ชื่อผู้ใช้  
จำรหัสผ่าน
 
 
บทความโครงการ นักศึกษา
1. ชื่อโครงการ การสร้างและหาประสิทธิภาพระบบสร้างและวิเคราะห์แบบสอบถาม
2. จัดทำโดย
    1. นายสุพศิน กวางประสิทธิ์
    2. นายนันทวัฒน์ มะลิลา
    3.
3. อีเมล์
ืicename159@hotmail.com
4. บทคัดย่อ
        โครงการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างระบบการเรียนรู้ เรื่อง การสร้างและหาประสิทธิภาพระบบสร้างและวิเคราะห์แบบสอบถาม สำหรับการเก็บเอกสารที่สำคัญของแผนก ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา
        การดำเนินการโครงการใช้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 20 คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย (X) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) โดยมีการสอนใช้ระบบสร้างและวิเคราะห์แบบสอบถามในครั้งแรก จากนั้นจึงให้ทดลองใช้ระบบสร้างและวิเคราะห์แบบสอบถามด้วยตนเองเสร็จแล้วให้นักเรียนตอบแบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้ระบบ
5. บทนำ
         ในปัจจุบันนั้นการการสร้างแบบสอบถามมีมากมายหลากหลายและแบบสอบถามที่ใช้ก็จะแตกต่างกันและแบบสอบถามเป็นสิ่งพื้นฐานของทุกๆ งานวิจัยและจำเป็นต้องศึกษาเพื่อเป็นพื้นฐานในการนำไปประยุกต์กับแบบสอบถามอื่นๆ แบบสอบถามเป็นชุดของข้อความหรือข้อคำถามที่สร้างขึ้นมาเพื่อสอบถามความคิดเห็น  ความต้องการ  ความสนใจ  เจตคติ  ของผู้ตอบที่มีต่อสิ่งที่ผู้สร้างต้องการทราบ เหตุนี้ทางผู้จัดทำจึงเกิดความคิดที่อยากระบบสร้างแบบสอบถามที่เข้าถึงง่ายและมีความสะดวกในการจัดทำแบบสอบถาม
        ดังนั้นผู้จัดทำจึงสร้างระบบสร้างแบบสอบถามขึ้นมาเพื่อเป็นแนวทางและเครื่องมือให้กับนักเรียน นักศึกษา สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ เพื่อให้กระบวนการเรียนรู้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
 
6. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
        1.2.1 เพื่อสร้างเว็บไซต์ระบบสร้างและวิเคราะห์แบบสอบถาม
        1.2.2 เพื่อหาประสิทธิภาพของ เว็บไซต์ระบบสร้างและวิเคราะห์แบบสอบถาม
 
7. ขอบเขตของการวิจัย
       1.4.1  ด้านขอบข่ายมีรายละเอียด ดังนี้
                (1)  สร้างและวิเคราะห์แบบสอบถาม
                (2)  คำนวณและวิเคราะห์ผลแบบสอบถาม
       1.4.2  ด้านเนื้อหามีรายละเอียด ดังนี้
                (1)  โปรแกรม  Dreamweaver
                (2)  ภาษา PHP
                (3)  ภาษา HTML
                (5)  ภาษา CSS               
                (6)  ภาษา JAVA scrip
                (7)  โปรแกรม Net beans
       1.4.3  ด้านระยะเวลาและกลุ่มตัวอย่าง 
                (1)  ตลอดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559
                (2)  ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ กลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษา มีจำนวน 20 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง
 
