ชื่อผู้ใช้  
จำรหัสผ่าน
 
 
บทความโครงการ นักศึกษา
1. ชื่อโครงการ การสร้างและหาประสิทธิภาพโปรแกรมระบบฐานข้อมูลนักเรียนนักศึกษา ศิษย์เก่าและสถานประกอบการแผนกวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์
2. จัดทำโดย
    1. นายจิรวัฒน์ สุขสวัสดิ์
    2. นายณัฐวุฒิ ปานทอง
    3.
3. อีเมล์
jirawatsuksawat1@gmail.com , Nuttawod1996_nut@hotmail.com
4. บทคัดย่อ
        โครงการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างเว็บศิษย์เก่า เรื่อง การสร้างโปรแกรมระบบฐานข้อมูลนักเรียนนักศึกษา ศิษย์เก่าและสถานประกอบการแผนกวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา
         การดำเนินการโครงการใช้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 20 คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย () และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) โดยมีการสอนใช้โปรแกรมระบบฐานข้อมูลนักเรียนนักศึกษา ศิษย์เก่าและสถานประกอบการครั้งแรก จากนั้นจึงให้ทดลองใช้โปรแกรมระบบฐานข้อมูลนักเรียนนักศึกษา ศิษย์เก่าและสถานประกอบการ เสร็จแล้วให้นักเรียนตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ ในการใช้โปรแกรมระบบฐานข้อมูลนักเรียนนักศึกษา ศิษย์เก่าและสถานประกอบการ
         ผลการดำเนินการวิจัย พบว่าโปรแกรมระบบฐานข้อมูลนักเรียนนักศึกษา ศิษย์เก่าและสถานประกอบการ ที่สร้างขึ้น ผู้ใช้มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.44
5. บทนำ

        ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีบทบาทและมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนเราเป็นอย่างมากเพราะทำให้วิถีชีวิตเราทันสมัยและทันเหตุการณ์อยู่เสมอ  เนื่องจากอินเทอร์เน็ตจะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางต่าง ๆในปัจจุบัน  และสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้ผู้ใช้ทราบเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน  สารสนเทศที่เสนอในอินเทอร์เน็ตจะมีมากมายหลายรูปแบบเพื่อสนองความสนใจและความต้องการของผู้ใช้ทุกกลุ่ม  อินเทอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งสารสนเทศสำคัญสำหรับทุกคนเพราะสามารถค้นหาสิ่งที่ตนสนใจได้ในทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางหรืออยู่ที่ที่ห่างกันและสามารให้คำปรึกษาได้ทันที  หรือแม้แต่การรับรู้ข่าวสารทางเว็บไซต์ก็สามารถอ่านได้ในอินเทอร์เน็ตจากเว็บไซต์ต่าง ๆ
        ในปัจจุบันมีการอินเตอร์เน็ตเป็นโลกยุคใหม่ที่ให้ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ และเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญของคนทั่วโลก และการที่จะทำให้นักเรียนนักศึกษาสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ได้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีเว็บไซต์ไว้เพื่อรองรับความต้องการและช่วยเหลือนักเรียนนักศึกษาที่จบออกไปแล้วแต่ไม่มีงานทำให้สามารถเข้ามาค้นหาสถานประกอบการที่ได้ลงทะเบียนไว้ อีกทั้งเป็นการประชาสัมพันธ์กิจกรรม ผลงาน ความสำเร็จของนักเรียนนักศึกษาการศึกษาภายในแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ และสามารถทำได้ตลอดเวลา
        ดังนั้นอินเทอร์เน็ตจึงมีความสำคัญกับวิถีชีวิตในปัจจุบันเป็นอย่างมากในทุก ๆ ด้านผู้จัดทำจึงได้จัดทำเว็บศิษย์เก่าเพื่อให้สามารถสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้และให้คำปรึกษาจากรุ่นพี่ได้เพื่อให้สามารรับรู้ข่าวสารผ่านเว็บไซต์ได้

6. วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1) เพื่อสร้างโปรแกรมระบบฐานข้อมูลนักเรียนนักศึกษา ศิษย์เก่าและสถานประกอบการแผนกวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์

2) เพื่อหาประสิทธิภาพโปรแกรมระบบฐานข้อมูลนักเรียนนักศึกษา ศิษย์เก่าและสถานประกอบการแผนกวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์

