ชื่อผู้ใช้  
จำรหัสผ่าน
 
 
บทความโครงการ นักศึกษา
1. ชื่อโครงการ การสร้างและพัฒนาเพื่อหาประสิทธิภาพ ชุดจำลองการล็อคและปลดล็อคประตูผ่านแอพพลิเคชั่นแอนดรอยด์
2. จัดทำโดย
    1. นายเชิดชัย วันลังกา
    2. นายนพรัตน์ พัฒนจันทร์
    3. นายกฤษณพล ติแก้ว
3. อีเมล์
jangvanlangka@hotmail.com, bigzaphrae4@gmail.com , love054523552@hotmail.com
4. บทคัดย่อ
       โครงการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพเครื่องขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปอัตโนมัติ สำหรับนักศึกษาแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษาการดำเนินการโครงการใช้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 20 คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ยและค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) โดยมีการสอนใช้ชุดจำลองการล็อคและปลดล็อคประตูผ่านแอพพลิเคชั่นแอนดรอยด์ในครั้งแรก  จากนั้นจึงให้ทดลองใช้ชุดจำลองการล็อคและปลดล็อคประตูด้วยตนเอง เสร็จแล้วให้นักเรียนตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ ในการใช้ชุดจำลองการล็อคและปลดล็อคประตูผ่านแอพพลิเคชั่นแอนดรอยด์ผลการดำเนินการวิจัย พบว่า ชุดจำลองการล็อคและปลดล็อคประตูผ่านแอพพลิเคชั่นแอนดรอยด์ ที่สร้างขึ้น ผู้ใช้มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก โดยมีค่าเฉลี่ย 3.90
 
5. บทนำ
       ปัจจุบันความปลอดภัยในบ้านเป็นสิ่งสำคัญเพราะบ้านเป็นที่พักอาศัยของมนุษย์เรื่องความปลอดภัยจึงจำเป็นมากเพราะมีทรัพย์สินอยู่ในบ้านและเมื่อออกไปทำธุระภายนอกบ้าน  การล็อคประตูนั้นถือเป็นการรักษาความปลอดภัยของทรัพย์สินภายในบ้านในระดับหนึ่ง ดั้งนั้นการล็อคประตูบ้านถือเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในบ้านป้องกันทรัพย์สินที่อาจจะถูกโจรกรรม และอาชญากรรม ซึ่งเป็นการกระทำผิด โดยทำให้เกิดความเดือดร้อน เสียหาย ต่อ ทรัพย์สิน หรือ บุคคล เป็นการเรียกการกระทำทางคดีอาญาแบบทั่วไป ตัวอย่าง อาชญากรรม เช่น การฆ่าคนตาย ปล้นทรัพย์ ข่มขืน อยู่แต่ในบ้านใช่ว่าจะปลอดภัยเมื่อไหร่กัน ข่าวคราวขโมยขึ้นบ้านลักทรัพย์ยังดังระงมอย่างครึกโครม ฉะนั้นท่านควรจะดูแลที่พักอาศัยให้อยู่ในสภาพที่มิดชิดไม่เป็นสิ่งล่อใจให้คนร้ายกระทำการในบ้านท่านได้ หากคุณเป้นเจ้าของบ้านหลังที่คุณอาศัยอยู๋เองคุณคสรเลือกกลอนประตูและกลอนหน้าต่างที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน เพื่อป้องกันการงัดจากพากมิจฉาชีพ ถ้าคุณเพิ่งย้ายเข้าไปอยู่ในบ้านเช่าควรเปลี่ยนลูกบิดหรือประตูกลอนชุดใหม่เพื่อป้องกันการบุกรุกจากผู้เช่าอาศัยคนก่อนที่อาจจะยังมีกุญแจเก็บไว้ ควรเลี้ยงสุนัขไว้เฝ้าบ้านด้วย จากคำให้การของนักย่องเบาทำให้ทราบว่า อุปสรรคที่สำคัญในการปล้น คือ สุนัขที่เจ้าของบ้านเลี้ยงไว้ความสำคัญของการล็อคประตูบ้านเป็นการรักษาความปลอดภัยเบื้องต้นการทำให้ประตูบ้านมีความยากต่อการใช้กุญแจผีปลดล็อกเข้ามาภายในบ้านของผู้ไม่หวังดีดั้งนั้นการใช้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ควบคุมผ่านแอพพลิเคชั่น แอนดรอยด์ โดยใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สายในการควบคุม การปลดล็อคและล็อคกลอนประตูบ้าน เราจึงสร้างแอพพลิเคชั่น ที่ทำให้สะดวกต่อการใช้งาน โดยการใส่รหัสผ่านเพื่อป้องกันในอีกระดับหนึ่ง
       ดังนั้นผู้จัดทำโครงการ    จึงได้เสนอ   โครงการชุดจำลองการล็อคและปลดล็อคประตูผ่านแอพพลิเคชั่นแอนดรอยด์เพื่อให้จำลองความปลอดภัย
 
6. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
6.1  วัตถุประสงค์โครงการ                                                                                                                                          
       6.1.1  สร้างชุดจำลองการล็อคและปลดล็อคประตูผ่านแอพพลิเคชั่นแอนดรอยด์
       6.1.2  เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดจำลองการล็อคและปลดล็อคประตูผ่านแอพพลิเคชั่นแอน
 
7. ขอบเขตของการวิจัย
7.1. ด้านขอบข่าย มีรายละเอียด ดังนี้
      7.1.1  ใช้บอร์ด NodeMcu V2 CH340 Lua WIFI ESP8266-12E  เพื่อรับคำสั่งจากแอพพลิเคชั่น
      7.1.2  ใช้สัญญาน Wifi เพื่อทำให้บอร์ดกับกลอนประตูแบบโซลินอยเชื่อมต่อกัน เพื่อควบคุม
 
7.2 ด้านเนื้อหา
      7.2.1  NodeMcu V2 CH340 Lua WIFI ESP8266-12E                                                                                 7.2.2  Relay Module 12V 4 Channel isolation High And Low Trigger 250V/10A                                                     7.2.3  Solenoid Bolt Lock 12 V                                                                                          
      7.2.4  Jumper Male to Male                                                                                                    7.2.5  Switching Power supply  12V 5A                                                                           
      7.2.6  สาย Unshielded Twisted Pair                                                                                               7.2.7  ประตูไม้สัก (จำลอง)                                                                                                        7.2.8  โปรแกรม Android studio                                                                                                   
7.3 ด้านระยะเวลาและกลุ่มตัวอย่าง
      ผู้วิจัยใช้เวลาดำเนินการวิจัย เริ่มวันที่ 16 พฤษาคม พ.ศ.2559 ถึงวันที่ 1มีนาคม พ.ศ. 2559
 
8. สมมุติฐาน
การพัฒนาชุดจำลองการล็อคและปลดล็อคประตูผ่านแอพพลิเคชั่นแอนดรอยด์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
9. วิธีดำเนินการวิจัย

          
9.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
นักเรียนนักศึกษาภายในสาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ในวิทยาลัยเทคนิคแพร่ จำนวน 20 คน
 
9.2 สร้างเครื่องมือที่ใช้ในโครงการ

           3.1  วิเคราะห์สภาพปัญหาหรือประมาณความต้องการของผู้ใช้นวัตกรรม
                   เพื่อหาแนวทางแก้ไขปรับปรุงการสร้างหรือพัฒนานวัตกรรม  ให้สอดคล้องและสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โครงการสร้างและพัฒนาชุดจำลองการล็อคและปลดล็อคประตูผ่านแอพพลิเคชั่นแอนดรอยด์ พบว่า
                   3.1.1  การเชื่อมต่อของโทรศัพท์มือถือกับวงจรต้องใช้อินเทอร์เน็ต
                   3.1.2  ในการจะทดสอบการใช้งาน ต้องทดสอบโปรแกรมก่อนจะนำมาใช้งานจริงจึงทำให้เกิดความล่าช้าและไม่สามารถทราบว่า โปรแกรมจะมีปัญหาหรือไม่เมื่อนำมาใช้จริง
                   3.1.3  ในการใช้งานตัวแอพพลิเคชั่นควรจะศึกษาวิธีการใช้งานตัวแอพพลิเคชนั่นก่อนนำมาใช้งานเพราะหากไม่เข้าใจอาจจะทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้  
           3.2  ศึกษาทฤษฏีและหลักการที่เกี่ยวข้อง
                   ความเป็นมาของชุดจำลองการล็อคและปลดล็อคประตูผ่านแอพพลิเคชั่นแอนดรอยด์
           3.3  กำหนดวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวกับการสร้างและพัฒนานวัตกรรม
                   การสร้างและพัฒนาชุดจำลองการล็อคและปลดล็อคประตูผ่านแอพพลิเคชั่นแอนดรอยด์ ใช้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้อง ดังนี้