8. สมมุติฐาน
        นักศึกษาสามารถสร้างแบบสอบถามเพื่อใช้ในการประเมินคุณภาพความพึงพอใจและวิเคราะห์ผลของแบบสอบถามได้อย่างแม่นยำและสะดวกสบายและสามารถนำไปใช้กับการสร้างแบบสอบถามที่หลากหลายและสามารถวิเคราะห์ผลได้
9. วิธีดำเนินการวิจัย
3.1  วิเคราะห์สภาพปัญหาหรือประมาณความต้องการของผู้ใช้ระบบ
         เพื่อหาแนวทางแก้ไขปรับปรุงโดยการสร้างหรือพัฒนาระบบให้สอดคล้องและสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โครงการสร้างและหาประสิทธิภาพของ เว็บไซต์ระบบสร้างและวิเคราะห์แบบสอบถามโดย ศึกษาสภาพปัญหา พบว่า
         3.1.1  การทำแบบสอบถามมีความยุ่งยากในการจัดทำแบบสอบถามขึ้นมา
         3.1.2  แบบสอบถามนั้นมีความกว้างขวางและหลากหลาย                             
         3.1.3  ความยุ่งยากในการคำนวณหาค่าเฉลี่ย
 
3.2  ศึกษาทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้อง
         3.2.1  แบบสอบถาม (Questionnaires)
                   แบบสอบถามเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่สร้างขึ้นเพื่อวัดความคิดเห็นต่างๆ หรือวัดความจริงที่ไม่ทราบ อันจะทำให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงทั้งในอดีตปัจจุบันและการคาดคะเนเหตุการณ์ในอนาคตส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของคำถามเป็นชุดๆ เพื่อวัดสิ่งที่ต้องการวัด โดยมีคำถามเป็นตัวกระตุ้นเร่งเร้า ให้บุคคลตอบออกมา นับว่าเป็นเครื่องมือที่นิยมใช้วัดทางด้านจิตพิสัย
(Affective Domain) แบบสอบถามมีหลายชนิดแต่ไม่ว่าจะเป็นแบบสอบถามชนิดใดจะมีโครงสร้างหรือ ส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน ดังนี้
                   (1)  คำชี้แจงในการตอบแบบสอบถาม
                   (2)  สถานภาพทั่วไป ในส่วนนี้เป็นรายละเอียดส่วนตัวของผู้ตอบ
                   (3)  ข้อคำถามเกี่ยวกับพฤติกรรมที่จะวัดจะถามเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการจะวัด
 
3.3  กำหนดวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวกับการสร้างและหาประสิทธิภาพระบบ
       โครงการสร้างและหาประสิทธิภาพของ เว็บไซต์ระบบสร้างและวิเคราะห์แบบสอบถาม ใช้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้อง
3.4  หาข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและพัฒนาระบบ
       3.4.1  คอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง
       3.4.2  โปรแกรม Net Beans IDE 8.2
       3.4.3  สัญญาณ Internet
 
9.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
        นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ กลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษา มีจำนวน 20 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง
9.2 สร้างเครื่องมือที่ใช้ในโครงการ
        การสร้างและหาประสิทธิภาพของ เว็บไซต์ระบบสร้างและวิเคราะห์แบบสอบถาม  มีขั้นตอนในการออกแบบ โดยละเอียด ดังแสดงในรูปที่ 3.1

                                        
                                             รูปที่ 3.1  ลำดับขั้นตอนการดำเนินโครงการ

3.1  วิเคราะห์สภาพปัญหาหรือประมาณความต้องการของผู้ใช้ระบบ
3.2  ศึกษาทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้อง

3.3  กำหนดวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวกับการสร้างและหาประสิทธิภาพระบบ
3.4  หาข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและพัฒนาระบบ

3.5  ออกแบบสร้างและพัฒนาระบบ
3.6  สร้างระบบสร้างและวิเคราะห์แบบสอบถาม


 
9.3 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล
            โครงการครั้งนี้ เลือกนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ สาขาวิชา ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวะศึกษา เพื่อหาคำตอบของโครงการครั้งนี้โดยกำหนดเป็นขั้นตอนได้ดังนี้

