ชื่อผู้ใช้  
จำรหัสผ่าน
 
 
บทความโครงการ นักศึกษา
1. ชื่อโครงการ การสร้างและหาประสิทธิภาพเครื่องกดน้ำร้อนและเย็นอัตโนมัติ
2. จัดทำโดย
    1. นางสาวจารุวรรณ ชมเชย
    2. นายนนทกานต์ เต็มใจ
    3. นายกิตติชัย จากภัย
3. อีเมล์
nontakan_2541@hotmail.com
4. บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
       โครงการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการสร้างและหาประสิทธิภาพของเครื่องกดน้ำร้อนและเย็นอัตโนมัติ สำหรับการใช้งานที่สหกรณ์แผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา
       การดำเนินการโครงการใช้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 20 คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ยและค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) โดยมีการสอนใช้เครื่องกดน้ำในครั้งแรก จากนั้นจึงให้ทดลองใช้เครื่องกดน้ำร้อนและเย็นอัตโนมัติ เสร็จแล้วให้นักเรียนตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ ในการใช้เครื่องกดน้ำร้อนและเย็นอัตโนมัติ ผลการดำเนินการวิจัย พบว่าเครื่องกดน้ำร้อนและเย็นอัตโนมัติ ที่สร้างขึ้น ผู้ใช้มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.42
5. บทนำ
       ปัจจุบันรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้คนต้องแข่งขันกับเวลาอย่างรุนแรงไม่ว่านักศึกษาคนที่
ว่างงาน หรือประชาชนทั่วไปต่างต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เร่งรีบอีกทั้งสภาพเศรษฐกิจชะลอตัวเป็น ปัจจัยหนึ่งที่หลายคนหันมาใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าราคาประหยัดกันมากขึ้นส่งผลกระทบให้ค่านิยมความต้องการเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ความสะดวกรวดเร็วและสามารถประหยัดเวลาช่วงเวลาที่ทำงาน จึงทำให้ตู้กดน้ำมีบทบาทในชีวิตประจำวันอย่างมาก ตู้กดน้ำร้อนและเย็น เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถตอบโจทย์วิถีชีวิตของคนในเมืองและผู้คนที่หาตู้กดน้ำร้อนและเย็นใช้ได้สะดวกและอย่างเหมาะสม หลายครอบครัวซื้อตู้กดน้ำร้อนและเย็นบ้านด้วย เหตุผลที่ว่า เป็นตู้กดน้ำที่ใช้ได้อย่างสะดวกหรือ เป็นตู้กดน้ำสำหรับพนักงานทั่วไปที่ใช้ตู้กดน้ำร้อนและเย็น เพื่อความสะดวกสบายในการดื่มน้ำหรือชงชา กาแฟ ตู้กดน้ำร้อนและเย็นยังสามารถหาซื้อได้ทั่วไปจากร้านค้าที่จำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้า และซุปเปอร์มาเก็ต อีกทั้งยังมีหลากหลายยี่ห้อเพื่อดูคุณภาพการใช้งานของตู้
       เครื่องกดน้ำเย็น หรือ Water Chiller เป็นเครื่องจักรอย่างหนึ่งที่นำมาใช้ในการผลิตน้ำเย็น ซึ่งมีทั้งระบบที่ใช้งานทั่วไป และเครื่องทำน้ำเย็นอุตสาหกรรมที่นำมาใช้กับงานอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ โดยหลักการทำงานของมันก็คือ เมื่อป้อนพลังงานไฟฟ้าให้กับมอเตอร์ไฟฟ้า (Electric Motor) มอเตอร์ก็จะส่งผ่านกำลังไปยังเครื่องอัดสารทำความเย็น (Compressor) ซึ่งเครื่องอัดสารนี้จะอัดสารทำความเย็น (Refrigerant) เข้าไปใช้ในการแลกเปลี่ยนความร้อนกับน้ำที่ส่งผ่านเข้ามาโดยปั๊มน้ำจากภายนอก ทำให้น้ำลดอุณหภูมิลง และเปลี่ยนเป็นน้ำเย็นโดยเครื่องทำความเย็น ซึ่งภายในเครื่องทำความเย็นจะก็มีอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการและกลั่นสารทำความเย็น ลดความดัน และช่วยในการระเหย
การแข่งขันของเครื่องกดน้ำร้อนเย็นเริ่มรุนแรงมาก และมีแนวโน้มในการเติบโตขึ้น ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่หดตัว ประชากรใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง ทำให้ตู้กดน้ำร้อนและเย็นเป็นที่ ต้องการมากขึ้น    
       ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจศึกษา เรื่องการเครื่องกดน้ำร้อนและเย็นผู้บริโภคน้ำดื่มในวิทยาลัยเทคนิคแพร่ ซึ่งเป็นประโยชน์ ต่อผู้บริโภคน้ำดื่มอำนวยความสะดวกโดยไม่ต้องใช้มือกด
6. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1)  เพื่อพัฒนาตู้กดน้ำร้อนและเย็นสำหรับการใช้งาน
2)  เพื่อหาประสิทธิภาพของตู้กดน้ำร้อนและเย็นอัตโนมัติ
 
