ชื่อผู้ใช้  
จำรหัสผ่าน
 
 
บทความโครงการ นักศึกษา
1. ชื่อโครงการ การสร้างและหาประสิทธิภาพของป้ายไฟวิ่งNeonPixel
2. จัดทำโดย
    1. นาย พิชยุทธตามูล
    2. นาย วิทวัส ยะปะนันท์
    3. นาย สุริยา ชาวลี้แสน
3. อีเมล์
stillblackheart@hotmail.com
4. บทคัดย่อ
          โครงการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพป้ายไฟวิ่งด้วยหลอด Neo Pixel ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา
          การดำเนินการโครงการใช้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 20 คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ยและค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) โดยมีการสอนใช้ป้ายไฟวิ่งด้วยหลอด Neo Pixel ในครั้งแรก จากนั้นจึงให้ทดลองใช้ป้ายไฟวิ่งด้วยหลอด Neo Pixel ด้วยตนเอง เสร็จแล้วให้นักเรียนตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ ในการใช้ป้ายไฟวิ่งด้วยหลอด Neo Pixel
          ผลการดำเนินการวิจัย พบว่า ป้ายไฟวิ่งด้วยหลอด Neo Pixel ที่สร้างขึ้น ผู้ใช้มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก โดยมีค่าเฉลี่ย 3.90
5. บทนำ
          ศิลปะคือการสื่อสารกับผู้คนทั่วไป ด้วยการใช้อารมณ์ที่สื่อผ่านภาพ เสียง การวาด หรือการสร้างสรรค์ต่าง ๆ ในแบบที่แตกต่างไปจากคำพูด แม้กระทั่งภาษามือของคนพิการทางหูก็ยังถือว่าเป็นอีกหนึ่งศิลปะของมนุษย์ ที่ผ่านการคิดค้นออกมา ให้สื่อสารได้มากกว่าการออกเสียง    ดังเช่นในปัจจุบันที่มีการใช้แสงสีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสาร หรือเป็นสัญลักษณ์เพื่อที่จะบ่งบอกถึงความหมายของสิ่งหนึ่งให้เข้าใจตรงกันได้อย่างชัดเจน  การนำเอาแสงสีมาทำศิลปะจึงเป็นอีกหนึ่งลูกเล่นที่สามารถเอาความสว่างมาเป็นตัวช่วยให้เกิดความสวยงามที่มาพร้อมการใช้ประโยชน์ที่ครอบคลุม โดยเฉพาะหลอดไฟ LED ที่สามารถให้ความสว่างได้อย่างยาวนาน
          ศิลปะที่น่าสนใจและกำลังเป็นที่นิยม นั่นคือป้ายไฟ LED ที่คนในยุคปัจจุบันมักจะคุ้นเคยกันดี ไม่ว่าจะร้านค้า ร้านอาหาร ร้านผับ บาร์ หรือร้านคาราโอเกะที่ต้องเปิดร้านในยามค่ำคืน หรือแม้กระทั่งป้ายบอกทาง จึงถือว่าป้ายไฟ LED แทบจะเป็นเครื่องหมายการค้าของร้านต่าง ๆ หรือ สถานที่ต่าง ๆ  ที่จะสร้างเอกลักษณ์จากการใช้งานศิลปะผสมผสานกับแสงไฟที่ให้ได้ทั้งความสว่างและความสวยงาม   หลอด LED เป็นที่นิยมอย่างมากในการใช้งานสำคัญหลอดที่มีอายุการใช้งานที่ยาวนานและไม่ต้องกลัวขั้วหลอดจะขาดเหมือนกับหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ เพราะภายในหลอดจะไม่มีการเผาขั้วหลอด ไม่ก่อให้เกิดความร้อน แสงสว่างที่ได้มาจึงเป็นแสงที่ปลอดภัย เป็นแสงที่มาจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน ที่เปลี่ยนมาเป็นพลังงานให้แสงสว่างอย่างเต็มที่ และมีหลากหลายสีให้เลือกใช้งาน สร้างความแปลกใหม่ให้แก่วงการหลอดไฟในอนาคตได้ดีเลยทีเดียว  นอกจากนี้ขนาดของหลอด LED นั้นก็มีตั้งแต่ 1 watt, 3 watt, 5 watt ไปจนถึง 18 watt มีรูปแบบหลอดตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่และมีหลากหลายดีไซน์  จึงทำให้การนำเอาไปใช้งานเพื่อการตกแต่งเป็นไปอย่างง่ายดายและเหมาะสมต่อการนำไปทำงานศิลปะ หรืองานโชว์ไฟตามสถานที่สำคัญต่าง ๆ อย่างมาก และมีรูปแบบที่ยืดหยุ่นต่อการออกแบบ มีอายุการใช้งานต่อหลอดที่ 50,000-70,000 ชั่วโมง   ปัจจุบันป้ายไฟ LED มีการพัฒนาจากแค่นิ่งๆ มาเป็นไฟข้อความวิ่ง โดยการใช้คอนโทรลเลอร์มาเกี่ยวข้อง    การจะทำป้ายไฟที่สามารถป้อนข้อความ เปลี่ยนแปลงข้อความตามความต้องการของผู้ใช้ มีทั้งสีเดียวหรือเปลี่ยนสีได้ และการเปลี่ยนสีสันนั้น ต้องใช้หลอด LED แบบ RGB ซึ่งทำให้ต้นทุน หรือราคาขายอุปกรณ์ตามท้องตลาดค่อนข้างสูง  นอกจากนี้ยังมีภาคคอนโทรลในการทำที่ยุ่งยาก  ซึ่งป้ายไฟวิ่งโดยทั่วไป จะมีลักษณะโดยใช้หลอด LED เรียงต่อกันแล้วใช้ภาคคอนโทรลควบคุมอีกที ซึ่งภาคคอนโทรลนั่นประกอบด้วยอุปกรณ์ อาทิเช่น  บอร์ดควบคุม , IC ต่างๆ  แล้วทำการเขียนโค้ดควบคุมในคอมพิวเตอร์อีกทีซึ่ง บุคคลทั่วไปที่ไม่มีความรู้เรื่องที่เกี่ยวข้องในการทำเองเป็นไปได้ยากและอาจจะไม่สามารถรับกับราคาอุปกรณ์ไหว 
          ดังนั้น ผู้จัดทำโครงการจึงได้เสนอโครงการการสร้างและหาประสิทธิภาพป้ายไฟวิ่งด้วยหลอด  Neo Pixel โดยการใช้หลอด Neo Pixel WS2812B มาใช้ทดแทน หลอด LED RGB ธรรมดา  ซึ่งหลอด Neo Pixel มีราคาที่ต่ำกว่า หลอด LED RGB เพื่อลดต้นทุนในการประดิษฐ์
 
6. วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1) เพื่อสร้างป้ายไฟด้วยหลอด Neo Pixel  เพื่อต้นทุนทดแทนจากหลอด LED

2)  เพื่อหาประสิทธิภาพของป้ายไฟด้วยหลอด Neo Pixel
7. ขอบเขตของการวิจัย
1. ด้านเนื้อหา
    (1) บอร์ด Arduino uno R3
    (2) หลอด NeonPixel
    (3) โปรแกรม Gladiator Software
    (4) โปรแกรม Arduino IDE
2. ด้านเวลา
    ผู้วิจัยได้ใช้เวลาดำเนินการ
    เริ่มวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ.2559 ถึงวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560
8. สมมุติฐาน
การสร้างและพัฒนาเครื่องกดน้ำร้อนและเย็นอัตโนมัติสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
9. วิธีดำเนินการวิจัย

 
9.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

          กลุ่มเป้าหมายที่ 1   เพื่อทดลองใช้ป้ายไฟด้วยหลอด Neo Pixel  กำหนดจากผู้มีประสบการณ์/เชี่ยวชาญทางด้านอุปกรณ์เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์  จำนวน 3 คน  และนักศึกษาสาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์จำนวน  10  คน

           กลุ่มเป้าหมายที่ 2  เพื่อการใช้งานป้ายไฟด้วยหลอด Neo Pixel คือ ครูผู้สอนภายในสาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ในวิทยาลัยเทคนิคแพร่  จำนวน 3 คน  และนักเรียนนักศึกษาภายในสาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ในวิทยาลัยเทคนิคแพร่ จำนวน 10 คน