                                        
                         ภาพที่ 14 ผังแสดงกระบวนการวิเคราะห์ออกแบบเครื่องมือสำหรับการประเมิน

                                       
                                              รูปที่ 3.16  การสอนวิธีใช้ระบบให้กับนักเรียน
 
                                       
                                              รูปที่ 3.17  การสอนวิธีใช้ระบบให้กับนักเรียน
 
                                       
                                     รูปที่ 3.18  การทดลองใช้ระบบสร้างและวิเคราะห์แบบสอบถาม
 
9.4 การวิเคราะห์ข้อมูล
1)  การวิเคราะห์คุณภาพของแบบประเมิณ
     การหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างแบบประเมินและวัตถุประสงค์                                                   
                            
            IOC   คือ ค่าดัชนีความสอดคล้อง(Index of Congruency)
            คือ ผลรวมคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
             N      คือ จำนวนผู้เชี่ยวชาญ
2)  การวิเคราะห์หาคุณภาพชุดการสอนจากผู้เชี่ยวชาญ
                               
                แทน คะแนนเฉลี่ย

           แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด

             N     แทน จำนวนข้อมูล
3) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard Deviation)
                         
              S.D  คือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มตัวอย่าง  

             คือ ผลของคะแนนแต่ละตัวยกกำลังสอง

              คือ ผลรวมของคะแนนทั้งหมดยกกำลังสอง
                N        คือ จำนวนข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง
10. ผลของการวิจัย
        การวิเคราะห์ข้อมูลการใช้โปรแกรมแปลงรหัสนีโมนิกเป็นภาษาแอสเซมบลี ระบบออนไลน์ มีการวิเคราะห์โดยแยกเป็นตอนตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาและผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยขอนำเสนอตามลำดับ โดยเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล รวม 5 ตอน ดังนี้
                          ตอนที่ 1  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
                          ตอนที่ 2  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้ระบบ
                          ตอนที่ 3  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบด้านการทำงานตามฟังก์ชันการทำงาน
                          ตอนที่ 4  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบด้านความง่ายต่อการใช้งานระบบ
                          ตอนที่ 5  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบในภาพรวมทุกด้าน      
สัญลักษณ์ที่ใช้ในการแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูล
                                  แทน ค่าเฉลี่ย
                         SD       แทน ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
                         P          แทน ค่าร้อยละ

4.1  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
ตารางที่ 4.1  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
        
             จากตารางที่ 4.1 พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทั้ง 20 คน เป็นเพศชาย 20 คน คิดเป็น 100% และอายุส่วนใหญ่อยู่ที่เกณฑ์ 16-20 ปี  คิดเป็น 100%  ประสบการณ์ใช้งานโปรแกรมคิดเป็น 100%
 
4.2  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบด้านตรงตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม
        ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมแปลงรหัสนีโมนิกเป็นภาษาแอสเซมบลี ระบบออนไลน์  ด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม คือ ในแต่ละฟอร์มการทำงานระบบด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม เหมาะสมกับการใช้โปรแกรมแปลงรหัสนีโมนิกเป็นภาษาแอสเซมบลี ระบบออนไลน์
ตารางที่ 4.2  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม
                     
             จากตารางที่ 4.2 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมแปลงรหัสนีโมนิกเป็น
ภาษาแอสเซมบลี ระบบออนไลน์ ด้านตรงตามความต้องการของผู้ใช้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด คือ  ( = 4.54) และเมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมิน พบว่า ทุกรายการอยู่ในระดับมากและมากที่สุด โดยความพึงพอใจด้านความสามารถของโปรแกรมส่วนการแปลงรหัสรหัสนีโมนิก มีค่าเฉลี่ย มากที่สุด คือ ( = 4.65) และด้านความสามารถของโปรแกรมส่วนการแสดงข้อความ POP-UP มีค่าเฉลี่ย น้อยที่สุด คือ ( = 4.45)
 
