ชื่อผู้ใช้  
จำรหัสผ่าน
 
 
บทความโครงการ นักศึกษา
1. ชื่อโครงการ เครื่องทำออกซิเจน
2. จัดทำโดย
    1. นายธนพล จินดาคำ
    2. นายฐาปกรณ์ พาสระน้อย
    3. นานวัชรพงษ์ คำเวียงสา
3. อีเมล์
thanapon.chinda@gmail.com
4. บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
        โครงการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพเครื่องทำออกซิเจนสำหรับผู้เลี้ยงปลา ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา
การดำเนินการโครงการใช้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 20 คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ยและค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) โดยมีการสอนใช้เครื่องทำออกซิเจนในครั้งแรก จากนั้นจึงให้ทดลองใช้เครื่องทำออกซิเจนด้วยตนเอง เสร็จแล้วให้นักเรียนตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ ในการใช้เครื่องทำออกซิเจน
ผลการดำเนินการวิจัย พบว่า เครื่องทำออกซิเจน ที่สร้างขึ้น ผู้ใช้มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก โดยมีค่าเฉลี่ย 3.90
 
5. บทนำ
บทนำ
      การทำการประมงโดยเฉพาะการทำการประมงทางทะเลของ ประเทศไทย ทั้งที่เป็นเขตเศรษฐกิจจำเพาะของไทย และการทำการประมงนอกน่านน้ำของไทย สามารถจับสัตว์น้ำได้มากมายหลายชนิดที่เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจได้อยู่ใน ลำดับที่ 9 ของประเทศที่ทำการประมงทั่วโลก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540-2544 โดยมีปริมาณการจับถึง 2,881,300 เมตริกตัน ในปี พ.ศ. 2544 ดังตารางที่ 1 สำหรับ การเพาะ เลี้ยงสัตว์น้ำในประเทศไทย มีปริมาณผลผลิตอยู่ในลำดับที่ 5 ของโลก ทั้งการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด น้ำกร่อยและทะเล ได้ปริมาณผลผลิตถึง 724,200 เมตริกตัน จาก ปริมาณผลผลิตทั้งโลกรวม 92,356,000 เมตริกตัน ดังแสดงในตารางที่ 2 มีแนวโน้มจะพัฒนาไปได้อย่างดีเมื่อเทียบกับผลกำไรตอบแทนจากการเลี้ยงสัตว์ชนิดอื่นๆ ปลาน้ำจืดบางชนิด เช่น ปลานิล ปลายี่สกเทศ ปลาจีน และปลาไน ซึ่งนำมาเลี้ยงในประเทศไทย ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค ทำให้มีการเพาะเลี้ยงปลาเหล่านั้นเป็นปลา เศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบัน ส่วนปลาน้ำกร่อยที่ได้รับความนิยม จนกลายเป็นปลา เศรษฐกิจ และมีการเลี้ยงเป็นจำนวนมากในบริเวณจังหวัดชายทะเล ได้แก่ ปลากะพงขาว ปลากะพงแดง และปลากะรัง เป็นต้น นอกจากนี้การเพาะเลี้ยงปลาสวยงามของไทยก็ได้รับการพัฒนาจนมีชื่อเสียงไปทั่วโลก
      เนื่องจากร่างกายต้องการออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย เพื่อการเจริญเติบโตเพื่อความอยู่รอด และสืบพันธุ์ และสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีการนำออกซิเจนไปใช้ได้หลากหลายวิธีที่แตกต่างกัน  สิ่งมีชีวิตบางชนิดสามารถแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนได้โดยตรง และสิ่งมีชีวิตบางชนิด ก็ไม่สามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้โดยตรงหรือแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้ในปริมาณน้อยไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต อาจจะส่งผลให้เกิดความผิดปกติได้
      ดังนั้นผู้จัดทำโครงการจึงได้เสนอโครงการการสร้างและ
หาประสิทธิภาพเครื่องทำออกซิเจนด้วยมอเตอร์ DC  มาใช้ทดแทนเครื่องทำออกซิเจนแบบธรรมดา
 
6. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
      1.  เพื่อสร้างเครื่องทำออกซิเจนด้วยมอเตอร์ DC
      2.  เพื่อหาประสิทธิภาพของเครื่องทำออกซิเจนด้วยมอเตอร์ DC
 