7. ขอบเขตของการวิจัย

โปรแกรมระบบฐานข้อมูลนักเรียนนักศึกษา ศิษย์เก่าและสถานประกอบการแผนกวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์
             1) ด้านเนื้อหา
                 (1) การเขียนและออกแบบเว็บไซต์
                 (2) คำสั่งในการจัดหน้า
                 (3) เชื่อมต่อเอกสารด้วย hyperlink
                 (4) List จัดข้อมลในเว็บให้เป็นระเบียบ
                 (5) CSS Syntax
                 (6) การงาน CSS
                 (7) โครงสร้างคำสั่งของ HTML
              2) ด้านขอบข่ายมีรายละเอียดดังนี้
                 (1) ความสามารถของโปรแกรมระบบฐานข้อมูลนักเรียนนักศึกษา ศิษย์เก่าและสถานประกอบการแผนกวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ มีดังนี้
                 (2) เก็บข้อมูลและประวัติของนักเรียนนักศึกษาที่จบการศึกษาของแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ในแต่ละปีได้
                 (3) สถานประกอบการสามารถลงข่าวสารการสมัครงานได้
                 (4) สารมารถบันทึกรายชื่อนักเรียนนักศึกษาเข้าไปใน Excel บน google drive ได้
              3) ด้านระยะเวลาและกลุ่มตัวอย่าง
                 (1) ด้านระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ภาคเรียน ที่ 2 ปีการศึกษา 2559
                 (2) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ กลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษา มีจำนวน 20 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง

8. สมมุติฐาน

โปรแกรมระบบฐานข้อมูลนักเรียนนักศึกษา ศิษย์เก่าและสถานประกอบการแผนกวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ ใช้ในการหาข้อมูลของสถานประกอบการและศิษย์เก่าที่จบในแต่ละปี

9. วิธีดำเนินการวิจัย

1) ศึกษาข้อมูลเพื่อเตรียมการโครงการ ผู้จัดทำได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการวิเคราะห์และโปรแกรมระบบฐานข้อมูลนักเรียนนักศึกษา ศิษย์เก่าและสถานประกอบการ
2) วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวการทำงานของตู้โปรแกรมระบบฐานข้อมูลนักเรียนนักศึกษา ศิษย์เก่าและสถานประกอบการและกำหนดขอบเขตเพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน
3) การสร้างโปรแกรมระบบฐานข้อมูลนักเรียนนักศึกษา ศิษย์เก่าและสถานประกอบการ
4) กำหนดกลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์สาขาวิชา ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 20 คน

9.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ กลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษา มีจำนวน 20 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง
9.2 สร้างเครื่องมือที่ใช้ในโครงการ
การสร้างและหาประสิทธิภาพโปรแกรมระบบฐานข้อมูลนักเรียนนักศึกษา ศิษย์เก่าและสถานประกอบการแผนกวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ มีขั้นตอนในการออกแบบ โดยมีรายละเอียด



             ภาพที่ 1 ลำดับขั้นตอนการดำเนินโครงการ

1.  วิเคราะห์สภาพปัญหาหรือประเมินความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม
 2.  ศึกษาทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้อง
 3.  กำหนดขอบเขตของโปรแกรม และฐานข้อมูลที่ใช้เขียนโปรแกรม
 4.  โปรแกรมระบบฐานข้อมูลนักเรียนนักศึกษา ศิษย์เก่าและสถานประกอบการแผนกวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์


                              ภาพที่ 2 การทำงานของเว็บไซต์

                                    ภาพที่ 3 ผังการทำงานของเว็บไซต์

5) เว็บไซต์ระบบฐานข้อมูลนักเรียนนักศึกษา ศิษย์เก่าและสถานประกอบการแผนกวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์
    (1) ภาพรวมของเว็บไซต์

                                        ภาพที่ 4 แสดงหน้าหลักของเว็บไซต์
    (2) หน้าต่างสมัครสมาชิกศิษย์เก่า

                                    ​ภาพที่ 5 หน้าต่างสมัครสมาชิกศิษย์เก่า
    (3) หน้าต่างสมัครสมาชิกของสถานประกอบการ

