ชื่อผู้ใช้  
จำรหัสผ่าน
 
 
บทความโครงการ นักศึกษา
1. ชื่อโครงการ การพัฒนาเครื่องทําไอศกรีม
2. จัดทำโดย
    1. นาย ธนกร แก้วน้อย
    2. นาย จิรวัฒน์ บัลลังก์นาค
    3. นาย สุทธิภัทร ใจมาคำ
3. อีเมล์
first87826@hotmail.com
4. บทคัดย่อ
ไอศกรีมเป็นอาหารว่างที่คนส่วนใหญ่นิยมรับประทานเพื่อดับกระหาย และให้ความสดชื่น  เนื่องจากประเทศไทยเป็นเมืองเขตร้อน ดังนั้นผู้คนจึงหาวิธีที่จะทำให้ตนเองหายจากการกระหาย และช่วยดับร้อน  อีกทั้งผู้คนส่วนใหญ่จะคำนึงถึงสุขภาพตนเอง และพลานามัยของตน ให้มีสุขภาพที่ดีอยู่เสมอ การเลือกรับประทานไอศกรีมก็ควรจะหารับประทานไอศกรีมที่มีคุณค่าและคุณประโยชน์ต่อร่างกาย ไม่ใช่เพียงแค่ทานเพื่อดับกระหายหรือรับประทานเล่นเท่านั้น
คณะผู้จัดทำจึงได้คิดค้นสูตรไอศกรีมที่แปลกใหม่ซึ่งยังไม่มีการวางจำหน่ายในท้องตลาดและยังมีคุณประโยชน์ต่อร่างกายได้อีกด้วย ได้แก่ ไอศกรีมถั่วลิสง ซึ่งถั่วมีโปรตีนที่มีประโยชน์ทางโภชนาการสูง และไอศกรีมข้าวเหนียวดำ ซึ่งข้าวเหนียวเป็นที่นิยมบริโภคอย่างกว้างขวางในประเทศ และเป็นอาหารหลักของประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ นอกจากการบริโภคโดยตรงแล้วยังมีการนำข้าวเหนียวแปรรูปให้เป็นขนมขบเคี้ยว ประโยชน์ทางโภชนาการของข้าวเหนียวดำมีมาก เช่น ช่วยชะลอการแก่ก่อนวัย   และความเสื่อมถอยของร่างกาย ป้องกันหลอดเลือดหัวใจตีบ ป้องกันปัญหาวุ้นในตาเสื่อม เป็นต้น ฉะนั้นแล้วไอศกรีมที่ได้จัดทำขึ้นจึงเน้นคุณประโยชน์ต่อร่างกายของมนุษย์ และเพื่อให้เกิดประโยชน์อันสูงสุด แก่ผู้บริโภค
โครงงาน ไอศกรีมเพื่อสุขภาพนี้จะสำเร็จลงไม่ได้ถ้าปราศจากแหล่งสารสนเทศต่างๆ ที่คณะผู้จัดทำได้ศึกษาค้นคว้า และคณะครูนักเรียนที่ให้คำชี้แนะหรือเสนอแนะรสชาติของไอศกรีมเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงรสชาติให้ดียิ่งๆขึ้นไป คณะผู้จัดทำจึงขอขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งในการให้คำแนะนำ จึงขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้
5. บทนำ
ไอศกรีมเพื่อสุขภาพนี้ จัดทำขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค  ซึ่งในประเทศไทยจัดอยู่ในเขตร้อนชื้น การรับประทานไอศกรีมจึงเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยความดับกระหายและให้ความสดชื่น คนส่วนใหญ่ไม่ว่าเด็ก หรือผู้ใหญ่จึงนิยมรับประทานไอศกรีมค่อนข้างมากและให้ความสนใจในสุขภาพของตัวเอง เพื่อประโยชน์อันสูงสุด