4.3  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบด้านการทำงานตามฟังก์ชันการทำงาน
        ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมแปลงรหัสนีโมนิกเป็นภาษาแอสเซมบลี ระบบออนไลน์ ด้านการทำงานตามฟังก์ชันการทำงาน คือระบบมีความสะดวกในการใช้งาน ใช้งานได้อย่างคล่องแคล่วรวดเร็ว
ตารางที่ 4.3  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบด้านการทำงานตามฟังก์ชันการทำงาน
          
             จากตารางที่ 4.3 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมแปลงรหัสนีโมนิกเป็น
ภาษาแอสเซมบลี ระบบออนไลน์ ด้านการทำงานตามฟังก์ชันการทำงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด คือ  ( = 4.53) และเมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมิน พบว่า ทุกรายการอยู่ในระดับมากและมากที่สุด โดยความพึงพอใจด้านโปรแกรมมีระบบป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น มีค่าเฉลี่ย มากที่สุด คือ (  = 4.60) และด้านความถูกต้องของผลลัพธ์ที่ได้จากการแปลงรหัสนีโมนิก มีค่าเฉลี่ย น้อยที่สุด คือ ( = 4.40)

4.4  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบด้านความง่ายต่อการใช้งานโปรแกรม
        ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมแปลงรหัสนีโมนิกเป็นภาษาแอสเซมบลี ระบบออนไลน์ ด้านความง่ายต่อการใช้งานโปรแกรม คือระบบมีความสะดวกรวดเร็วในการใช้งาน
ตารางที่ 4.4  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบด้านความง่ายต่อการใช้งานโปรแกรม
             
             จากตารางที่ 4.4 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมแปลงรหัสนีโมนิกเป็น
ภาษาแอสเซมบลี ระบบออนไลน์ ด้านความง่ายต่อการใช้การโปรแกรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก คือ  (  = 4.45) และเมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมิน พบว่า ทุกรายการอยู่ในระดับมากและมากที่สุด โดยความพึงพอใจด้านความเหมาะสมในการใช้สัญลักษณ์หรือรูปภาพในการสื่อความหมาย มีค่าเฉลี่ย มากที่สุด คือ ( = 4.60) และด้านความเหมาะสมในการใช้ข้อความเพื่ออธิบายสื่อความหมายของโปรแกรม มีค่าเฉลี่ย น้อยที่สุด คือ ( = 4.30)

4.5  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมในภาพรวมทุกด้าน
        สรุปภาพรวมผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมแปลงรหัสนีโมนิกเป็นภาษาแอสเซมบลี ระบบออนไลน์  มีดังนี้
ตารางที่ 4.5  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมในภาพรวมทุกด้าน
              
             จากตารางที่ 4.5 ความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมแปลงรหัสนีโมนิกเป็นภาษาแอสเซมบลี ระบบออนไลน์ โดยภาพรวมทุกด้าน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย คือ (  = 4.50) เมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมินในแต่ละด้าน พบว่า ด้านการใช้ระบบด้านตรงตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม มีค่าเฉลี่ย มากที่สุด คือ (  = 4.54) และด้านการใช้ระบบด้านความง่ายต่อการใช้งานโปรแกรม มีค่าเฉลี่ย ต่ำที่สุด คือ (  = 4.45)
 