7. ขอบเขตของการวิจัย
ขอบเขตของการวิจัย
1.  ด้านศึกษาประชากร/กลุ่มตัวอย่าง
                 ประชากร คือ กลุ่มผู้เลี้ยงปลา ร้านขายปลา
                 กลุ่มเป้าหมายที่ 1 เพื่อทดลองใช้เครื่องทำออกซิเจนมอเตอร์ DC 12V  กำหนดจากผู้มีประสบการณ์/เชี่ยวชาญทางด้านการเลี้ยงปลา  จำนวน 3 คน  และกลุ่มผู้เลี้ยงปลาจำนวน  5  คน
                 กลุ่มเป้าหมายที่ 2  เพื่อการใช้งานเครื่องทำออกซิเจนมอเตอร์ DC 12V คือ ผู้ที่เลี้ยงปลาสวยงาม  จำนวน 5 คน 
    2.  ด้านเนื้อหาที่ใช้ในโครงการ
1)  มอเตอร์  DC12V
2)  บอร์ด  Arduino
3)  Switching Power Supply
4)  ภาษาซี (C)
       3. ด้านระยะเวลา
             ตลอดระยะเวลาในการดำเนินโครงการวิจัย 1 ภาคเรียน  หรือ  18 สัปดาห์
 
8. สมมุติฐาน
สมมุติฐาน
เครื่องทำออกซิเจนสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
9. วิธีดำเนินการวิจัย
วิธีดำเนินการวิจัย
การสร้างและพัฒนาเครื่องทำออกซิเจนสำหรับผู้เลี้ยงปลา มีขั้นตอนการออกแบบโดยละเอียด ดังแสดงในภาพ

1.  วิเคราะห์สภาพปัญหาหรือประมาณความต้องการของผู้ใช้นวัตกรรม
       เพื่อหาแนวทางแก้ไขปรับปรุงการสร้างหรือพัฒนานวัตกรรมให้สอดคล้องและสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โครงการสร้างเครื่องทำออกซิเจน ศึกษาสภาพปัญหา พบว่า
        1.1  การจะเลี้ยงปลาต้องมีการเพิ่มออกซิเจนเข้าไปในบ่อปลา
2.  ศึกษาทฤษฏีและหลักการที่เกี่ยวข้อง
       ความเป็นมาของเครื่องทำออกซิเจน
       การทำการประมงโดยเฉพาะการทำการประมงทางทะเลของ ประเทศไทย ทั้งที่เป็นเขตเศรษฐกิจจำเพาะของไทย และการทำการประมงนอกน่านน้ำของไทย สามารถจับสัตว์น้ำได้มากมายหลายชนิดที่เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจได้อยู่ใน ลำดับที่ 9 ของประเทศที่ทำการประมงทั่วโลก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540-2544 โดยมีปริมาณการจับถึง 2,881,300 เมตริกตัน ในปี พ.ศ. 2544 ดังตารางที่ 1 สำหรับ การเพาะ เลี้ยงสัตว์น้ำในประเทศไทย มีปริมาณผลผลิตอยู่ในลำดับที่ 5 ของโลก ทั้งการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด น้ำกร่อยและทะเล ได้ปริมาณผลผลิตถึง 724,200 เมตริกตัน จาก ปริมาณผลผลิตทั้งโลกรวม 92,356,000 เมตริกตัน ดังแสดงในตารางที่ 2 มีแนวโน้มจะพัฒนาไปได้อย่างดีเมื่อเทียบกับผลกำไรตอบแทนจากการเลี้ยงสัตว์ชนิดอื่นๆ
3.3  กำหนดวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวกับการสร้างและพัฒนานวัตกรรม
      การสร้างและพัฒนาเครื่องทำออกซิเจนสำหรับผู้เลี้ยงปลาเพื่อความสะดวก ใช้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
ตาราง3.1  อุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้อง
อุปกรณ์ จำนวน
บอร์ด Arduino UNO R3
มอเตอร์
สายจั้ม
ถังน้ำ
โปรแกรม Arduino
Adapter
สายยาง
1 ตัว
1 ตัว
1 ชุด
 1ถัง
-
1 ตัว
4 เส้น
 