แสดงการคิดคำนวณค่า IOC
                   ข้อ 1   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                            มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                   ข้อ 2   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                            มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                   ข้อ 3   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 1/3 = 0.333
                            มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                   ข้อ 4   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 0/3 = 0
                            มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                   ข้อ 5   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                            มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                   ข้อ 6   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                            มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                   ข้อ 7   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                            มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                  
                   ข้อ 8   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 1/3 = 0.333
                            มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                   ข้อ 9   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                            มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                   ข้อ 10 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                             จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                             ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                             มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
 
 
9.3 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล
9.4 การวิเคราะห์ข้อมูล
10. ผลของการวิจัย
           การวิเคราะห์ข้อมูลการศึกษาการใช้ชุดจำลองการล็อคและปลดล็อคประตูผ่านแอพพลิเคชั่นแอนดรอยด์ มีการวิเคราะห์โดยแยกเป็นตอนตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาและผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยนำเสนอตามลำดับ ดังนี้
การเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล
           ผลการวิเคราะห์ข้อมูลนำเสนอรวม 7 ตอนดังนี้
           ตารางที่1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของนวัตกรรม
           ตารางที่2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
           ตารางที่3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านโครงสร้าง
           ตารางที่4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมในการใช้งาน
           ตารางที่5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านความคุ้มค่า
           ตารางที่6 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านคุณค่า
           ตารางที่7 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมในภาพรวมทุกด้าน
สัญลักษณ์ที่ใช้ในการแปรผลการวิเคราะห์ข้อมูล
             
4.1  ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
       ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของนวัตกรรม
       ตารางแสดงการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของเครื่องขาย


11. การอภิปรายผล หรือการวิจารณ์และสรุป
 
            การสร้างและพัฒนาชุดจำลองการล็อคและปลดล็อคประตูผ่านแอพพลิเคชั่นแอนดรอยด์เป็นงานวิจัยประเภทสิ่งประดิษฐ์ที่คณะผู้จัดทำได้จัดทำขึ้นในการศึกษาวิชาโครงการ  ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง ปีพุทธศักราช  2560  สาชางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างชุดจำลองการล็อคและปลดล็อคประตูผ่านแอพพลิเคชั่นแอนดรอยด์ เพื่อความสะดวกสบายในการล็อคประตู สรุปผลการดำเนินงานวิจัย ปัญหาและข้อเสนอแนะและประโยชน์ที่ได้รับ ดังนี้
           
     5.1  สรุปผลการวิจัย
            5.1.1  การพัฒนาชุดจำลองการล็อคและปลดล็อคประตู  พบว่า สิ่งที่พัฒนาขึ้นมามีคุณสมบัติ ดังนี้มี  ความแข็งแรง   น้ำหนักเบา   ขนาดของชุดจำลองเหมาะสมตามที่ออกแบบ  กดใช้งานแอพพลิเคชั่นสามารถล็อคประตูได้จริง วัสดุที่ใช้สร้างมีความเหมาะสม สอดคล้องกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และมีประสิทธิภาพและราคาถูก
            5.1.2  ความพึงพอใจของผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคในการใช้ชุดจำลองการล็อคและปลดล็อคประตูการพัฒนา ด้านโครงสร้าง  พบว่า มีความพึงพอใจในวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้สร้างชุดจำลองการล็อคและปลดล็อคประตูโดยผ่านแอพพลิเคชั่นแอนดรอยด์ อยู่ในระดับดี รองลงมามีความพึงพอแอพพลิเคชั่นแอนดรอยด์  รูปร่างของชุดจำลองมีความเหมาะสมตามที่ออกแบบ   เรียงตามลำดับจากมากมาหาน้อย ( 4.30, 3.92, 3.50และ3.40)
            5.1.3  ความพึงพอใจของผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคในการใช้จำลองการล็อคและปลดล็อคประตูผ่านแอพพลิเคชั่นแอนดรอยด์ ด้านการใช้งานโดยสรุปมีความสะดวกในการใช้งานโดยมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ใน ระดับดี รองลงมาง่ายต่อการใช้งานและมีความสะดวกปลอดภัยในการใช้ชุดจำลองการล็อคและปลดล็อคประตูผ่านแอพพลิเคชั่นแอนดรอยด์ เรียงตามลำดับจากมากมาหาน้อย (4.30, 4.50และ4.60)
 