7. ขอบเขตของการวิจัย
       การพัฒนาเครื่องตู้กดน้ำร้อนและเย็นอัตโนมัติสำหรับนักเรียนนักศึกษาแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์เพื่อความสะดวก มีรายละเอียดเนื้อหาดังนี้
1.  ด้านเนื้อหา                                    
     (1)  บอร์ด Arduino UNO R3
     (2)  โมดูลวัดระยะทางด้วยคลื่นอัลตร้าโซนิค HC-SR04
     (3)  ปั้มน้ำตู้เย็น 12 V
     (4)  Relay 9V
2.  ด้านระยะเวลา
     ผู้วิจัยใช้เวลาดำเนินการวิจัย
     เริ่มวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ.2559 ถึงวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560
 
8. สมมุติฐาน
       การสร้างและพัฒนาเครื่องกดน้ำร้อนและเย็นอัตโนมัติสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
9. วิธีดำเนินการวิจัย
9.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
       กลุ่มเป่าหมายที่ 1 เพื่อทดลองตู้กดน้ำร้อนและเย็นอัตโนมัติที่แผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ กำหนดจากผู้ที่มีประสบการณ์/เชี่ยวชาญทางด้านสื่อประเภทอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 5 คน และนักศึกษาสาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ จำนวน 3 คน
       กลุ่มเป่าหมายที่ 2 เพื่อการใช้งานของตู้กดน้ำร้อนและเย็นอัตโนมัติให้มีประสิทธิภาพ คือ ครูผู้สอนภายในสาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ จำนวน 5 คน และนักเรียนนักศึกษาภายในสาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ในวิทยาลัยเทคนิคแพร่ จำนวน 20 คน
 
9.2 สร้างเครื่องมือที่ใช้ในโครงการ
3.1  วิเคราะห์สภาพปัญหาหรือประมาณความต้องการของผู้ใช้นวัตกรรม
       เพื่อหาแนวทางแก้ไขปรับปรุงการสร้างหรือพัฒนานวัตกรรมให้สอดคล้องและสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โครงการสร้างเครื่องกดน้ำร้อนและเย็นอัตโนมัติ ศึกษาสภาพปัญหา พบว่า การกดน้ำทุกครั้งผู้ใช้งานต้องใช้มือในการกดน้ำเอง
3.2  ศึกษาทฤษฏีและหลักการที่เกี่ยวข้อง
       ความเป็นมาของเครื่องกดน้ำ
3.3  กำหนดวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวกับการสร้างและพัฒนานวัตกรรม
       การสร้างและพัฒนาเครื่องกดน้ำร้อนและเย็นอัตโนมัติสำหรับนักเรียนนักศึกษาแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์เพื่อความสะดวก ใช้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้อง ดังนี้


3.4  หาข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและพัฒนานวัตกรรม
       ปั้มน้ำตู้เย็น 12V ขนาดเล็ก
3.5  ออกแบบสร้างและพัฒนานวัตกรรม
       3.5.1 การออกแบบโครงสร้าง ดังแสดงในภาพที่ 3-2