3.4  หาข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและพัฒนานวัตกรรม
      3.4.1  โครงเหล็ก ขนาดกว้าง 30 เซนติเมตร สูง 70 เซนติเมตร
3.5   ออกแบบสร้างและพัฒนานวัตกรรม 
3.6  สร้างนวัตกรรมตามที่ออกแบบ ตามลำดับดังนี้
       3.6.1  การออกแบบโครงสร้าง โดยมีความกว้าง 80 cm ยาว 70 cm สูง 129 cm
3.6.2  เตรียมวงจรแสดงผลการทำงาน 
3.6.3  นำสายยางมาตัดตามความยาวที่กำหนดไว้ 
3.6.4  เจาะรูถังแล้วนำสายยางเข้าไปเสียบในรูที่เจาะไว้
9.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 20 คนเป็นเพศชาย 8 คน เพศหญิง 12 คน
9.2 สร้างเครื่องมือที่ใช้ในโครงการ
เครื่องมือที่ใช้ในโครงการ
อุปกรณ์ จำนวน
บอร์ด Arduino UNO R3
มอเตอร์
สายจั้ม
ถังน้ำ
โปรแกรม Arduino
Adapter
สายยาง
1 ตัว
1 ตัว
1 ชุด
 1ถัง
-
1 ตัว
4 เส้น





 
9.3 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล
ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล
การวิเคราะห์ออกแบบเครื่องมือสำหรับการประเมินนวัตกรรม ดังแสดงตามภาพ
9.4 การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูล
      การวิเคราะห์ข้อมูลการศึกษาการใช้เครื่องทำออกซิเจนด้วยมอเตอร์DCมีการวิเคราะห์โดยแยก  เป็นตอนตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาและผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยนำเสนอตามลำดับ ดังนี้
 การเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล
          ผลการวิเคราะห์ข้อมูลนำเสนอรวม 7 ตอนดังนี้
          ตารางที่1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของนวัตกรรม
          ตารางที่2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
          ตารางที่3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านโครงสร้าง
          ตารางที่4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมในการใช้งาน
          ตารางที่5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านความคุ้มค่า
          ตารางที่6 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านคุณค่า
          ตารางที่7 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมในภาพรวมทุกด้าน
 1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
        ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของนวัตกรรม
                     ตารางแสดงการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของเครื่องขาย
ตารางที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของนวัตกรรม
ด้านสมบัติด้านเทคนิค คุณสมบัติที่ตั้งไว้ คุณสมบัติที่ทำได้จริง ผลการเปรียบเทียบ
1  ความแข็งแรงของเครื่อง เครื่องมีความแข็งแรงคงทนใช้งานได้ยาวนาน เหล็กมีความแข็งแรง ความแข็งแรงของเครื่องได้มาตรฐานตามที่ตั้งไว้
2.  น้ำหนักของเครื่อง น้ำหนัก15 - 20 กิโลกรัม น้ำหนัก15 - 20 กิโลกรัม น้ำหนักเบาได้ตามที่ตั้งไว้
3.  ขนาดของเครื่อง กว้าง 40 เซนติเมตร สูง 70 เซนติเมตร กว้าง 40 เซนติเมตร สูง 70 เซนติเมตร ขนาดของเครื่องได้ตามมาตรที่ตั้งไว้
4.  ความสะดวกในการใช้งานของเครื่อง เมื่อน้ำไหลลงถังข้างล่างแล้วมีออกซิเจนลงตู้ปลา เมื่อน้ำไหลลงถังข้างล่างแล้วมีออกซิเจนลงตู้ปลา เมื่อน้ำไหลลงถังข้างล่างแล้วมออกซิเจนลงตู้ปลาได้จริง
5.  วัสดุที่นำมาใช้ มีความแข็งแรงคงทน มีความแข็งแรงคงตน วัสดุเป็นที่ยอมรับที่ตั้งไว้
6.  การใช้งาน ใช้งานได้อย่างประสิทธิภาพ ใช้งานได้อย่างประสิทธิภาพ วัสดุเป็นที่ยอมรับที่ตั้งไว้
7.  ราคา 2,000บ. 1,700บ. ราคาไม่แพงมากนัก

                    (1)   ความแข็งแรงของเครื่องทำออกซิเจนด้วยมอเตอร์DCมีความแข็งแรงของเครื่องจะมีความคงทนสามารถใช้งานได้นาน
                    (2)  น้ำหนักของ เครื่องทำออกซิเจนด้วยมอเตอร์DCน้ำหนักอยู่ที่ 20 กิโลกรัม สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก
                    (3) ขนาดของเครื่อง เครื่องทำออกซิเจนด้วยมอเตอร์DCมีขนาดกว้าง 40 เซนติเมตร สูง 70 เซนติเมตร
ตอนที่ 2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
              ตารางที่2 แสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
คุณลักษณะ จำนวน เปอร์เซ็นต์ รวม(คน)
เพศชาย 8 40  
20
 