​                          ภาพที่ 6 หน้าต่างสมัครสมาชิกของสถานประกอบการ
    (4) เมนูข่าวสารการสมัครงานและหางานสมาชิกศิษย์เก่า

​                      ภาพที่ 7 เมนูข่าวสารการสมัครงานและหางานสมาชิกศิษย์เก่า
    (5) เมนูข่าวสารการสมัครงานและหางานสมาชิกศิษย์เก่า

                      ​ภาพที่ 8 เมนูข่าวสารการสมัครงานและหางานสมาชิกศิษย์เก่า
    (6) ลงประกาศข่าวสารการสมัครงาน

​                                 ภาพที่ 9 ลงประกาศข่าวสารการสมัครงาน
    (7) ลงประกาศข่าวสารการสมัครงาน

​                                ภาพที่ 10 ลงประกาศข่าวสารการสมัครงาน
    (8) แก้ไขประกาศข่าวของผู้ลงประกาศการสมัครงาน

​                     ภาพที่ 11 แก้ไขประกาศข่าวของผู้ลงประกาศการสมัครงาน
    (9) แก้ไขประกาศข่าวของผู้ลงประกาศการสมัครงาน

                      ​ภาพที่ 12 แก้ไขประกาศข่าวของผู้ลงประกาศการสมัครงาน
   (10) สรุปรายชื่อศิษย์เก่าทั้งหมด

​                                         ภาพที่ 13 สรุปรายชื่อศิษย์เก่าทั้งหมด
   (11) สรุปรายชื่อศิษย์เก่าทั้งหมด

                                     ​ภาพที่ 12 สรุปรายชื่อศิษย์เก่าทั้งหมด

6. ออกแบบเครื่องมือที่ใช้ประเมินประสิทธิภาพ
                            แบบฟอร์มการตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถาม
 ตารางที่ 1  
แบบฟอร์มการตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถามของผู้ทรงคุณวุฒิ

การวิเคราะห์เลือกคำถามจากผู้ทรงคุณวุฒิ
      ตารางที่ 
2  การวิเคราะห์เลือกคำถามจากผู้ทรงคุณวุฒิ

แสดงการคิดคำนวณค่า IOC
               ข้อ 1  ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                       จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                       ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667
                       มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
               ข้อ 2  ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                       จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                       ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667
                       มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
               ข้อ 3  ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                       จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                       ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                       มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
               ข้อ 4  ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                       จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                       ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667
                       มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
               ข้อ 5  ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                       จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                       ค่า IOC เท่ากับ 1/3 = 0.333
                       มีค่าน้อยกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ไม่ได้
               ข้อ 6  ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                       จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                       ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                       มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
               ข้อ 7  ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                       จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                       ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                       มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
               ข้อ 8  ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                       จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                       ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                       มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
               ข้อ 9  ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                       จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                       ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667
                       มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
               ข้อ 10 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                        จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                        ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                        มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
               ข้อ 11 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                        จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                        ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                        มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้

แบบประเมินความพึงพอใจการสร้างโปรแกรมระบบฐานข้อมูลนักเรียนนักศึกษาศิษย์เก่าและสถานประกอบการแผนกวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์
        แบบประเมินผลความพึงพอใจการสร้างโปรแกรมระบบฐานข้อมูลนักเรียนนักศึกษา ศิษย์เก่าและสถานประกอบการแผนกวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ใช้ ที่มีต่อโปรแกรมระบบฐานข้อมูลนักเรียนนักศึกษา ศิษย์เก่าและสถานประกอบการแผนกวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ ผลการประเมินของท่านจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปรับปรุงโปรแกรมระบบฐานข้อมูลนักเรียนนักศึกษา ศิษย์เก่าและสถานประกอบการแผนกวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ ให้มีความสมบูรณ์และดียิ่งขึ้นไป
คำชี้แจง แบบประเมินแบ่งออกเป็น 3 ตอน
          ตอนที่  1 เป็นข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
          ตอนที่  2 ความสะดวกในการใช้งาน โปรแกรมระบบฐานข้อมูลนักเรียนนักศึกษา ศิษย์เก่าและสถานประกอบการแผนกวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์
ด้านที่ 1 ด้านโครงสร้าง
ด้านที่ 2 ด้านการใช้งาน
ด้านที่ 3 ด้านคุณค่าโดยสรุป
          ตอนที่  3 เป็นข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ                                                     
ตอนที่ 1 เป็นข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถามโปรดทำเครื่องหมาย ü ลงใน £ ที่อยู่หน้าข้อความที่เกี่ยวข้องกับผู้ประเมิน                                                                                               
1.  เพศ
                             ชาย          หญิง
2.  อายุ
                             ต่ำกว่า 20 ปี 21-30 ปี 31-40 ปี41-50 ปี สูงกว่า 50 ปี
3.  อาชีพของท่าน
                             ไม่มีอาชีพ    เกษตรกร    ข้าราชการ    นักเรียน/นักศึกษา 
อื่น ๆ ระบุ..................................
ตอนที่  2 เป็นแบบประเมินความพึงพอใจ ในการใช้โปรแกรมระบบฐานข้อมูลนักเรียนนักศึกษา ศิษย์เก่าและสถานประกอบการแผนกวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ ซึ่งประเมิน ทั้งหมด 3 ด้านดังนี้
ด้านที่ 1 ด้านโครงสร้าง
ด้านที่ 2 ด้านการใช้งาน
ด้านที่ 3 ด้านคุณค่าโดยสรุป
 