9.2 สร้างเครื่องมือที่ใช้ในโครงการ
3.1  วิเคราะห์สภาพปัญหาหรือประมาณความต้องการของผู้ใช้นวัตกรรม
        เพื่อหาแนวทางแก้ไขปรับปรุงการสร้างหรือพัฒนานวัตกรรมให้สอดคล้องและสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โครงการสร้างป้ายไฟวิ่งด้วยหลอด Neo Pixel ศึกษาสภาพปัญหา พบว่า การเปิดใช้งานจะต้องต่อแหล่งจ่ายไฟทุกครั้งเนื่องจากไม่ได้ใช้แหล่งจ่ายแบบแบตเตอร์รี่
3.2  ศึกษาทฤษฏีและหลักการที่เกี่ยวข้อง
       ความเป็นมาของป้ายไฟวิ่งด้วยหลอด Neo Pixel
        ศิลปะคือการสื่อสารกับผู้คนทั่วไป ด้วยการใช้อารมณ์ที่สื่อผ่านภาพ เสียง การวาด หรือการสร้างสรรค์ต่าง ๆ ในแบบที่แตกต่างไปจากคำพูด แม้กระทั่งภาษามือของคนพิการทางหูก็ยังถือว่าเป็นอีกหนึ่งศิลปะของมนุษย์ ที่ผ่านการคิดค้นออกมา ให้สื่อสารได้มากกว่าการออกเสียง    ดังเช่นในปัจจุบันที่มีการใช้แสงสีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสาร หรือเป็นสัญลักษณ์เพื่อที่จะบ่งบอกถึงความหมายของสิ่งหนึ่งให้เข้าใจตรงกันได้อย่างชัดเจน  การนำเอาแสงสีมาทำศิลปะจึงเป็นอีกหนึ่งลูกเล่นที่สามารถเอาความสว่างมาเป็นตัวช่วยให้เกิดความสวยงามที่มาพร้อมการใช้ประโยชน์ที่ครอบคลุม โดยเฉพาะหลอดไฟ LED ที่สามารถให้ความสว่างได้อย่างยาวนาน
3.3  กำหนดวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวกับการสร้างและพัฒนานวัตกรรม
       การสร้างและหาประสิทธิภาพป้ายไฟวิ่งด้วยหลอด Neo Pixel ใช้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
ตารางที่ 3-1  อุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้อง

สร้างนวัตกรรมตามที่ออกแบบ ตามลำดับดังนี้
         การออกแบบโครงสร้าง โดยมีความกว้าง 46 cm ยาว 1.5 cm สูง 12 cm     ดังแสดงในภาพที่3-1

                                         ภาพที่ 3-1การสร้างโครงสร้างป้ายไฟตามแบบ
บักกรีหลอดเข้าด้วยกัน ดังแสดงในภาพที่ 3-2

                                     ภาพที่ 3-2 ขณะบักกรีหลอด
เตรียมบอร์ดสำหรับผลการทำงาน ดังแสดงในภาพที่ 3-3

                                           ภาพที่ 3-3  บอร์ดสำหรับการทำงาน

เตรียมซอฟต์แวร์สำหรับการควบคุมการทำงาน Arduino IDE และ Gladiator ดังแสดงในภาพที่ 3-4

                                            ภาพที่ 3-4 ซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับควบคุม
ติดตั้งหลอดลงโครงสร้างป้าย ดังแสดงในภาพที่ 3-5

                                       ภาพที่ 3-5 การติดตั้งหลอดลงบนโครงสร้างป้าย
ติดตั้ง Power Supply และ บอร์ด Arduino ลงโครงสร้างป้ายที่ด้านหลัง ดังแสดง
ในภาพที่ 3-6

                              ภาพที่ 3-6  การติดตั้ง Power Supply และ บอร์ด Arduino










 
9.3 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล
9.4 การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลการศึกษาการใช้ป้ายไฟวิ่งด้วยหลอด Neo Pixel มีการวิเคราะห์โดยแยกเป็นตอนตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาและผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยนำเสนอตามลำดับ ดังนี้
  การเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล
             ผลการวิเคราะห์ข้อมูลนำเสนอรวม 7 ตอนดังนี้
             ตารางที่1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของนวัตกรรม
             ตารางที่2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
             ตารางที่3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านโครงสร้าง
             ตารางที่4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมในการใช้งาน
             ตารางที่5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านความคุ้มค่า
             ตารางที่6 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านคุณค่า
             ตารางที่7 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมในภาพรวมทุกด้าน
 สัญลักษณ์ที่ใช้ในการแปรผลการวิเคราะห์ข้อมูล
                  แทนค่าเฉลี่ย
                 S.D.  แทนค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
                 P     แทนค่าร้อยละ
 