        ไอศกรีม” หรือ “ไอครีม” ที่คนไทยเรียกกันนั้น เป็นของหวาน และเย็น ที่ชื่นชอบกันทุกเพศทุกวัย ทุกชาติ ทุกภาษา ที่สำคัญสามารถ ปรับประยุกต์ ให้เข้ากับความนิยมของแต่ละชาติได้อย่างน่าอัศจรรย์ จนอาจจะกล่าว ได้ว่า ไอศกรีมเป็นอาหารของคนทั้งโลก การได้กินไอศกรีมถือเป็นความสุขอย่างหนึ่ง “ไอศกรีม” ทับศัพท์จากภาษาอังกฤษ Ice Cream จนคนทั่วไปคิดว่า มีถิ่นกำเนิดมาจากตะวันตก แต่จริงๆ แล้วกำเนิดในประเทศจีน  เกิดจากการ นำหิมะ บนยอดเขามาผสมนม และกินในขณะ ที่หิมะยัง ไม่ทันละลายดี จนปลายศตวรรษที่ 13 มาร์โคโปโล เดินทางไปจีน และชื่นชอบ จึงนำสูตรกลับไป อิตาลีขณะเดินทางมีการเติมนมลงไป กลายเป็นสูตร ของเขาโดยเฉพาะ และแพร่หลายไปในอิตาลี ฝรั่งเศสและข้ามไปอังกฤษ  คนอิตาลีถือว่าตนเองเป็นตำรับ ไอศกรีมแบบที่นำมาปั่นให้เย็นจนแข็ง เรียกว่าเจลาติน (Gelatin) แล้วแพร่หลายไปในฝรั่งเศสช่วงศตวรรษที่ 16 ข้ามไปอเมริกา ในช่วงต้นศตวรรษที่ 17 กลายเป็นที่ชื่นชอบของคนอเมริกันมาก ประธานาธิบดีจอร์จ วอชิงตัน ลงทุนถึง 200 ดอลลาร์ซื้อเครื่องปั่นไอศกรีม ไปทำกินเองในหน้าร้อน
        ในเมืองไทยไอศกรีมเข้ามาช่วงไหนไม่มีหลักฐานแน่ชัด แต่คาดว่าคงมาหลังสมัย ร.5 ซึ่งมีการผลิตนํ้าแข็งกินเอง ไอศกรีมตอนนั้น ทำจากนํ้าหวานหรือนํ้าผลไม้นำไปปั่นเย็นจนแข็ง ไม่มีนมหรือครีมผสมด้วย เรียกว่า “ไอครีม” ใช้แรงคนในการปั่น โดยมีถังสเลตเลต  เส้นผ่าศูนย์กลาง 50-60 ซม.สูง 30 ซม.ภายในมีรูคล้ายลังถึง สำหรับเสียบกระบอกโลหะ ทรงกลมขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 ซม.
        ไอศกรีมในเมืองไทยสมัยแรก ๆ จะเรียกว่าเป็นอุตสาหกรรม ภายในครัวเรือน ก็ว่าได้ ไม่ค่อยมียี่ห้อ บ้านไหนมีฝีมือก็ทำออกมา ใครมีหัวการค้าก็มีคน รับไปขายอีกต่อหนึ่ง นักเรียนหลายคนมารับไปขาย เป็นรายได้พิเศษ หลังเลิกเรียน ขณะที่ผู้ใหญ่อีกเป็นจำนวนมาก ที่ขายไอติม เป็นอาชีพหลัก และเป็นอาชีพที่ไม่ต้องลงทุนมาก เพียงแต่วางเงินมัดจำค่ากระติกใส่ไอติมและต้นทุนอีกเล็กน้อย ก็สะพายขึ้นไหล่ไปขายทันที  ไอศกรีมเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่ใช้ทำ ที่สำคัญเหมาะกับเด็กที่กำลัง เจริญเติบโตหรือคนที่ต้องการเพิ่มน้ำหนัก ปัจจุบันมีการผลิตไอศกรีมภูมิปัญญาไทยจากผลไม้ และสมุนไพรของไทยเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก บางอย่างไม่นึกว่าจะทำได้ เช่น กล้วยเล็บมือนาง เป็นต้น
 ดังนั้นคณะผู้จัดทำโครงการมีความต้องการที่จะพัฒนาสร้างและหาประสิทธิภาพของเครื่องปั่นไอศกรีม ซึ่งใช้วงจรMXA062 ในการ จัดการระบบ ควบคุมเวลาการเปิดปิดของมอเตอร์มีความสามารถในการ เปิดปิดการการไหลของกะแสไฟฟ้า เพื่อจัดการพัฒนาสร้างและหาประสิทธิภาพของเครื่องปั่นไอศกรีมจับเวลาสามารถใช้งานได้จริงและมีประสิทธิภาพ
 
6. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1) เพื่อสร้าง เครื่องทำไอศกรีม
2) เพื่อหาประสิทธิภาพเครื่องทำไอศกรีมทั่วไป ที่มีอยู่แล้วได้พัฒนาให้มีประโยชน์การใช้งานมากขึ้นจากเดิม
 
7. ขอบเขตของการวิจัย
         1.ด้านขอบข่ายมีรายละเอียดดังนี้
            1)  การใช้วงจร MXA 062 ในการควบคุมมอเตอร์
            2)  เครื่องปั่นไอศกรีมมีระบบเสียงแจ้งเตือนเมื่อเสร็จ
            3)  สามารถตั้งเวลาวงจรได้
            4)  คู่มือประกอบการใช้งาน
          2. ด้านเนื้อหา
            1) สวิตซ์
            2) จอ LCD
            3) มอเตอร์
     
 
8. สมมุติฐาน
ไอศกรีมเพื่อสุขภาพ สามารถทำได้ด้วยตนเองที่บ้านเพราะเป็นวิธีการทำที่ง่ายและหาวัสดุได้จากท้องถิ่นได้
 
9. วิธีดำเนินการวิจัย
1) ศึกษาข้อมูลเพื่อเตรียมการโครงการ ผู้จัดทำได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการวิเคราะห์และออกแบบวงจรการออกแบบด้านโครงสร้าง
2) วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวการทำงานของวงจรและกำหนดขอบเขตเพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน
3) การสร้างและออกแบบเครื่องทำไอศกรีม
4) ทดสอบหาประสิทธิภาพของครื่องทำไอศกรีม มีการใช้แบบประเมินประสิทธิภาพนวัตกรรมจากผู้เชี่ยวชาญ และแบบประเมินความพึงพอใจจากผู้ทดลองใช้
5) กำหนดกลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์สาขาวิชา เทคนิคคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 20 คน
วิธีการให้ผู้ใช้งานได้ปิดตาทดลองใช้งาน
 6) สอนการใช้งานครื่องทำไอศกรีมให้กับผู้ใช้งาน
 7) นักศึกษาทดลองใช้ครื่องทำไอศกรีม
9.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์
สาขาวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์วิทยาลัยเทคนิคแพร่ กลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษา
มีจำนวน 20 คน โดยใช้วิธีการให้ผู้ใช้งานได้ปิดตาทดลองใช้งาน
9.2 สร้างเครื่องมือที่ใช้ในโครงการ
การพัฒนาและหาประสิทธิภาพของเครื่องทำไอครีมการทำงานของวงจรมีขั้นตอนการออกแบบโดยรายละเอียด ดังต่อไปนี้


ภาพที่ 1  ลำดับขั้นตอนการดำเนินโครงการ(ต่อ)
 
1.  วิเคราะห์สภาพปัญหาหรือประเมินความต้องการของผู้ใช้นวัตกรรม
  2.  ศึกษาทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้อง
             (1) ประเภทของวงจร และหลักการทำงาน
             (2) แหล่งจ่ายไฟที่ต้องใช้ต่อกับวงจร
             (3) การใช้วงจรตั้งเวลาควบคุมมอเตอร์
             (4) หลักการทำงานของวงจรตั้งเวลา
             (5) หลักการทำงานของมอเตอร
             (6) ข้อดีและข้อด้อยของวงจร
             (7) รูปแบบและลักษณะของเครื่องทำไอศกรีม
             (8) โครงเหล็กที่ต้องเชื่อมกับถังไอศกรีม
             (9) ขนาดและราคา
             (10) ข้อดีและข้อด้อยของเครื่องทำไอศกรีม
 
3.  กำหนดวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและพัฒนานวัตกรรม
4. หาข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและพัฒนานวัตกรรม

วงจรตั้งเลา MXAO62 DIGTAL TIMER 0-99 HOUR
             วงจรนี้ เป็นวงจรตั้งเวลาของมอเตอร์ซึ่งวงจรนี้จะตั้งเวลาโดยการทำงานของมอเตอร์ถ้าตั้งเวลาครบที่กำหนดมอเตอร์จะหยุดการทำงานทันทีโดยอัตโนมัติของวงจรที่ตั้งไว้
        ข้อมูลเกี่ยวกับวงจรตั้งเวลา
              (1)  ขนาดแผ่นวงจรพิมพ์บอร์ดแสดงผล 1.48x0.94 นิ้ว
              (2)  บอร์ดควบคุม 1.48x1.7 นิ้ว
              (3)  ใช้แหล่งจ่ายไฟขนาด 12 โวลท์ DC
              (4)  กินกระแสประมาณ 85 มิลิแอมป์
 
5.ออกแบบสร้างและพัฒนานวัตกรรม

                          ภาพที่ 2 ออกแบบโครงเหล็กความกว้าง ความยาว ความสูง
   
                           ภาพที่ 3 ออกแบบถังไม้สัก ความกว้าง ความยาว ความสูง


                                          ภาพที่ 4 ลักษณะของวงจรที่ใช้จับเวลา

11) การวิเคราะห์ออกแบบการประเมินนวัตกรรม
ภาพที่ 7  การวิเคราะห์ออกแบบการประเมินนวัตกรรม

                                แบบประเมินความพึงพอใจในการใช้เครื่องไอศกรีม
    แบบประเมินความคิดเห็นที่มีต่อเครื่องไอศกรีมเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ใช้ ที่มีต่อการใช้เครื่องไอศกรีมผลประเมินของท่านจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปรับปรุงการใช้งานของเครื่องไอศกรีมให้มีความสมบูรณ์และดียิ่งขึ้นไป