คำชี้แจง  โปรดทำเครื่องหมาย √ ลงในช่องที่ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด
                             5 หมายถึง ในระดับดี มากที่สุด
                             4 หมายถึง ในระดับดี มาก
                             3 หมายถึง ในระดับดี ปานกลาง
                             2 หมายถึง ในระดับดี น้อย
                             1 หมายถึง ในระดับดี น้อยที่สุด
ตารางที่ 3  แบบประเมินผลความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมระบบฐานข้อมูลนักเรียนนักศึกษา ศิษย์เก่าและสถานประกอบการแผนกวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์

ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
9.3 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล
       โครงการครั้งนี้ เลือกนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ สาขาวิชา ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวะศึกษา เพื่อหาคำตอบของโครงการครั้งนี้โดยกำหนดเป็นขั้นตอนได้ดังนี้


ภาพที่ 13 ผังแสดงกระบวนการวิเคราะห์ออกแบบเครื่องมือสำหรับการประเมิน

ภาพที่ 14 การทดลองใช้โปรแกรมระบบฐานข้อมูลนักเรียนนักศึกษา ศิษย์เก่าและสถานประกอบการ


ภาพที่ 15 การทดลองใช้โปรแกรมระบบฐานข้อมูลนักเรียนนักศึกษา ศิษย์เก่าและสถานประกอบการ
9.4 การวิเคราะห์ข้อมูล
1)  การวิเคราะห์คุณภาพของแบบประเมิณ
     การหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างแบบประเมินและวัตถุประสงค์                                                   
                            
            IOC   คือ ค่าดัชนีความสอดคล้อง(Index of Congruency)
            คือ ผลรวมคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
             N      คือ จำนวนผู้เชี่ยวชาญ
2)  การวิเคราะห์หาคุณภาพชุดการสอนจากผู้เชี่ยวชาญ
                               
                แทน คะแนนเฉลี่ย

           แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด

             N     แทน จำนวนข้อมูล
3) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard Deviation)
                         
              S.D  คือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มตัวอย่าง  

             คือ ผลของคะแนนแต่ละตัวยกกำลังสอง

              คือ ผลรวมของคะแนนทั้งหมดยกกำลังสอง
                N        คือ จำนวนข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง
10. ผลของการวิจัย
       การวิเคราะห์ข้อมูลการใช้โปรแกรมระบบฐานข้อมูลนักเรียนนักศึกษา ศิษย์เก่าและสถานประกอบการแผนกวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์มีการวิเคราะห์โดยแยกเป็นตอนตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาและผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยขอนำเสนอตามลำดับ โดยเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล รวม 5 ตอน ดังนี้
                   ตอนที่ 1  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
                   ตอนที่ 2  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม
                   ตอนที่ 3  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบด้านการทำงานตามฟังก์ชันการทำงาน
                   ตอนที่ 4  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบด้านความง่ายต่อการใช้งานโปรแกรม
                   ตอนที่ 5  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบในภาพรวมทุกด้าน
ตอนที่ 1  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
ตารางที่ 4  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
             พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทั้ง 20 คน เป็นเพศชาย20คน คิดเป็น 100% และอายุส่วนใหญ่อยู่ที่เกณฑ์ 16-20ปี  คิดเป็น 100% ประสบการณ์ใช้งานโปรแกรมคิดเป็น 100%