 
เพศหญิง 12 60
อายุต่ำกว่า 15 ปี - -  
 
20
 16-17ปี 5 25
 17-18ปี 10 50
 19-20ปี 5 25
 สูงกว่า20ปี          -         -
    















  
จากตารางที่ 2 พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 20 คนเป็นเพศชาย 8 คน เพศหญิง 12 คน คิดเป็น52% และมีอายุส่วนใหญ่ ที่ระหว่าง 17-18 ปี คิดเป็น 50% รองลงมามีอายุระหว่าง 16-17 ปี คิดเป็น 25%
ตอนที่3  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านโครงสร้าง
              ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้เครื่องทำออกซิเจนที่สร้างขึ้นสำหรับผู้เลี้ยงปลาที่ผ่านการใช้เครื่องทำออกซิเจน ด้านความแข็งแรงของเครื่อง มีดังนี้
 
ตารางที่ 3 แสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านโครงสร้าง
ที่ รายการประเมิน S.D. ระดับความคิดเห็น
1 วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้สร้างเครื่องทำออกซิเจนด้วยมอเตอร์ DC 4.30 0.48 ปานกลาง
2 ความแข็งแรงของเครื่องทำออกซิเจนด้วยมอเตอร์ DC 3.92 0.74 มาก
3 ขนาดเครื่องทำออกซิเจนด้วยมอเตอร์ DC 3.40 0.52 ปานกลาง
4 รูปร่างของเครื่องมีความเหมาะสม 3.50 0.53 มาก
เฉลี่ย 3.78 0.48 มาก
 
      จากตารางที่ 3 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้เครื่องทำออกซิเจนด้วยมอเตอร์ DC สำหรับผู้เลี้ยงปลา ผู้ใช้เครื่องทำออกซิเจนที่สร้างขึ้น ด้านโครงสร้าง โดยภาพรวมอยู่ในระดับความพอใจมาก (=3.78) และเมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมิน พบว่า โดยความพึงพอใจในการใช้เครื่องทำออกซิเจนด้วยมอเตอร์ DC ด้านโครงสร้าง สำหรับผู้เลี้ยงปลาผู้ใช้เครื่องทำออกซิเจนด้วยมอเตอร์ DC สร้างขึ้น มีความพึงพอใจเรื่องวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้สร้างเครื่องทำออกซิเจนด้วยมอเตอร์DC มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (=4.30) และ ค่าเฉลี่ยน้อยสุด (=3.40)
ตอนที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการด้านใช้งาน
                 ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้เครื่องทำออกซิเจนด้วยมอเตอร์ DC สำหรับผู้เลี้ยงปลาใช้เครื่องทำออกซิเจนด้วยมอเตอร์ DC ด้านการใช้งาน
 
ตารางที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้งานนวัตกรรมด้านการใช้งาน
ที่ รายการประเมิน S.D. ระดับความคิดเห็น
5. ความสะดวกในการใช้งาเครื่องทำออกซิเจนด้วยมอเตอร์ DC 4.30 0.48 มากที่สุด
6. ประหยัดไฟฟ้า 4.50 0.50 มากที่สุด
7. ความปลอดภัยในการใช้เครื่อง 4.60 0.52 มากที่สุด
เฉลี่ย 4.47 0.45 มากที่สุด
 
            จากตารางที่ 4 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้งานเครื่องทำออกซิเจนด้วยมอเตอร์ DC ที่สร้างขึ้นผู้เลี้ยงปลา ผู้ผ่านการใช้เครื่องทำออกซิเจนด้วยมอเตอร์ DC ที่สร้างขึ้นด้านการใช้งาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับที่พึงพอใจมากที่สุด(=4.47) และเมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมิน พบว่า ทุกรายการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด โดยความพึงพอใจในการใช้งานเครื่องทำออกซิเจนด้วยมอเตอร์ DC ด้านการใช้งาน ที่สร้างขึ้นผู้เลี้ยงปลามีความพึงพอใจความปลอดภัยในการใช้เครื่องมากสุด (=4.60) และค่าเฉลี่ยน้อยสุด (=4.30)