3.5.2  เตรียมวงจรควบคุมการทำงาน ดังแสดงในภาพที่ 3-3

3.5.3 แกะฝาหลังของเครื่องออกดูโครงสร้างภายใน ดังแสดงในภาพที่ 3-4

3.5.4 นำปั้มน้ำตู้เย็นมาใส่ไว้กับสายยางตรงก๊อกน้ำเย็น ดังแสดงในภาพที่ 3-5

3.5.5 นำปั้มน้ำตู้เย็นมาใส่ไว้กับสายยางตรงก๊อกน้ำร้อน ดังแสดงในภาพที่ 3-6

3.5.6 ยึดน๊อตปั้มน้ำตู้เย็นทั้งสองข้างเข้ากับตัวเครื่อง ดังแสดงในภาพที่ 3-7

3.6.7 ยึดวงจรและรีเลย์ไว้กับตัวเครื่อง ดังแสดงในภาพที่ 3-8

3.6.8 ยึดตัวเซ็นเซอร์ไว้กับหัวของก๊อกน้ำ ดังแสดงในภาพที่ 3-9

3.6  การวิเคราะห์ออกแบบเครื่องมือสำหรับการประเมินนวัตกรรม
       มีขั้นตอนในการออกแบบ ดังแสดงในภาพที่ 3-10

3.7  การใช้นวัตกรรม
       ทดลองใช้เครื่องกดน้ำร้อนเย็นของนักเรียน ดังแสดงในภาพที่ 3-11 และภาพที่ 3-12





แสดงการคิดคำนวณค่า IOC
                         ข้อ 1   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                                      จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                      ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                                      มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 2   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                                      จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                      ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                                      มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 3   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                                      จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                      ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                                      มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 4   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                                      จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                      ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667
                                      มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 5   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                                      จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                      ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667
                                      มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 6   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                                      จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                      ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667
                                      มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 7   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                                      จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                      ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                                      มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                        
                         ข้อ 8   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                                      จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                      ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667
                                      มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 9   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                                      จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                      ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                                      มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 10 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                                       จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                       ค่า IOC เท่ากับ 1/3 = 0.333
                                       มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
 
9.3 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล

 
9.4 การวิเคราะห์ข้อมูล
10. ผลของการวิจัย
       การวิเคราะห์ข้อมูลการพัฒนาและหาประสิทธิภาพเครื่องกดน้ำร้อนและเย็นอัตโนมัติมีการวิเคราะห์โดยแยกเป็นตอนตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาและผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยนำเสนอตามลำดับ ดังต่อไปนี้
 
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลนำเสนอรวม 5 ตอน ดังนี้
                                ตอนที่ 1ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของนวัตกรรม
ตอนที่ 2ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
                                ตอนที่ 3ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านโครงสร้าง
                                ตอนที่ 4ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านการใช้งาน                                                   ตอนที่ 5ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านความคุ้มค่า
                                ตอนที่ 6ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านคุณค่า
                                ตอนที่ 7ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมในภาพรวมทุกด้าน
 
             สัญลักษณ์ที่ใช้ในการแปรผลการวิเคราะห์ข้อมูล
                                              แทน       ค่าเฉลี่ย
                            S.D                   แทน       ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
                            P                       แทน       ค่าร้อยละ

4.1  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของนวัตกรรม
ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของนวัตกรรม
              ตารางแสดงการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของเครื่อง
ตารางที่ 4-1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของนวัตกรรม







 
11. การอภิปรายผล หรือการวิจารณ์และสรุป
       การสร้างและหาประสิทธิภาพเครื่องกดน้ำร้อนและเย็นอัตโนมัติเพื่อความสะดวกให้กับสหกรณ์ในแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ เป็นงานวิจัยประเภทสิ่งประดิษฐ์ที่คณะผู้จัดทำได้จัดทำขึ้นในการศึกษาวิชาโครงการ ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีพุทธศักราช 2547 สาขาคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครื่องกดน้ำร้อนและเย็นอัตโนมัติ ทำการทดลองใช้เครื่องกดน้ำร้อนและเย็นอัตโนมัติในแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ สรุปผลการดำเนินงานวิจัยปัญหาและข้อเสนอแนะประโยชน์ที่ได้รับ ดังนี้
5.1  สรุปผลการวิจัย
       5.1.1  เพื่อการสร้างเครื่องกดน้ำร้อนและเย็นอัตโนมัติปัจจุบันเนื่องจากการใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์ในปัจจุบันนี้เป็นไปด้วยความเร่งด่วนต้องการความสะดวกสบายประกอบกับเทคโนโลยีที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลายสอดคล้องกับสภาพการในปัจจุบันที่แผนกเผชิญอยู่เติมน้ำทำให้เครื่องกดน้ำร้อนและเย็นมีอายุการใช้ง่ายไม่ได้นานทำให้ต้องกดน้ำอยู่ตลอด เพราะฉะนั้นเครื่องกดน้ำร้อนและเย็นนั้นมีผลตามความต้องการอยู่เสมอ ดังนั้น อุปกรณ์เครื่องกดน้ำร้อนและเย็นอัตโนมัติจึงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้ได้ ไม่ต้องลำบากที่จะต้องกดน้ำบ่อย  ด้วยขนาดถังน้ำที่ใส่บนเครื่องเพื่อเติมน้ำมีขนาดพอดีและสะดวก เครื่องที่เราสร้างขึ้นนั้นสามารถใช้งานได้ทุกสภาพแวดล้อม ผู้ทำจึงได้คิดค้นวิจัยและสร้างเครื่องกดน้ำร้อนและเย็นอัตโนมัติที่สามารถนำไปใช้กับสหกรณ์ในแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ได้อย่างแท้จริง
       5.1.2  เพื่อทดลองใช้เครื่องกดน้ำร้อนและเย็นอัตโนมัติในการทดลองใช้เครื่องกดน้ำร้อนและเย็นอัตโนมัติที่สร้างขึ้นพบว่า ตัวเครื่องนั้นมีประสิทธิภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี และเมื่อพิจารณารายละเอียดด้านเทคนิค พบว่าประสิทธิภาพของเครื่องอยู่ในระดับใกล้เคียงกับที่คาดคะเนไว้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้าง วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ น้ำหนัก และขนาด ก็อยู่ในระดับ ใกล้เคียงผลที่คาดไว้ คือ มีขนาดที่พอเหมาะ
       5.1.3  ความพึงพอใจในการใช้เครื่องกดน้ำร้อนและเย็นอัตโนมัติเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการใช้งาน พบว่า มีความพึงพอใจในความสะดวกในการใช้งานเครื่องกดน้ำร้อนและเย็นอัตโนมัติอยู่ในระดับมากที่สุดรองลงมามีความปลอดภัยในการใช้งานเครื่องกดน้ำเพื่อการอำนวยความสะดวกอยู่ในระดับมาก
 
5.2  การอภิปรายผล
      จากการศึกษาและสร้างเครื่องกดน้ำร้อนและเย็นอัตโนมัติใช้เป็นอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวก พบว่าเครื่องกดน้ำร้อนและเย็นอัตโนมัติที่นำมาใช้สามารถนำไปใช้ได้ในทุกสภาพแวดล้อมได้จริง นั้นเพราะว่าสิ่งอำนวยความสะดวกในปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปมากตามยุคสมัยของเทคโนโลยีที่ทำให้สหกรณ์ ไม่สามารถนำเงินไปซื้ออุปกรณ์เครื่องกดน้ำที่มีราคาแพงได้ ซึ่งอุปกรณ์อำนวยความสะดวกก็สำคัญต่อชีวิตประจำวันไปด้วยความเร่งด่วนต้องการความสะดวกสบายดังนั้น การคิดสร้างเครื่องกดน้ำร้อนและเย็นอัตโนมัติจึงเป็นที่อำนวยความสะดวกและลดค่าใช้จ่ายของสหกรณ์ในแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ นอกจากความสำคัญของเครื่องแล้ว ยังมีความสะดวกในการใช้งานซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากประสิทธิภาพของเครื่องกดน้ำร้อนและเย็นอัตโนมัติ โดยนักศึกษาได้ผ่านการเรียนรู้วิธีการใช้งานเครื่องกดน้ำ ซึ่งมีความรู้สึกสะดวกสบาย ช่วยลดปัญหา การกดของเครื่องกดน้ำ  ต้องเติมน้ำบ่อยจนเกิดความคิดแบบง่ายโดยใช้เวลาเล็กน้อยและยังได้รับประสบการณ์ตรงจากของจริงเข้าใจความหมายของสิ่งต่างๆ
      จุดเด่นและจุดด้อยของเครื่องกดน้ำอัตโนมัติมีความต้องการของผู้ใช้ ด้านการทำงานได้ตามคำสั่งโค้ดที่เขียนและง่ายต่อการใช้งานอุปโภคบริโภค เพราะเครื่องสามารถทำตามความต้องการของผู้ใช้งานทุกอย่างตามที่ผู้จัดทำได้วิเคราะห์และออกแบบเครื่องกดน้ำร้อนและเย็นอัตโนมัติ ทำให้ผู้จัดทำได้เห็นถึงความสำคัญของการวิเคราะห์และออกแบบเครื่องเป็นอย่างมากเพราะในการออกแบบเครื่องทุกครั้งจะต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้เป็นหลัก
 