ตอนที่ 2  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบด้านตรงตามความต้องการของผู้ใช้เว็บไซต์
              ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมระบบฐานข้อมูลนักเรียนนักศึกษา ศิษย์เก่าและสถานประกอบการแผนกวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม คือ ในแต่ละฟอร์มการทำงานระบบด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม เหมาะสมกับการใช้โปรแกรมระบบฐานข้อมูลนักเรียนนักศึกษา ศิษย์เก่าและสถานประกอบการแผนกวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์
 ตารางที่ 5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม

                จากตารางที่ 5 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมระบบฐานข้อมูลนักเรียนนักศึกษา ศิษย์เก่าและสถานประกอบการแผนกวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ ด้านตรงตามความต้องการของผู้ใช้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด คือ = 4.54) และเมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมิน พบว่า ทุกรายการอยู่ในระดับมากและมากที่สุด โดยความพึงพอใจด้านความสามารถของโปรแกรมส่วนความสามารถ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ( = 4.65) และด้านความสามารถของโปรแกรมส่วนการแสดงผลงาน มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ( = 4.45)

ตอนที่ 3  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบด้านการทำงานตามฟังก์ชันการทำงาน
              ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมระบบฐานข้อมูลนักเรียนนักศึกษา ศิษย์เก่าและสถานประกอบการแผนกวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ ด้านการทำงานตามฟังก์ชันการทำงานคือระบบมีความสะดวกในการใช้งาน ใช้งานได้อย่างคล่องแคล่วรวดเร็ว
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบด้านการทำงานตามฟังก์ชันการทำงาน
ตารางที่ 6 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบด้านการทำงานตามฟังก์ชันการทำงาน

                 จากตารางที่ 6 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมระบบฐานข้อมูลนักเรียนนักศึกษา ศิษย์เก่าและสถานประกอบการแผนกวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ ด้านการทำงานตามฟังก์ชันการทำงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด คือ  ( = 4.53) และเมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมิน พบว่า ทุกรายการอยู่ในระดับมากและมากที่สุด โดยความพึงพอใจด้านโปรแกรมมีระบบป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ( = 4.60) และด้านการใช้คำสั่งต่าง ๆ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ( = 4.50)

ตอนที่ 4  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบด้านความง่ายต่อการใช้งานโปรแกรม
              ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมระบบฐานข้อมูลนักเรียนนักศึกษา ศิษย์เก่าและสถานประกอบการแผนกวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ ด้านความง่ายต่อการใช้งานโปรแกรมคือระบบมีความสะดวกรวดเร็วในการใช้งาน
ตารางที่ 7 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบด้านความง่ายต่อการใช้งานโปรแกรม

                 จากตารางที่ 7 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมระบบฐานข้อมูลนักเรียนนักศึกษา ศิษย์เก่าและสถานประกอบการแผนกวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ ด้านความง่ายต่อการใช้การโปรแกรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก คือ  ( = 4.45) และเมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมิน พบว่า ทุกรายการอยู่ในระดับมากและมากที่สุด โดยความพึงพอใจด้านความเหมาะสมในการใช้สัญลักษณ์หรือรูปภาพในการสื่อความหมาย มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ( = 4.60) และด้านความเหมาะสมในการใช้ข้อความเพื่ออธิบายสื่อ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ( = 4.30)

ตอนที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมในภาพรวมทุกด้าน
             สรุปภาพรวมผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมระบบฐานข้อมูลนักเรียนนักศึกษา ศิษย์เก่าและสถานประกอบการแผนกวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ มีดังนี้
ตารางที่ 8 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมในภาพรวมทุกด้าน