ตอนที่5  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านคุณค่า
              ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้เครื่องทำออกซิเจนด้วยมอเตอร์ DC ทีสร้างขึ้นผู้เลี้ยงปลาที่ผ่านการใช้เครื่องทำออกซิเจนด้วยมอเตอร์ DC ด้านความคุ้มค่า
 
ตารางที่ 5 แสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านคุณค่า
ที่ รายการประเมิน S.D. ระดับความคิดเห็น
8. ระยะเวลาในการทำเครื่อง 3.90 0.32 ปานกลาง
9. ความเหมาะสมของต้นทุน 2,000 3.00 0.48 ปานกลาง
เฉลี่ย 3.60 0.32 ปานกลาง
  
   จากตารางที่ 5 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้เครื่องทำออกซิเจนด้วยมอเตอร์ DC  สำหรับผู้เลี้ยงปลาผู้ผ่านการใช้เครื่องทำออกซิเจนด้วยมอเตอร์ DC ด้านความคุ้มค่า  โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก  (=3.60) และเมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมิน พบว่า ในการใช้เครื่องทำออกซิเจนด้วยมอเตอร์ DC ด้านความคุ้มค่า ผู้เลี้ยงปลาผู้ใช้เครื่องทำออกซิเจนด้วยมอเตอร์ DC ที่สร้างขึ้นมีความพึงพอใจระยะเวลาในการทำเครื่อง มีค่าเฉลี่ยมากสุด (=3.90) และค่าเฉลี่ยที่น้อยสุด (=3.00)

ตอนที่6  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านคุณค่า
              ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้เครื่องทำออกซิเจนด้วยมอเตอร์DCสำหรับผู้เลี้ยงปลาที่ผ่านการใช้เครื่องทำออกซิเจนด้วยมอเตอร์ DC ด้านคุณค่าโดยสรุป
 
ตารางที่ 6 แสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านคุณค่า
ที่ รายการประเมิน S.D. ระดับความคิดเห็น
10 เครื่องทำออกซิเจนด้วยมอเตอร์DC ให้ความสะดวกแก่ผู้เลี้ยงปลาได้จริง 4.70 0.48 ปานกลาง
เฉลี่ย 4.70 0.48 ปานกลาง
 
จากตารางที่ 6 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้เครื่องทำออกซิเจนด้วยมอเตอร์ DC สำหรับผู้เลี้ยงปลา ผู้ผ่านการใช้เครื่องทำออกซิเจนด้วยมอเตอร์ DC สร้างคุณค่าโดยสรุป โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (=4.70)

 ตอนที่  7  ผลกรวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมในภาพรวมทุกด้าน สรุปภาพรวมผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจในการใช้เครื่องทำออกซิเจนด้วยมอเตอร์DCผู้เลี้ยงปลาที่ผ่านการใช้เครื่องทำออกซิเจนด้วยมอเตอร์ DC ที่สร้างขึ้น ดังนี้
 
ตารางที่ 7 แสดงผลกรวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมในภาพรวมทุกด้าน
ที่ รายการประเมิน S.D. ระดับความคิดเห็น
1 ด้านโครงสร้าง 3.78 0.48 มาก
2 ด้านการใช้งาน 4.47 0.45 มากที่สุด
3 ด้านความคุ้มค่า 3.60 0.32 มาก
4 ด้านคุณโดยสรุป 4.70 0.48 มากที่สุด
เฉลี่ย 4.32 0.44 มากที่สุด
 
   จากตารางที่ 7 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้เครื่องทำออกซิเจนด้วยมอเตอร์DCสำหรับผู้เลี้ยงปลาผู้ผ่านการใช้เครื่องทำออกซิเจนด้วยมอเตอร์ DC ทุกด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก  (=4.32) และเมื่อพิจารณาหลายด้าน ด้านคุณค่ามีความพึงพอใจมากที่สุด มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด (=4.70) และด้านโครงสร้างมีความพึงพอใจน้อยที่สุด (=3.60)
 
10. ผลของการวิจัย
ผลของการวิจัย
เครื่องที่พัฒนาขึ้นมามีคุณสมบัติ ดังนี้มีความแข็งแรง ขนาดของเครื่องเหมาะสมตามที่ออกแบบ สามารถหมุนแล้วมีอากาศออกมาได้จริง วัสดุที่ใช้สร้างมีความเหมาะสม สอดคล้องกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และมีประสิทธิภาพใกล้เคียงเครื่องตามท้องตลาด
 