10. ผลของการวิจัย
ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของนวัตกรรม
                       ตารางแสดงการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของเครื่องขาย
    ตารางที่ 4.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของนวัตกรรม






11. การอภิปรายผล หรือการวิจารณ์และสรุป
         ป้ายไฟวิ่งด้วยหลอด Neo Pixel ที่สร้างขึ้นมานั้น มีความเหมาะสมกับการใช้งาน มีความสามารถที่เหมือนกับหลอด LED แต่มีความสะดวกในการใช้งานเนื่องจากภายในหลอดมี IC ที่ติดมากับหลอด ซึ่งการสร้างป้ายไฟวิ่งด้วยหลอด Neo Pixel ใช้เป็นพื้นฐานในการศึกษาหลักการทำงานของหลอด Neo Pixel หลังจากการหาประสิทธิภาพ  วัสดุที่ใช้มีความแข็งแรง  ขนาดของป้ายไฟ      มีความเหมาะสมและความสะดวกในการใช้งานโดยมีความปลอดภัยในการใช้ และใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
         นอกจากนี้ยังมีจุดเด่นในเรื่องการปรับค่าการแสดงผลที่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้  ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชั่นการทำงานด้านรูปลักษณ์และความง่ายต่อการใช้งาน  โปรแกรมสามารถตอบสนองความต้องการผู้ใช้งานทุกอย่างตามที่ผู้จัดทำได้วิเคราะห์และการทำงานของหลอด  ทำให้ผู้จัดทำได้เห็นถึงความสำคัญของการวิเคราะห์และการทำงานของหลอดและระบบการทำงานเป็นอย่างมากเพราะจะต้องคำนึกถึงความต้องการของผู้ใช้เป็นหลัก
12. ข้อเสนอแนะ
     1.  ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้
                  (1)  ระวังในเรื่องการบักกรีระหว่างหลอด
                  (2)  การติดตั้งป้ายไฟ ควรติดตั้งไม่ไกลจากแหล่งจ่ายไฟ
     2.  ข้อเสนอแนะเพื่องานวิจัยครั้งต่อไป
                  (1)  ควรเพิ่มประสิทธิภาพให้ดีขึ้นโดยอาจจะเพิ่มจำนวนหลอดมากกว่านี้
                  (2)  มีการออกแบบโครงสร้างสำหรับใส่หลอดที่แข็งแรงมากกว่าเดิม
                  (3)  ควรออกแบบความแข็งแรงโครงสร้างของป้ายไฟมากขึ้นกว่าเดิม
 
13. บรรณานุกรม
เกี่ยวกับ Arduino Board. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้
จาก  http://www.thaieasyelec.com/article-wiki/basic-electronicsarduinoA3--arduino.html, http://arduino-r3.blogspot.com/2015/09/arduino-uno-r3.html. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 19 ธันวาคม 2559)
เกี่ยวกับ Switching Power Supply. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้
 จาก  https://www.factomart.com/th/factomartblog/principle-of-switching-power-supply/. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 19 ธันวาคม 2559).
เกี่ยวกับหลักการทำงานของหลอด Neo Pixel WS2812b. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้
จาก  http://cpre.kmutnb.ac.th/esl/learning/index.php?article=ws2812-rgb-led-fastspi, https://www.thitiblog.com/blog/769.  (วันที่สืบค้นข้อมูล : 19 ธันวาคม 2559).
เกี่ยวกับซอฟต์แวร์ Gladiator. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้
จาก http://www.solderlab.de/index.php/software/glediator. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 19 ธันวาคม 2559).
เกี่ยวกับซอฟต์แวร์ Arduino IDE. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้
จาก https://www.arduino.cc/en/main/software. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 19 ธันวาคม 2559).
เกี่ยวกับ ความเป็นมาของป้ายไฟ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้
จาก http://www.xn--s3cii7dte1a.cc. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 20 ธันวาคม 2559).
 
14. ประวัติผู้จัดทำโครงการ

ลิงค์ Youtube vdo