               จากตารางที่ 8 ความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมระบบฐานข้อมูลนักเรียนนักศึกษา ศิษย์เก่าและสถานประกอบการแผนกวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ โดยภาพรวมทุกด้าน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย คือ ( =4.50) เมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมินในแต่ละด้าน พบว่า ด้านการใช้ระบบด้านตรงตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรมมีค่าเฉลี่ย มากที่สุด คือ ( =4.54) และด้านการใช้ระบบด้านความง่ายต่อการใช้งานโปรแกรมมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ( =4.45)
11. การอภิปรายผล หรือการวิจารณ์และสรุป
        การสร้างและหาประสิทธิภาพโปรแกรมระบบฐานข้อมูลนักเรียนนักศึกษา ศิษย์เก่าและสถานประกอบการแผนกวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ในการทดลองใช้งานเพื่อหาประสิทธิภาพของโปรแกรม ในการตอบแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้งาน พบว่า ควรเลือกใช้ชนิด ขนาด สีตัวอักษรบนเว็บไซต์ให้เหมาะสม ยังให้ความเห็นว่าควรใช้ตัวอักษรที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและควรออกแบบโครงสร้างของเว็บไซต์ให้ดึงดูดความน่าสนใจมากกว่านี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในงานใช้งาน
        ความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมระบบฐานข้อมูลนักเรียนนักศึกษา ศิษย์เก่าและสถานประกอบด้านตรงตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม พบว่า ความพึงพอใจในความสามารถของโปรแกรมในส่วนการออกแบบหน้าเว็บ เป็นรายการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมามีความพึงพอใจใจความสามารถในส่วนของโปรแกรมส่วนการแสดงข้อมูลผลงานอยู่ในระดับมากที่สุด
        ความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมระบบฐานข้อมูลนักเรียนนักศึกษา ศิษย์เก่าและสถานประกอบด้านการทำงานตามฟังก์ชันการทำงาน พบว่า โปรแกรมมีระบบป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นเป็นรายการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมามีความพึงพอใจในส่วนของความเร็วในการทำงานของโปรแกรมและโปรแกรมที่สร้างมีความครอบคลุมกับการใช้งานจริง อยู่ในระดับมากที่สุด
12. ข้อเสนอแนะ
1) ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้
    (1)  ควรปฏิบัติตามข้อแนะนำคู่มือการใช้งาน     
    (2)  ควรลงทะเบียนก่อนใช้งานระบบศิษย์เก่า
2) ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป
    (1)  สามารถติดต่อศิษย์เก่าได้
    (2)  ควรจัดรูปแบบเว็บไซต์ให้มีความดึงดูดน่าสนใจเพิ่มมากขึ้น
    (3)  ในการออกแบบควรนึกถึงความต้องการของผู้ใช้เป็นส่วนใหญ่
 
13. บรรณานุกรม
การใช้งานของ Adobe Photoshop.2559.[ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา:
http://webquest.kanokrat.info/?page_id=1245
การใช้งานคำสั่งของเว็บไซต์. 2559. [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา:
http://www.hellomyweb.com/course/html/
บัญชา ปะสีละเตสัง. พัฒนาเว็ปแอปพลิเคชั่น PHP ร่วมกับ MySQL และDreamweaver.  
กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ประวัติความเป็นมาของ Adobe Photoshop. 2559.[ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา:
http://bombzii10.blogspot.com/2016/02/adobe-photoshop.html ประวัติphoto shop 1
ประวัติAdobe Dreamweaver. 2559.[ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา:
http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/tech04/47/page/1_introduce.html
 
14. ประวัติผู้จัดทำโครงการ


ชื่อ-สกุล
            นายจิรวัฒน์ สุขสวัสดิ์
เกิดเมื่อวันที่        31 ธันวาคม 2539
ที่อยู่ปัจจุบัน        42 หมู่ 14 ตำบลห้วยม้า อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ 54000
วุฒิการศึกษา      ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพสูง (ปวส.)
                         สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์
เบอร์โทร             086-4476684
อีเมล์                  jirawatsuksawat1@gmail.com
 
 
 
 
ชื่อ-สกุล             นายณัฐวุฒิ ปานทอง
เกิดเมื่อวันที่        04 เมษายน 2539
ที่อยู่ปัจจุบัน       103 หมู่ 9 ตำบล หัวทุ่ง อำเภอลอง จังหวัด แพร่ 54150
วุฒิการศึกษา      ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
                         สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์
เบอร์โทร            088-7703826
อีเมล์                 Nuttawod1996_nut@hotmail.com
 
ลิงค์ Youtube vdo