11. การอภิปรายผล หรือการวิจารณ์และสรุป
การอภิปรายผล หรือการวิจารณ์และสรุป
       เครื่องทำออกซิเจนที่พัฒนาขึ้นมานั้น มีความเหมาะสมกับการใช้งาน มีความแข็งแรงของเครื่องทำออกซิเจน ความสะดวกในการใช้งาน ซึ่งการพัฒนาเครื่องทำออกซิเจนสามารถใช้เป็นพื้นฐานในการศึกษาหลักการทำงานของ มอเตอร์ หลังจากการพัฒนาชิ้นงาน วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้มีความแข็งแรง ขนาดของเครื่องทำออกซิเจน 30 เซนติเมตร สูง 70 เซนติเมตร มีความเหมาะสมและความสะดวกในการใช้งานโดยมีความปลอดภัยในการใช้เครื่อง และง่ายต่อการใช้งานได้อย่างประสิทธิภาพ
       นอกจากนี้ยังมีจุดเด่นในเรื่องโปรแกรมที่มีทั้งในด้านตรงตามความต้องการของผู้ใช้ ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงานด้านรูปลักษณ์และความง่ายต่อการใช้งาน โปรแกรมสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานทุกอย่างตามที่ผู้จัดทำได้วิเคราะห์และออกแบบการทำงานของ ทำให้ผู้จัดทำได้เห็นถึงความสำคัญของการวิเคราะห์และออกแบบโปรแกรมและระบบควบคุมการทำงานเป็นอย่างมากเพราะในการออกแบบโปรแกรมและระบบควบคุมทุกครั้งจะต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้เป็นหลัก
 
12. ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะ
ขอเสนอแนะในการนำไปใช้
1)ควรทำให้เครื่องมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2)ทำเครื่องให้มีน้ำหนักเบาลง
ข้อเสนอแนะเพื่องานวิจัยครั้งต่อไป
1)  ควรเพิ่มประสิทธิภาพให้ดีขึ้นโดยอาจจะเพิ่มความปลอดภัยให้มากกว่านี้
2)  ควรเพิ่มขนาดช่องรับลมให้มากกว่าเดิม
3)  ควรออกแบบตัวเครื่องให้มีความกะทัดรัดให้มากกว่าเดิม
 
13. บรรณานุกรม
บรรณานุกรม
การเขียนบรรณานุกรม.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้   
จาก http://www.lib.nu.ac.th/nulibnet/index.php?topic=178.0.  (วันที่สืบค้นข้อมูล : 24 ธันวาคม 2559).
เกี่ยวกับความเป็นมาของการประมง  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก 
http://www.farmthailand.com/203  (วันที่ค้นข้อมูล : 24 ธันวาคม 2559).
 
14. ประวัติผู้จัดทำโครงการ
ประวัติผู้จัดทำโครงการ


ชื่อ-สกุล                    นายธนพล จินดาคำ
เกิดเมื่อวันที่             8 มีนาคม 2542
ที่อยู่ปัจจุบัน             121/3 หมู่ 5 ตำบล เวียงทอง อำเภอ สูงเม่น จังหวัด แพร่ 54000
วุฒิการศึกษา            กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้น ปวช.3 สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์
เบอร์โทร                  098-0421677
อีเมล์                          thanapon.chinda@gmail.com

ชื่อ-สกุล                    นายฐาปกรณ์ พาสระน้อย
เกิดเมื่อวันที่             7 มิถุนายน 2541
ที่อยู่ปัจจุบัน             130 หมู่5 ตำบลสบสาย อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ 54130
วุฒิการศึกษา            กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้น ปวช.3 สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์
เบอร์โทร                  099-6650806
อีเมล์                          fong536.mw@gmail.com

ชื่อ-สกุล                    นายวัชรพงษ์ คำเวียงสา
เกิดเมื่อวันที่           10 พฤษภาคม 2541
ที่อยู่ปัจจุบัน             85/1 หมู่ 1 ตำบล หัวทุ่ง อำเภอ ลอง จังหวัด แพร่ 54150
วุฒิการศึกษา            กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้น ปวช.3 สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์
เบอร์โทร                  082-7809061
อีเมล์                          anatomeieie.jj@gmail.com

 
ลิงค์ Youtube vdo