 
11. การอภิปรายผล หรือการวิจารณ์และสรุป
        จากผลสร้างและหาประสิทธิภาพระบบสร้างและวิเคราะห์แบบสอบถาม พบว่าระบบสร้างและวิเคราะห์แบบสอบถามสามารถใช้งานได้จริงและเป็นประโยชน์ต่อการใช้สร้างแบบสอบถาม จุดเด่นของระบบสร้างและวิเคราะห์แบบสอบถามนั้นสามารถลดเวลาการจัดทาแบบสอบถามเพื่อความรวดเร็วและเรียบง่ายต่อการทางานและยังนาค่าเฉลี่ยของการวิเคราะห์แบบสอบถามที่ได้ ไปคานวณเป็นผลของการวิเคราะห์แบบสอบถามได้ ระบบมีระบบป้องกันการทาซ้าที่ไม่สามารถเข้ามาตอบแบบสอบถามเป็นครั้งที่สองได้ ทั้งนี้ระบบที่สร้างขึ้นมีความครอบคลุมกับการใช้งานจริงและสอดคล้องกับความต้องการในการสร้างแบบสอบถามจุดด้อยของระบบจากข้อเสนอแนะของกลุ่มประชากรตัวอย่างและจากผลการใช้งานทาให้สรุปข้อด้อยของระบบได้ คือ ในส่วนของการแสดงเนื้อหาจากการวิเคราะห์แบบสอบถามคือ ระบบไม่สามารถแสดงผลการวิเคราะห์ย่อยในแต่ละด้านได้
        นอกจากจุดเด่นและจุดด้อยของระบบยังมีด้านความต้องการของผู้ใช้ระบบและด้านฟังก์ชันการทางานอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านความง่ายต่อการใช้ระบบอยู่ในระดับมาก เพราะระบบตอบสนองถึงความต้องการของผู้ใช้ในด้านการสร้างและวิเคราะห์แบบสอบถามในส่วนของเมนูยังสะดวกต่อการสร้างและใช้งานสาหรับผู้ใช้งาน ผู้จัดทาจึงได้วิเคราะห์และออกแบบระบบโดยนึกถึงความต้องการของผู้ใช้เป็นหลัก
12. ข้อเสนอแนะ
5.3.1 ข้อเสนอแนะในการนาไปใช้
         (1) ควรปฏิบัติตามข้อแนะนาคู่มือการใช้งาน
         (2) ผู้ใช้จะต้องมีความรู้พื้นฐานในการจัดทาแบบสอบถามพอสมควร
5.3.2 ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป
         (1) ควรมีระบบจัดการฐานข้อมูลบนเว็บไซต์ ทาให้สะดวกแก่การแก้ไข
         (2) ควรจัดรูปแบบเว็บไซต์ให้มีความดึงดูดน่าสนใจเพิ่มมากขึ้น
         (3) ในการออกแบบควรนึกถึงความต้องการของผู้ใช้เป็นส่วนใหญ่
13. บรรณานุกรม
        ต่าย เซี่ยงฉี. (2523). หลักการวัดผลและประเมินผลการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.reg.cmu.ac.th/qa_new/fileslink/research02_2.pdf
        ศรีน้อย มาศเกษม.(2535). การสำรวจชุมชน. ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
[ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา: http://vet.kku.ac.th/publich/questionnaires%20design2007.pdf
        อุทุมพร ทองอุไทย. (2519). แบบสอบถาม: การสร้างและการใช้.ปรีชาการพิมพ์กรุงเทพฯ หน้า 40.
14. ประวัติผู้จัดทำโครงการ
                       
ชื่อ-สกุล          นายนันทวัฒน์ มะลิลา
เกิดเมื่อวันที่       13 ตุลาคม 2539
ที่อยู่ปัจจุบัน       86/1 หมู่ 2 ตำบลเวียงต้า อำเภอลองจังหวัดแพร่ 54150
วุฒิการศึกษา     ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพสูง (ปวส.)
                 สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์
เบอร์โทร          094-8414904
อีเมล์             nantawat.ma@gmail.com
 
                        
ชื่อ-สกุล          นายสุพศิน  กวางประสิทธิ์
เกิดเมื่อวันที่       4 กรกฎาคม 2539
ที่อยู่ปัจจุบัน       8/1 หมู่ 12 ตำบลน้ำชำ อำเภอสูงเม่นจังหวัดแพร่ 54130
วุฒิการศึกษา     ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
                 สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์
เบอร์โทร          087-3588683
อีเมล์             Suphasin@hotmail.com
 
 
ลิงค์ Youtube vdo