คำชี้แจง  
5  หมายถึง  มากที่สุด  
4  หมายถึง  มาก  
3  หมายถึง  ปานกลาง  
2  หมายถึง  น้อย 
1  หมายถึง  น้อยที่สุด


 
การวิเคราะห์เลือกคำถามจากผู้เชี่ยวชาญ

แสดงการคิดคำนวณค่า IOC
       ข้อ 1 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
              จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน
              ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
              มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
 
        ข้อ 2 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2
               จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน
               ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
               มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
 
        ข้อ 3 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน
                ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
 
 
        ข้อ 4 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
               จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน
               ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667
               มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
        
       ข้อ 5 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
              จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน
              ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
              มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
 
       ข้อ 6 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
              จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน
              ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
              มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
 
       ข้อ 7 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
              จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน
              ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
              มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
 
        ข้อ 8 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
               จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน
               ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
               มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
 
        ข้อ 9 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
               จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน
               ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667
               มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
 
       ข้อ 10 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
               จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน
               ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667
               มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้

      ข้อ 11 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
               จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน
               ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667
               มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
 


 
9.3 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูลผู้เสนอโครงการได้เลือกนักศึกษา
ปวช.และผู้สูงอายุรวม จำนวน 20 คน
9.4 การวิเคราะห์ข้อมูล

1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
10. ผลของการวิจัย
     
การวิเคราะห์ข้อมูลการออกแบบและศึกษาการใช้ในการพัฒนาและหาประสิทธิภาพการทำงานเครื่องทำไอศกรีมมีการวิเคราะห์โดยแยกเป็นตอนตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาและผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยนำเสนอตามลำดับ ดังนี้
   การเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล
          ผลการวิเคราะห์ข้อมูลนำเสนอรวม 7 ตอน ดังนี้
                       ตอนที่ 1  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของนวัตกรรม
                       ตอนที่ 2  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
                       ตอนที่ 3  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านโครงสร้าง
                       ตอนที่ 4  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านการใช้งาน
                       ตอนที่ 5  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านความคุ้มค่า
                       ตอนที่ 6  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านคุณค่า
                       ตอนที่ 7  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมในภาพรวมทุกด้าน








11. การอภิปรายผล หรือการวิจารณ์และสรุป
จากการศึกษาและพัฒนาเครื่องทำไอศกรีมในการทำงานของเครื่องโดยใช้มอเตอร์และวงจรตั้งเวลาตามที่ต้องการ เพื่อใช้เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค พบว่าเครื่องทำไอศกรีมมีโครงสร้างที่มีความแข็งแรง และขนาดของเครื่อง ถือว่าไม่มากเกิน อีกทั้งมีวงจรในการควบคุมและเหมาะสม คือ ความสูงประมาณ 64 เซนติเมตร กว้าง 60 เซนติเมตร ลึก 28 เซนติเมตรและใช้ไฟในแบตเตอรี่ DC 5 V มีขั้นตอนการสร้างที่ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน ราคาถูกเพียง 6650 บาทต่อเครื่อง สามารถนำไปใช้ทำไอศกรีมได้จริงและเป็นความรู้ในรายวิชาโครงการ (2128 - 8503)  มีการใช้งานที่ง่ายตรงตามความต้องการของผู้ใช้งานที่สามารถใช้งานได้สะดวกและปลอดภัยในการใช้งาน
 
12. ข้อเสนอแนะ
1)  จากผลการศึกษาและพัฒนาพบว่า เครื่องทำไอศกรีมโดยใช้เป็นมอเตอร์และวงจรในการควบคุม สร้างขึ้นเหมาะสำหรับการทำไอศกรีมเพื่อบริโภคได้อย่างถูกต้อง ซึ่งช่วยให้ความสะดวกและใช้งานได้ง่ายมากขึ้น
2)  ในการใช้งานสิ่งที่ควรคำนึงถึง คือความปลอดภัยในการใช้เครื่องทำไอศกรีมที่มีวงจรตั้งเวลาในการใช้งาน ทำงานผ่านตัวมอเตอร์ที่ต่อเข้ากับวงจรชุดคิด
 
13. บรรณานุกรม
ไอติม มีต้นกำเนิดมาจากดินแดนในต่างประเทศ ทั้งนี้ได้แพร่กระจายเข้ามาในประเทศไทยเมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 ในสมัยนั้นส่วนใหญ่จะใช้รับประทานกันแต่ภายในวังเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากไอศกรีมเป็นอาหารหวานที่ทันสมัยหรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรมให้มาก็ว่าได้ ใครได้ลองรับประทานไอศกรีมในสมัยนั้นก็ถือว่า เป็นคนที่ก้าวล้ำนำสมัยไปโดยปริยาย

 
14. ประวัติผู้จัดทำโครงการ




ลิงค์ Youtube vdo