผลงานนักเรียนนักศึกษาแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ ด้านการทำงานตามฟังก์ชันการทำงานคือระบบมีความสะดวกในการใช้งาน ใช้งานได้อย่างคล่องแคล่วรวดเร็ว
     ตารางที่ 5  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบด้านการทำงานตามฟังก์ชันการทำงาน
     
      จากตารางที่ 5 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมบันทึกผลงานนักเรียนนักศึกษาแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ ด้านการทำงานตามฟังก์ชันการทำงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด คือ  ( = 4.53) และเมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมิน พบว่า ทุกรายการอยู่ในระดับมากที่สุด โดยความพึงพอใจด้านโปรแกรมมีระบบป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ( = 4.60) และด้านการใช้คำสั่งต่างๆ ส่วนของเมนูมีความสะดวก มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ( = 4.50)

ตอนที่ 4  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบด้านความง่ายต่อการใช้งานโปรแกรม
          ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมบันทึกผลงานนักเรียนนักศึกษาแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ ด้านความง่ายต่อการใช้งานโปรแกรมคือระบบมีความสะดวกรวดเร็วในการใช้งาน
     ตารางที่ 6  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบด้านความง่ายต่อการใช้งานโปรแกรม
     
       จากตารางที่ 6 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมบันทึกผลงานนักเรียนนักศึกษาแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ ด้านความง่ายต่อการใช้การโปรแกรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก คือ  ( = 4.45) และเมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมิน พบว่า ทุกรายการอยู่ในระดับมากและมากที่สุด โดยความพึงพอใจด้านความเหมาะสมในการใช้สัญลักษณ์หรือรูปภาพในการสื่อความหมาย มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ( = 4.60) และด้านความเหมาะสมในการใช้ข้อความเพื่ออธิบายสื่อ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ( = 4.30)

ตอนที่ 5  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบในภาพรวมทุกด้าน
          สรุปภาพรวมผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมบันทึกผลงานนักเรียนนักศึกษาแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ มีดังนี้
      ตารางที่ 7  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมในภาพรวมทุกด้าน
      
     จากตารางที่ 7 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมบันทึกผลงานนักเรียนนักศึกษาแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ โดยภาพรวมทุกด้าน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย คือ ( =4.50) เมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมินในแต่ละด้าน พบว่า ด้านการใช้ระบบด้านตรงตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรมมีค่าเฉลี่ย มากที่สุด คือ ( =4.54) และด้านการใช้ระบบด้านความง่ายต่อการใช้งานโปรแกรมมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ( =4.45)
11. การอภิปรายผล หรือการวิจารณ์และสรุป
          จากผลการสร้างและหาประสิทธิภาพใช้โปรแกรมบันทึกผลงานนักเรียนนักศึกษาแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ พบว่าโปรแกรมบันทึกผลงานนักเรียนนักศึกษาสามารถใช้งานได้จริงและเป็นประโยชน์ต่อรุ่นน้องที่จะนำไปพัฒนา จุดเด่นของโปรแกรมบันทึกผลงานนักเรียนนักศึกษานักเรียนนั้นสามารถจัดเก็บและโปรแกรมบันทึกผลงานนักเรียนนักศึกษาได้และเรียบง่ายต่อการใช้งานและยังสะดวกในการเลือกใช้ผลงานต่างๆของนักเรียนได้ รวมถึงลดปัญหาเรื่องของการเสียหายของผลงานต่อๆของนักเรียนได้ โปรแกรมมีระบบป้องกันการใส่ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องจะแสดงข้อความ pop-up และในจุดด้อยของโปรแกรมจากข้อเสนอแนะของกลุ่มประชากรตัวอย่างและจากผลการใช้งานทำให้สรุปข้อด้อยของโปรแกรมได้ คือ โปรแกรมไม่สามารถแยกผลงานระว่างซอฟแวร์กับฮาร์ดแวร์ ในผลงาน นักเรียนนักศึกษาและโปรแกรมยังไม่สามารถแบ่งปีการศึกษา
          นอกจากจุดเด่นและจุดด้อยของโปรแกรมยังมีด้านความต้องการของผู้ใช้โปรแกรมและด้านฟังก์ชันการทำงานอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านความง่ายต่อการใช้โปรแกรมอยู่ในระดับมาก เพราะโปรแกรมตอบสนองถึงความต้องการของผู้ใช้ในด้านการโชว์ผลงานผลงานอีกทั่งในส่วนของเมนูยังสะดวกต่อการค้นหาสำหรับผู้ใช้งาน ผู้จัดทำจึงได้วิเคราะห์และออกแบบระบบโดยนึกถึงความต้องการของผู้ใช้เป็นหลัก
12. ข้อเสนอแนะ
   1) ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้
         (1.1)  ควรปฏิบัติตามข้อแนะนำคู่มือการใช้งาน     
         (1.2)  ควรเลือกขนาดรูปภาพของผลงานอย่างแน่ชัด
   2) ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป
         (2.1)  ควรแบ่งประเภทของผลงานให้แน่ชัด
         (2.2)  ควรจัดรูปแบบเว็บไซต์ให้มีความดึงดูดน่าสนใจเพิ่มมากขึ้น
         (2.3)  ในการออกแบบควรนึกถึงความต้องการของผู้ใช้เป็นส่วนใหญ่
 
13. บรรณานุกรม
การใช้งานของ Adobe Photoshop.2559.[ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา:
        http://webquest.kanokrat.info/?page_id=1245
การใช้งานคำสั่งของเว็บไซต์. 2559. [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา:
        http://www.hellomyweb.com/course/html/
บัญชา ปะสีละเตสัง. พัฒนาเว็ปแอปพลิเคชั่น PHP ร่วมกับ MySQL และDreamweaver.  
            กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ประวัติความเป็นมาของ Adobe Photoshop. 2559.[ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา:
        http://bombzii10.blogspot.com/2016/02/adobe-photoshop.html ประวัติphoto shop 1
ประวัติAdobe Dreamweaver. 2559.[ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา:
        http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/tech04/47/page/1_introduce.html
 
14. ประวัติผู้จัดทำโครงการ
            
ชื่อ-สกุล          นายจิรายุทธ์     สนใจ
เกิดเมื่อวันที่       21 มีนาคม 2539
ที่อยู่ปัจจุบัน       68 ถ.ราษฎร์อุทิศ ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ 54000
วุฒิการศึกษา     ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
                 สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์
เบอร์โทร          087-5435906
อีเมล์             Jirayut325@gmail.com


            
ชื่อ-สกุล          นายธนิตย์     ชัยลอม
เกิดเมื่อวันที่       31 ธันวาคม 2538
ที่อยู่ปัจจุบัน       177/1  หมู่ 1 ตำบลหัวฝาย อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่  54130
วุฒิการศึกษา     ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
                 สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์
เบอร์โทร          080-4924088
อีเมล์             yuio054544@hotmail.com
 
ลิงค์ Youtube vdo