           
 
 
 
 
 
 
     5.2  การอภิปรายผล
            ชุดจำลองการล็อคและปลดล็อคประตูผ่านแอพพลิเคชั่นแอนดรอยด์ที่พัฒนา ขึ้นมานั้น มีความเหมาะสมกับการใช้งาน มีความแข็งแรงของกลอนประตูแบบโซลินอย ความสะดวกในการใช้งาน ซึ่งการพัฒนาชุดจำลองการล็อคประตู สามารถใช้เป็นพื้นฐานในการศึกษาหลักการทำงานของ วงจรของNodeMCU หลังจากการพัฒนาชิ้นงาน วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้มีความแข็งแรง ขนาดของชุดจำลองการล็อคและปลดล็อคประตูผ่านแอพพลิเคชั่นแอนดรอยด์กว้าง 40 เซนติเมตร สูง 29 เซนติเมตร ความยาว 68 มีความเหมาะสมและความสะดวกในการใช้งานโดยมีความปลอดภัยในการใช้ และง่ายต่อการควบคุมการล็อคหรือปลดล็อคประตู
            นอกจากนี้ยังมีจุดเด่นในเรื่อง  โปรแกรมที่มีทั้งในด้านตรงตามความต้องการของผู้ใช้ ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงานด้านรูปลักษณ์และความง่ายต่อการใช้งาน โปรแกรมสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานทุกอย่างตามที่ผู้จัดทำได้วิเคราะห์และออกแบบการทำงานของปุ่มกดสวิตซ์กดเปิด-ปิด ทำให้ผู้จัดทำได้เห็นถึงความสำคัญของการวิเคราะห์และออกแบบโปรแกรมและระบบควบคุมการทำงานเป็นอย่างมากเพราะในการออกแบบโปรแกรมและระบบควบคุมทุกครั้งจะต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้เป็นหลัก
 
12. ข้อเสนอแนะ
     5.3  ข้อเสนอแนะ
            5.3.1  ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้
                    (1)  สามารถนำไปสร้างกับประตูจริงได้
                    (2)  ควรเปลี่ยนไปใช้ที่ล็อคแบบโซลินอยด์แบบแม่เหล็ก
            5.3.2  ข้อเสนอแนะเพื่องานวิจัยครั้งต่อไป
                      (1)  ควรเพิ่มประสิทธิภาพให้ดีขึ้นโดยอาจจะเพิ่มความปลอดภัยให้ดีขึ่น
                      (2)  ควรออกแบบความแข็งแรงและความสวยงามให้ดีกว่าเดิม
                      (3)  ควรออกแบบแอพพลิเคชั่นให้สามารถใส่ id , password
 
     5.4  ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัยและพัฒนาโครงงาน
            5.4.1  สามารถนำความรู้ที่เรียนรู้จากการที่ได้ทำโครงงาน มาใช้ควบคุมวงจรต่างๆ
            5.4.2  สามารถนำความรู้ที่ได้ไปทำแอพพลิเคชั่นแอนดรอยด์ขายได้
 
13. บรรณานุกรม
บรรณานุกรม
     ชนิดของประตุ  [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก http://www.decorreport.com  (วันที่ค้นข้อมูล : 7 ธันวาคม 2559).
     นางสาว พาขวัญ  พัดเย็นใจ.  (2559, 6 มิถุนายน).  โครงงานเทคโนโลยี(ควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านจากระยะไกล โดยพัฒนาผ่าน Ionic Framework).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จากhttp:// http://www.stou.ac.th /.  (วันที่สืบค้นข้อมูล : 15 ธันวาคม 2559).
      PANTIP.  (2552, 17 มิถุนายน).  การเขียนบรรณานุกรม.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก http:// http://blog.janthai.com.  (วันที่สืบค้นข้อมูล : 23 ธันวาคม 2559).
14. ประวัติผู้จัดทำโครงการ


ลิงค์ Youtube vdo