 
12. ข้อเสนอแนะ
5.3.1  ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้
               1) ก่อนเปิดสวิตช์น้ำร้อนและเย็นด้านหลังเครื่องให้เครื่องเริ่มทำงาน จากนั้นค่อย
รอการรีเซ็ทบอร์ดการทำงาน
               2) ไม่ควรนำเครื่องไปไว้ในที่อับ หรือที่ที่เปียกและมีความชื้นสูง
5.3.2  ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป
               1) ควรเปลี่ยนปั้มน้ำให้มีความคงทนต่อการปั๊มน้ำร้อน

5.4  ประโยชน์ที่ได้รับจาการวิจัยและพัฒนาโครงการ
       5.4.1  ได้เครื่องเครื่องกดน้ำร้อนและเย็นอัตโนมัติเพื่อความสะดวกให้กับสหกรณ์ในแผนก
       5.4.2  ไม่ควรนำเครื่องไปไว้ในที่อับ หรือที่ที่เปียกและมีความชื้นสูง
       5.4.3  ทำให้เกิดทักษะและประสบการณ์ในการทำงานวิจัยและสร้างซึ่งจะก่อให้เกิดความชำนาญในการวิจัยครั้งต่อไป
13. บรรณานุกรม
การทำงานของเครื่องกดน้ำ.[ออน-ไลน์].  สืบค้นวันที่ 25 มกราคม 2560.
จาก : http://members.fortunecity.com/weerapong/spk2.htm
ทฤษฎีของปั้ม.[ออน-ไลน์].  สืบค้นวันที่ 26 มกราคม 2560
จาก : http://www.sttv.ac.th/detail.php?module12=33&page=detail.php¤t=&all=
ทฤษฎีของบอร์ดอดูโน่.  [ออน-ไลน์].  สืบค้นวันที่ 26 มกราคม 2560
จาก : https://www.arduitronics.com/article/1/เริ่มต้นใช้งาน-arduino-uno -
ทฤษฎีของรีเลย์ [ออน-ไลน์].  สืบค้นวันที่ 28 มกราคม 2560
จาก : http://www. http://kpp.ac.th/elearning/elearning3/book-09.com
 
14. ประวัติผู้จัดทำโครงการ

 ชื่อ-สกุล                     นางสาวจารุวรรณ ชมเชย
 เกิดเมื่อวันที่               12 มกราคม 2542
 ที่อยู่ปัจจุบัน               39  ตำบล สบสาย  อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่  54130 
 วุฒิการศึกษา             
ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 
                                    สาขาวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์
 รหัสนักศึกษา             5721280004 
 เบอร์โทร                    099-1083188
 อีเมล์                          jaruwun004@hotmail.com

ชื่อ-สกุล                      นายนนทกานต์ เต็มใจ
เกิดเมื่อวันที่                20 มิถุนายน 2541
ที่อยู่ปัจจุบัน                21/1 ม.4  ต.เวียงทอง  อ.สูงเม่น  จ.แพร่  54000
วุฒิการศึกษา              ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้น (ปวช.) 
                                    
สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์
รหัสนักศึกษา               5721280007
เบอร์โทร                      082-4805136
อีเมล์                            Nontakan_2541@hotmail.com

ชื่อ-สกุล                       นายกิตติชัย จากภัย
เกิดเมื่อวันที่                 21 ธันวาคม 2541
ที่อยู่ปัจจุบัน                 46/1 ม.7  ต.บ้านถิ่น  อ.เมือง  จ.แพร่  54000
วุฒิการศึกษา               ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้น (ปวช.) 
                                     
สาขาวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์
รหัสนักศึกษา               5721280012
เบอร์โทร                      088-9238105
อีเมล์                            kim0072012z@gmail.com



 
ลิงค์ Youtube vdo